ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท นิทานวัตถุ

๕. ปาจิตติยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยกขึ้น แสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
๑. มุสาวาทวรรค
หมวดว่าด้วยการกล่าวเท็จ
๑. มุสาวาทสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวเท็จ
เรื่องพระหัตถกศากยบุตร
[๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระหัตถกศากยบุตรเป็นนักโต้ วาทะ๑- เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่ง มากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน พวกเดียรถีย์จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระหัตถกศากยบุตร เมื่อเจรจากับพวกเรา จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบ เกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า” พวกภิกษุได้ยินพวกเดียรถีย์ตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงเข้าไปหาพระ หัตถกศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพระหัตถกศากยบุตรดังนี้ว่า “ท่าน @เชิงอรรถ : @ วาทกฺขิตฺต ที่แปลว่า “เป็นนักโต้วาทะ” นั้น ตามอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “วาทํ กริสฺสามี”ติ เอวํ @ปริวิตกฺกิเตน วาเทน ปรวาทีสนฺติกํ ขิตฺโต ปกฺขิตฺโต, ปหิโต เปสิโตติ อตฺโถ วาทมฺหิ วา สเกน จิตฺเตน @ขิตฺโต, ยตฺร ยตฺร วาโท ตตฺร ตตฺเรว สนฺทิสฺสตีติปิ วาทกฺขิตฺโต ถูกวาทะที่กำหนดไว้ว่า เราจักโต้วาทะ @เหวี่ยงไป ไสไป ส่งไปยังสำนักปรวาที อีกประการหนึ่ง คือถูกจิตของตนส่งไปในสถานที่โต้วาทะ คือในที่ใดๆ @มีการโต้วาทะกัน ย่อมไปปรากฏตัวในที่นั้นๆ (วิ.อ. ๒/๑/๒๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท พระบัญญัติ

หัตถกะ ได้ทราบว่า เมื่อท่านเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้ คลาดเคลื่อน จริงหรือ” พระหัตถกศากยบุตรตอบว่า “เราต้องเอาชนะพวกเดียรถีย์เหล่านั้นด้วยวิธีใด วิธีหนึ่ง พวกเราไม่ควรให้ชัยชนะแก่พวกเดียรถีย์เหล่านั้น” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พระหัตถกศากยบุตรเมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้ คลาดเคลื่อนเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพระหัตถกศากยบุตรโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพระหัตถกศากยบุตรว่า “หัตถกะ ทราบว่า เมื่อเธอเจรจากับพวกเดียรถีย์ ปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าวกลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าว เท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อน จริงหรือ” พระหัตถกศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ไฉนเธอ เมื่อเจรจากับพวกเดียรถีย์ จึงปฏิเสธแล้วรับ รับแล้วปฏิเสธ เอาเรื่องหนึ่งมากล่าว กลบเกลื่อนอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวเท็จทั้งที่รู้ นัดหมายแล้วทำให้คลาดเคลื่อนเล่า โมฆ บุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใส อยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะกล่าวเท็จทั้งที่รู้
เรื่องพระหัตถกศากยบุตร จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๓] ที่ชื่อว่า กล่าวเท็จทั้งที่รู้ ได้แก่ วาจา เสียงที่เปล่งออก คำเป็นทาง วจีเภท เจตนาที่ให้รู้ทางวาจาของผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดความจริง ได้แก่ ถ้อยคำ ของอนารยชน ๘ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทราบ ๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ ๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น ๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ๗. ทราบ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบ ๘. รู้ แต่กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้
บทภาชนีย์
๑. ที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่ได้เห็นด้วยตา ๒. ที่ชื่อว่า ไม่ได้ยิน คือ ไม่ได้ยินด้วยหู ๓. ที่ชื่อว่า ไม่ทราบ คือ ไม่ได้สูดดมด้วยจมูก ไม่ได้ลิ้มด้วยลิ้น ไม่ได้ สัมผัสด้วยกาย ๔. ที่ชื่อว่า ไม่รู้ คือ ไม่รู้ด้วยใจ ๕. ที่ชื่อว่า ได้เห็น คือ ได้เห็นด้วยตา ๖. ที่ชื่อว่า ได้ยิน คือ ได้ยินด้วยหู ๗. ที่ชื่อว่า ทราบ คือ ได้สูดดมด้วยจมูก ได้ลิ้มด้วยลิ้น ได้สัมผัสด้วยกาย ๘. ที่ชื่อว่า รู้ คือ รู้ด้วยใจ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

