ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๘. อัคคิกสูตร
ว่าด้วยอัคคิกพราหมณ์
[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาส ด้วยเนยใสด้วยคิดว่า “เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ” ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า ไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ เสด็จไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก เข้าไปถึงที่อยู่ของ อัคคิกภารทวาชพราหมณ์แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๗๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๘. อัคคิกสูตร

อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า บุคคลผู้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จบไตรเพท๑- เป็นพหูสูต พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน เป็นผู้แวดล้อมไปด้วยความโกหก ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ มุนีผู้บรรลุอภิญญา คือรู้ปุพเพนิวาสญาณอย่างแจ่มแจ้ง เห็นสวรรค์และอบาย ทั้งบรรลุความสิ้นชาติ๒- แล้ว เพราะวิชชา ๓ เหล่านี้ จึงเป็นพราหมณ์ผู้จบไตรเพท มุนีผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้ อัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ ขอเชิญ บริโภคเถิด พระองค์เป็นพราหมณ์” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ไตรเพท ในที่นี้หมายถึงพระเวท ๓ คือ (๑) ฤคเวท (๒) ยชุรเวท (๓) สามเวท (สํ.ส.อ. ๑/๑๙๔/๒๑๙) @ ความสิ้นชาติ หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๑๙๔/๒๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๗๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๙. สุนทริกสูตร

ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ” อนึ่ง ท่านพระอัคคิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย
อัคคิกสูตรที่ ๘ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๗๓-๒๗๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=7373 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=194              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5375&Z=5410&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=652              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]