ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๕. ปรินิพพานสูตร
ว่าด้วยการปรินิพพาน
[๑๘๖] สมัยหนึ่ง ในเวลาใกล้ปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ระหว่าง ต้นไม้สาละทั้งคู่ ป่าสาลวัน สถานที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เขตกรุง กุสินารา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงทำหน้าที่ให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด” นี้เป็นพระวาจาครั้งสุดท้าย ของพระตถาคต ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๕. ปรินิพพานสูตร

ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ ทรงเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงเข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงเข้าอากาสานัญจายตนสมาบัติ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌาน ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌาน ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้วได้ปรินิพพานในลำดับ๑- เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถา พร้อมกับ การเสด็จปรินิพพานว่า สรรพสัตว์จะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก พระศาสดาผู้หาใครเปรียบเทียบไม่ได้ในโลก @เชิงอรรถ : @ ลำดับ หมายถึงลำดับ ๒ ประการ คือ (๑) ลำดับแห่งฌาน (๒) ลำดับแห่งการพิจารณา @(สํ.ส.อ. ๑/๑๘๖/๒๑๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๒. ทุติยวรรค ๕. ปรินิพพานสูตร

ผู้เข้าถึงสภาวะตามเป็นจริง ผู้บรรลุพลธรรม๑- ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบเช่นนี้ ก็ยังเสด็จปรินิพพานได้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสคาถา พร้อมกับ การเสด็จปรินิพพานว่า สังขารทั้งหลายล้วนไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบระงับสังขารเหล่านั้นเป็นความสุข เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้กล่าวคาถา พร้อม กับการเสด็จปรินิพพานว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง๒- เสด็จปรินิพพานแล้ว ในกาลนั้น ได้เกิดเหตุน่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะได้กล่าวคาถา พร้อมกับ การเสด็จปรินิพพานว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ของพระผู้มีพระภาคผู้มีพระทัยมั่นคง ผู้คงที่ ไม่มีแล้ว @เชิงอรรถ : @ บรรลุพลธรรม หมายถึงทรงมีพระกำลังอันเกิดจากญาณ ๑๐ ที่เรียกว่า ทสพลญาณ หรือ ตถาคตพละ @(ที.ม.อ. ๒๒๐/๒๐๒) @ มีพระอาการอันล้ำเลิศทุกอย่าง หมายถึงทรงมีเหตุอันล้ำเลิศทุกอย่างมีศีล เป็นต้น (ที.ม.อ. ๒๒๓/๒๐๓, @ที.ม.ฏีกา ๒๒๓/๒๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๖. พรหมสังยุต]

๒. ทุติยวรรค รวมพระสูตรที่มีในสังยุต

พระมุนีผู้ไม่หวั่นไหว มุ่งใฝ่สันติ๑- มีพระจักษุ เสด็จปรินิพพานแล้ว พระองค์ผู้มีพระทัย ไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาไว้ได้ มีพระทัยหลุดพ้นแล้ว ดุจดวงประทีปที่โชติช่วงดับไป ฉะนั้น๒-
ปรินิพพานสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สนังกุมารสูตร ๒. เทวทัตตสูตร ๓. อันธกวินทสูตร ๔. อรุณวตีสูตร ๕. ปรินิพพานสูตร
พรหมสังยุต จบบริบูรณ์
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. พรหมายาจนสูตร ๒. คารวสูตร ๓. พรหมเทวสูตร ๔. พกสูตร ๕. อปราทิฏฐิสูตร ๖. ปมาทสูตร ๗. โกกาลิกสูตร ๘. กตโมรกติสสกสูตร ๙. ตุทุพรหมสูตร ๑๐. โกกาลิกสูตร ๑๑. สนังกุมารสูตร ๑๒. เทวทัตตสูตร ๑๓. อันธกวินทสูตร ๑๔. อรุณวตีสูตร ๑๕. ปรินิพพานสูตร @เชิงอรรถ : @ สันติ ในที่นี้หมายถึงอนุปาทิเสสนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๖/๒๑๓) @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๒๑๙-๒๒๓/๑๖๗-๑๖๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๖๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=6985 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=186              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5084&Z=5135&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=620              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]