อาการกล่าวเท็จทั้งที่รู้
๑. ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น
[๔] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความ เห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็น ชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๕] ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

๓. ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
๔. ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
[๖] ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็นและรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและรู้แล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และทราบ
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยินและได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และรู้
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และได้ เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยิน ทราบแล้ว รู้แล้ว และได้ เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบและได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว และได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ไม่ทราบ แต่กล่าวว่าทราบ รู้ เห็น และได้ยิน
ไม่ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และ ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ไม่รู้ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น ได้ยินและทราบ
ไม่รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบ แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

๕. ได้เห็น แต่กล่าวว่าไม่ได้เห็น
[๗] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๖. ได้ยิน แต่กล่าวว่าไม่ได้ยิน
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
๗. ทราบ แต่กล่าวว่าไม่ทราบ
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่ทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
๘. รู้ แต่กล่าวว่าไม่รู้
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้แล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้น กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน
[๘] ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่ารู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและทราบ
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยินและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น แต่กล่าวว่าได้ยิน ทราบและรู้
ได้เห็น ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ทราบแล้วและรู้แล้ว ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ได้ยิน แต่กล่าวว่ารู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและรู้
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและรู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบและได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน แต่กล่าวว่าทราบ รู้ และได้เห็น
ได้ยิน ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว รู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่าได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ทราบ แต่กล่าวว่าได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้เห็น
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ทราบ แต่กล่าวว่ารู้ ได้เห็น และได้ยิน
ทราบ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและได้ยิน
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็นและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
รู้ แต่กล่าวว่าได้เห็น ได้ยินและทราบ
รู้ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้วและทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้เห็น - แต่ไม่แน่ใจ
[๙] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้เห็น กำหนดสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ จำสิ่งที่ได้เห็นไม่ได้ หลงลืมสิ่งที่ได้เห็น กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วและได้ยินแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง ... ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ ภิกษุกล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ทราบแล้ว และรู้แล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
ได้ยิน - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ยิน กำหนดสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ยินไม่ได้ หลงลืมสิ่ง ที่ได้ยิน ฯลฯ
ทราบ - แต่ไม่แน่ใจ
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้ทราบ กำหนดสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้ จำสิ่งที่ได้ทราบไม่ได้ หลงลืมสิ่งที่ได้ทราบ ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๑. มุสาวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร

รู้ - แต่ไม่แน่ใจ เป็นต้น
ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้เห็นแล้ว” ด้วยอาการ ๓ อย่าง ฯลฯ หลง ลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้วและทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จ ทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และได้ยินแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าว เท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว และทราบแล้ว” ฯลฯ หลงลืมสิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว” ด้วย อาการ ๓ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ว่ากำลัง กล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ [๑๐] ภิกษุไม่แน่ใจสิ่งที่ได้รู้ กำหนดสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ จำสิ่งที่ได้รู้ไม่ได้ หลงลืม สิ่งที่ได้รู้ กล่าวเท็จทั้งที่รู้ว่า “ข้าพเจ้ารู้แล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว และทราบแล้ว” ด้วยอาการ ๔ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๕ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๖ อย่าง ฯลฯ ด้วยอาการ ๗ อย่าง คือ (๑) เบื้องต้นเธอรู้ว่าจักกล่าวเท็จ (๒) กำลังกล่าวก็รู้ ว่ากำลังกล่าวเท็จ (๓) ครั้นกล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จแล้ว (๔) อำพรางความเห็น (๕) อำพรางความเห็นชอบ (๖) อำพรางความพอใจ (๗) อำพรางความประสงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๑] ๑. ภิกษุกล่าวพลั้ง ๒. ภิกษุกล่าวพลาด ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
มุสาวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๘๕-๑๙๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=4722 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=32              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=4576&Z=4905&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=173              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]