ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๖๑] ครั้งนั้น สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจพอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าเป็นพราหมณ์ บูชายัญเองบ้าง ให้ผู้อื่นบูชาบ้าง ในหมู่พราหมณ์นั้น ผู้ใดบูชายัญเอง และผู้ใดให้ผู้อื่นบูชายัญ คน เหล่านั้นทั้งหมดชื่อว่าปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่หลายสรีระคือยัญญาธิกรณ์๑- (มี ยัญเป็นเหตุ) ส่วนบุคคลใดออกจากเรือนแห่งตระกูลใดก็ตาม บวชเป็นบรรพชิต ฝึก ตนเอง ทำตนเองให้สงบ ทำตนเองให้ดับเย็นสนิท เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่า ปฏิบัติปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่สรีระเดียวคือปัพพัชชาธิกรณ์(มีบรรพชาเป็นเหตุ)” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร ตถาคตเสด็จ อุบัติในโลกนี้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อม ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตพระองค์นั้นตรัสไว้อย่างนี้ว่า ‘ในข้อนี้เราปฏิบัติตามมรรคนี้ปฏิปทานี้ ทำให้ แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม มาเถิด แม้ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติ แล้ว จักทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ด้วยปัญญา อันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’ พระศาสดาพระองค์นี้ทรงแสดงธรรมไว้ และคนเหล่าอื่นต่างก็ ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดงและผู้ปฏิบัตินั้นมีมากกว่าร้อย มีมากกว่า พัน มีมากกว่าแสน ท่านเข้าใจเรื่องนั้นอย่างไร เมื่อเป็นอย่างนี้ ปุญญปฏิปทาคือ ปัพพัชชาธิกรณ์ย่อมเกิดแก่สรีระเดียวหรือเกิดแก่หลายสรีระ” @เชิงอรรถ : @ ปุญญปฏิปทาที่เกิดแก่หลายสรีระคือยัญญาธิกรณ์หมายถึงวิธีทำบุญที่คนคนเดียวให้ทานเองหรือใช้ให้ @ผู้อื่นให้ทานแก่คนจำนวนมาก หรือคนจำนวนมากให้ทานเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นให้ทานแก่คนจำนวนมาก @นี้เป็นลัทธิภายนอกพุทธศาสนา (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๑/๑๖๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นอย่างนี้ ปุญปฏิปทาคือปัพพชชาธิกรณ์นี้ย่อมเกิดแก่หลายสรีระ” เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารว- พราหมณ์ว่า “บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้ อุปกรณ์น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า” เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระ อานนท์ดังนี้ว่า “ท่านพระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่าน ทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่านทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว” แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับสังคารวพราหมณ์ว่า “พราหมณ์ เราไม่ได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านบูชาใครหรือว่าท่านสรรเสริญใคร แต่เราถามท่าน อย่างนี้ว่า บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอะไร ซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ น้อยกว่า มีความวุ่นวายน้อยกว่า แต่มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์มากกว่า” แม้ครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “ท่าน พระโคดมเป็นฉันใด ท่านพระอานนท์ก็เป็นฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้เราบูชาแล้ว ท่านทั้ง ๒ นี้เราสรรเสริญแล้ว” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงดำริว่า “สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถาม ปัญหาที่ชอบธรรม ก็นิ่งเสีย ไม่ตอบถึง ๓ ครั้ง ทางที่ดี เราควรช่วยเหลือ” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับสังคารวพราหมณ์ดังนี้ว่า “พราหมณ์ วันนี้ พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่าอย่างไร” สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้พวกราชบุรุษนั่ง ประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมว่า ‘ทราบมาว่า ในกาลก่อน ภิกษุธรรมดามีจำนวนน้อย ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริมนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์๑- @เชิงอรรถ : @ อุตตริมนุสสธรรม ในที่นี้หมายถึงฌาน วิปัสสนา มรรค และผล มหัคคตโลกุตตรปัญญาที่สามารถกำจัด @กิเลสได้ เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์กล่าวคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๔๕/๕๑, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๔๘/๓๕๐) แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ในที่นี้หมายถึงการไปและมาทางอากาศเพื่อภิกขาจาร @(องฺ.ติก.