ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๙. สาสังกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
๙. สาสังกสิกขาบท
ว่าด้วยเสนาสนะป่าที่น่าหวาดระแวง
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเมื่อออกพรรษา ปวารณาแล้วยังอยู่ในเสนาสนะป่า กลุ่มกัตติกโจร๑- เข้าใจว่า “พวกภิกษุมีลาภ” จึงเข้าปล้น พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตภิกษุให้เก็บจีวรไว้ในละแวกบ้าน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะป่าเก็บไตร จีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้” สมัยนั้น พวกภิกษุทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่ใน เสนาสนะป่าเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้” จึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน หนึ่งไว้ในละแวกบ้านอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จีวรเหล่านั้นสูญหายบ้าง ฉิบหายบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกหนูกัดบ้าง ภิกษุเหล่านั้นมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่าๆ ภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า “เหตุใดพวกท่านมีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่าๆ” ทีนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึง บอกเรื่องนั้นให้ทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ ทั้งหลายจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้าน แล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืนเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ กตฺติกโจรกาติ กตฺติกมาเส โจรา หมายถึงพวกโจรเดือน ๑๒ (วิ.อ. ๒/๖๕๒/๒๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๙. สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุเก็บไตรจีวรผืนใด ผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้นจึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านแล้วอยู่ปราศเกิน ๖ คืน ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๕๓] ก็ ภิกษุจำพรรษาแล้วหวังจะอยู่ในเสนาสนะป่าที่รู้กันว่าน่าหวาด ระแวง มีภัยน่ากลัวเช่นนั้น จนถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ พึงเก็บไตรจีวรผืนใดผืน หนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้ และภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศ จากจีวรนั้น ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ถ้าอยู่ปราศ เกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๕๔] คำว่า ก็...จำพรรษาแล้ว คือ ออกพรรษาแล้ว คำว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าตรงกับวันปุรณมีดิถีที่ ๔ ในกัตติกามาส คำว่า เสนาสนะป่า ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่าป่า มีระยะ ๕๐๐ ชั่วธนู เป็นอย่างต่ำ ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๙. สาสังกสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม ปรากฏมีมนุษย์ ถูกพวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี คำว่า ภิกษุ...จะอยู่ในเสนาสนะป่าเช่นนั้น ความว่า ภิกษุยับยั้งอยู่ใน เสนาสนะเช่นนั้น คำว่า หวัง คือ ปรารถนา คำว่า ไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง ได้แก่ สังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสก คำว่า พึงเก็บไว้ในละแวกบ้านได้ คือ เก็บไว้ในโคจรคามโดยรอบ คำว่า ภิกษุนั้นควรมีปัจจัยบางอย่างเพื่อการอยู่ปราศจากจีวรนั้น คือ มี เหตุผลหรือกรณียกิจ คำว่า ภิกษุพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างมาก ความว่า อยู่ ปราศได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างมาก คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุที่ได้รับสมมติ คำว่า ถ้าอยู่ปราศเกินกว่ากำหนดนั้น ความว่า เมื่อรุ่งอรุณวันที่ ๗ มาถึง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของ กระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ แล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๙. สาสังกสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ ของกระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศเกิน ๖ คืน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๕๕] จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าเกิน อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุไม่แน่ใจ อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้ แต่ภิกษุได้สมมติ จีวรเกิน ๖ คืน ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า อยู่ปราศ ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๙. สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร

จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ถูกชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว อยู่ปราศ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ
ติกทุกกฏ
ภิกษุไม่ได้สละจีวรเป็นนิสสัคคีย์ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรหย่อนกว่า ๖ ราตรี ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๕๖] ๑. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี ๒. ภิกษุอยู่ปราศหย่อนกว่า ๖ ราตรี ๓. ภิกษุอยู่ปราศ ๖ ราตรี แล้วกลับมาคามสีมาแล้วจากไป ๔. ภิกษุถอนผ้าภายใน ๖ ราตรี ๕. ภิกษุสละให้ภายใน ๖ ราตรี ๖. ภิกษุที่มีจีวรสูญหายภายใน ๖ ราตรี ๗. ภิกษุที่มีจีวรฉิบหายภายใน ๖ ราตรี ๘. ภิกษุที่มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๖ ราตรี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๙. สาสังกสิกขาบท อนาปัตติวาร

๙. ภิกษุที่มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๖ ราตรี ๑๐. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๖ ราตรี ๑๑. ภิกษุได้สมมติ ๑๒. ภิกษุวิกลจริต ๑๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
สาสังกสิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=4428 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=29              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=4292&Z=4427&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=165              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]