ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๑. นิพพานปัญหาสูตร

๔. ชัมพุขาทกสังยุต
๑. นิพพานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องนิพพาน
[๓๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ หมู่บ้านนาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้น ชัมพุขาทกปริพาชกเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระ สารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘นิพพาน นิพพาน’ นิพพานเป็น อย่างไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งนิพพานนั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
นิพพานปัญหาสูตรที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร

๒. อรหัตตปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรหัต
[๓๑๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อรหัต อรหัต’ อรหัตเป็นอย่างไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ และ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อรหัต” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งอรหัตนั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
อรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒ จบ
๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องผู้เป็นธรรมวาที
[๓๑๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาที ในโลก ใครเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คนพวกใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ แสดง ธรรมเพื่อละโทสะ และแสดงธรรมเพื่อละโมหะ คนพวกนั้นเป็นธรรมวาทีในโลก คนพวกใดปฏิบัติเพื่อละราคะ ปฏิบัติเพื่อละโทสะ และปฏิบัติเพื่อละโมหะ คนพวกนั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๔. กิมัตถิยสูตร

และคนพวกใดละราคะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ละโทสะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ และละโมหะได้แล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ คนพวกนั้นเป็นผู้ไป ดีแล้วในโลก” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ และโมหะนั้นดี จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ธัมมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓ จบ
๔. กิมัตถิยสูตร
ว่าด้วยคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของการประพฤติพรหมจรรย์
[๓๑๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ท่านประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสมณโคดม เพื่อต้องการอะไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนดรู้ทุกข์” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๕. อัสสาสัปปัตตสูตร

“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
กิมัตถิยสูตรที่ ๔ จบ
๕. อัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจ
[๓๑๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ โล่งใจ ถึงความโล่งใจ’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง ด้วยเหตุเพียง เท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจนั้นดีจริง หนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
อัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๗. เวทนาปัญหาสูตร

๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร
ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง
[๓๑๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ถึงความ โล่งใจอย่างยิ่ง ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้ถึง ความโล่งใจอย่างยิ่ง” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภิกษุรู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริงแล้ว หลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล เธอจึงเป็นผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่งนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อทำให้แจ้งความโล่งใจอย่างยิ่ง นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ปรมัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๖ จบ
๗. เวทนาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องเวทนา
[๓๒๐] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่กล่าวกันว่า ‘เวทนา เวทนา’ เวทนามีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ เวทนามี ๓ ประการนี้ เวทนา ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๓๙}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๘. อาสวปัญหาสูตร

๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อทุกขมสุขเวทนา เวทนามี ๓ ประการนี้แล” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการ นั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
เวทนาปัญหาสูตรที่ ๗ จบ
๘. อาสวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอาสวะ
[๓๒๑] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อาสวะ อาสวะ’ อาสวะมีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อาสวะมี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ๒. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ๓. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) อาสวะมี ๓ ประการนี้แล” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่หรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๐}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๙. อวิชชาปัญหาสูตร

“มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอาสวะเหล่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอาสวะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ ควรที่จะไม่ประมาท”
อาสวปัญหาสูตรที่ ๘ จบ
๙. อวิชชาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอวิชชา
[๓๒๒] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อวิชชา อวิชชา’ อวิชชาคืออะไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกข- สมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และความไม่รู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้เรียกว่า อวิชชา” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอวิชชานั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอวิชชานั้นดีจริงหนอ และ ควรที่จะไม่ประมาท”
อวิชชาปัญหาสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๑๑. โอฆปัญหาสูตร

๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องตัณหา
[๓๒๓] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ตัณหา ตัณหา’ ตัณหามีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ตัณหามี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม) ๒. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ) ๓. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ) ตัณหามี ๓ ประการนี้แล” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละตัณหาเหล่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละตัณหาเหล่านั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ตัณหาปัญหาสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. โอฆปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องโอฆะ
[๓๒๔] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘โอฆะ โอฆะ’ โอฆะมีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ โอฆะมี ๔ ประการนี้ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร

๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ) ๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) โอฆะมี ๔ ประการนี้แล” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละโอฆะเหล่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละโอฆะเหล่านั้นดีจริงหนอ และ ควรที่จะไม่ประมาท”
โอฆปัญหาสูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องอุปาทาน
[๓๒๕] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘อุปาทาน อุปาทาน’ อุปาทานมีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานมี ๔ ประการนี้ คือ ๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) ๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี) ๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและพรต) ๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่าอัตตา) อุปาทานมี ๔ ประการนี้แล” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นอยู่” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๑๕. สักกายปัญหาสูตร

“มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อละอุปาทานเหล่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อละอุปาทานเหล่านั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
อุปาทานปัญหาสูตรที่ ๑๒ จบ
๑๓. ภวปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องภพ
[๓๒๖] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ภพ ภพ’ ภพมีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ภพมี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร) ๒. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร) ๓. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร) ภพมี ๓ ประการนี้แล” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ภพเหล่านั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ภวปัญหาสูตรที่ ๑๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๑๕. สักกายปัญหาสูตร

๑๔. ทุกขปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุกข์
[๓๒๗] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘ทุกข์ ทุกข์’ ทุกข์มีเท่าไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ สภาวทุกข์มี ๓ ประการนี้ คือ ๑. สภาวทุกข์คือทุกข์ ๒. สภาวทุกข์คือสังขาร ๓. สภาวทุกข์คือความแปรผันไป สภาวทุกข์มี ๓ อย่างเหล่านี้” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สภาวทุกข์เหล่านั้นดี จริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
ทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔ จบ
๑๕. สักกายปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสักกายะ
[๓๒๘] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร ที่เรียกกันว่า ‘สักกายะ (กายของตน) สักกายะ’ สักกายะคืออะไร” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกว่า สักกายะ ได้แก่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แลพระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า สักกายะ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่หรือ” “มีมรรค มีปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นอยู่” “มรรคเป็นอย่างไร ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นเป็นอย่างไร” “ผู้มีอายุ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล เพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ นี้แลคือมรรค นี้คือปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้น” “ท่านสารีบุตร มรรคดีจริงหนอ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้สักกายะนั้นดีจริงหนอ และควรที่จะไม่ประมาท”
สักกายปัญหาสูตรที่ ๑๕ จบ
๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก
[๓๒๙] ชัมพุขาทกปริพาชกถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอที่ทำได้ยากใน พระธรรมวินัยนี้” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การบรรพชาทำได้ยากในพระธรรมวินัยนี้” “อะไรที่บรรพชิตทำได้ยาก” “ความยินดียิ่ง บรรพชิตทำได้ยาก” “อะไรที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๔. ชัมพุขาทกสังยุต]

รวมพระสูตรที่มีในวรรค

“การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่บรรพชิตผู้ยินดียิ่งทำได้ยาก” “ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นานเท่าไรจึงจะเป็นพระอรหันต์” “ไม่นานดอก ผู้มีอายุ”
ทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ
๑. นิพพานปัญหาสูตร ๒. อรหัตตปัญหาสูตร ๓. ธัมมวาทีปัญหาสูตร ๔. กิมัตถิยสูตร ๕. อัสสาสัปปัตตสูตร ๖. ปรมัสสาสัปปัตตสูตร ๗. เวทนาปัญหาสูตร ๘. อาสวปัญหาสูตร ๙. อวิชชาปัญหาสูตร ๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร ๑๑. โอฆปัญหาสูตร ๑๒. อุปาทานปัญหาสูตร ๑๓. ภวปัญหาสูตร ๑๔. ทุกขปัญหาสูตร ๑๕. สักกายปัญหาสูตร ๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร
ชัมพุขาทกสังยุต จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๓๔๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๓๓๕-๓๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=9344 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=254              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=6591&Z=6815&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=497              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]