ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร

๘. ทุติยเอชาสูตร
ว่าด้วยความหวั่นไหว สูตรที่ ๒
[๙๑] “ภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นหัวฝี ความ หวั่นไหวเป็นลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตจึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ เพราะเหตุนั้นแล ถ้าภิกษุหวังว่า ‘เราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่’ เธอไม่พึงกำหนดหมายจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายในจักขุ ไม่พึงกำหนดหมาย เพราะจักขุ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘จักขุของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายรูป ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ อยู่นั่นเอง ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายในชิวหา ไม่พึงกำหนดหมาย เพราะชิวหา ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ชิวหาของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายรส ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๘. ทุติยเอชาสูตร

ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่เป็น สุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ อยู่นั่นเอง ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายมโน ไม่พึงกำหนดหมายในมโน ไม่พึงกำหนดหมายเพราะมโน ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘มโนของเรา’ ไม่พึงกำหนดหมายธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ ไม่พึงกำหนดหมายแม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง กำหนดหมายแม้เพราะความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่ เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ความเสวยอารมณ์ที่ เป็นสุขหรือทุกข์หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นของเรา’ บุคคลกำหนดหมายสิ่งใด กำหนดหมายในสิ่งใด กำหนดหมายเพราะสิ่งใด กำหนดหมายว่า ‘สิ่งใดของเรา’ สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่นจากที่กำหนดหมาย นั้น คือ สัตว์โลกข้องอยู่ในภพ มีความเปลี่ยนแปลงโดยอาการอื่น ก็ยังยินดีภพ อยู่นั่นเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๒. ทุติยปัณณาสก์ ๔. ฉันนวรรค ๑๐. ทุติยทวยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่พึงกำหนดหมายแม้ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายในขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายเพราะ ขันธ์ ธาตุ และอายตนะเท่าที่มีอยู่ ไม่พึงกำหนดหมายว่า ‘ขันธ์ ธาตุ และ อายตนะเท่าที่มีอยู่นั้นของเรา’ บุคคลผู้ไม่กำหนดหมายอยู่อย่างนี้ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็ ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับเฉพาะตนเอง รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
ทุติยเอชาสูตรที่ ๘ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๙๒-๙๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=2556 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=71              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=1643&Z=1679&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=122              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]