ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๕. จูฬวรรค ๕. ปัณฑิตสูตร

๔. กถาปวัตติสูตร
ว่าด้วยเหตุให้การสนทนาดำเนินไปได้
[๔๔] ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ๑- ๓ ประการ ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้แสดงธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ๒. บุคคลผู้ฟังธรรมรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ๓. บุคคลผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมทั้ง ๒ ฝ่ายรู้แจ้งอรรถและรู้แจ้งธรรม ภิกษุทั้งหลาย การสนทนาดำเนินไปได้ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
กถาปวัตติสูตรที่ ๔ จบ
๕. ปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยกรรมที่บัณฑิตบัญญัติไว้
[๔๕] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๓ ประการนี้บัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้ กรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทาน(การให้) ๒. ปัพพัชชา(การถือบวช) ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา) กรรม ๓ ประการนี้แลบัณฑิตบัญญัติไว้ สัตบุรุษบัญญัติไว้ ทาน อหิงสา(ความไม่เบียดเบียน) สัญญมะ(ความสำรวม) ทมะ(การฝึกฝน) มาตาปิตุอุปัฏฐาน(การบำรุงมารดาบิดา) เป็นสิ่งที่สัตบุรุษบัญญัติไว้ @เชิงอรรถ : @ ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (องฺ.ติก.อ. ๒/๔๔/๑๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๐๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๐๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=5740 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=88              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3923&Z=3928&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=483              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]