อ. ๒/๖๑/๑๖๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ได้มีจำนวนมากกว่า ทุกวันนี้ ภิกษุธรรมดามีจำนวนมากกว่า ส่วนภิกษุที่ได้อุตตริ- มนุสสธรรม แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีจำนวนน้อยกว่า’ ข้าแต่ท่านพระโคดม วันนี้ พวกราชบุรุษนั่งประชุมกันในราชสำนัก สนทนากันในระหว่างการประชุมดังนี้แล” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ปาฏิหาริย์(การทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้) ๓ อย่างนี้ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์) ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คือการทายใจ) ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์คืออนุสาสนี) อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดง เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไป ก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นและดำลง ในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดิน ก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลก ก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดยเครื่องหมายว่า “ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หาก เธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย แต่พอได้ ฟังมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้๑- ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจ หลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น @เชิงอรรถ : @ เป็นอย่างนึ้ ในที่นี้หมายถึงมีสุข มีทุกข์ หรือประกอบด้วยกามวิตกเป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๑/๑๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของ บุคคลผู้ตรึกตรองแล้ว ย่อมกล่าวดักใจได้ว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่าน เป็นอย่างนี้ก็มี จิตของท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้เลย ถึงได้ฟัง เสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา ก็กล่าวดักใจไม่ได้ ถึงได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคล ผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิ ไม่มีวิตก ไม่มี วิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่องชื่อโน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้ง มโนสังขาร” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรม นี้อยู่” นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์ พราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ท่านชอบใจ ปาฏิหาริย์ไหน ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ แผ่อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ นี้คือปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนกับ ภาพมายา ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวดักใจได้โดย อาศัยเครื่องหมายว่า “ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี ใจของท่านเป็นอย่างนี้ก็มี จิตของ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค ๑๐. สังคารวสูตร

ท่านกำลังคิดอย่างนี้ๆ” แม้หากเขาจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เขากล่าวนั้นก็ เป็นอย่างนั้นแล ไม่เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ กล่าวดักใจโดยอาศัยเครื่องหมายไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดา แล้วก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ ได้ฟังเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาแล้ว ก็ยังกล่าว ดักใจไม่ได้ แต่พอได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็กล่าวดักใจได้ว่า ฯลฯ แม้ได้ฟังเสียงบ่นเพ้อของบุคคลผู้ตรึกตรอง ก็ยังกล่าวดักใจไม่ได้ แต่กำหนดรู้ใจของ บุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารด้วยใจของตนว่า “ท่านผู้เจริญนี้จักตรึกเรื่อง โน้นในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” แม้หากเธอจะกล่าวดักใจหลายเรื่อง คำที่เธอกล่าวนั้นก็เป็นอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านพระโคดมนี้คือ ปาฏิหาริย์ ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น และ ผู้ใดแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์นั้นเป็นของผู้นั้น ข้าแต่ท่านพระโคดม ปาฏิหาริย์แม้นี้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหมือนภาพมายา ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ข้าพระองค์ชอบใจปาฏิหาริย์ นี้ซึ่งงดงามกว่าและประณีตกว่า คือภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่” ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมตรัส เรื่องนี้ไว้ดี และข้าพเจ้าทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านพระโคดมประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมทรงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ทรงใช้อำนาจ ทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะท่านพระโคดมทรงกำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้า สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของพระองค์ว่า “ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้น ในลำดับจิตนี้โดยวิธีที่ได้ตั้งมโนสังขารไว้” เพราะท่านพระโคดมทรงพร่ำสอนอย่างนี้ว่า “จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ท่านกล่าววาจาที่เกี่ยวข้องกับคุณของเราแน่แท้ อนึ่ง เราจักตอบคำถามของท่าน เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้อำนาจทาง กายไปจนถึงพรหมโลกได้ เพราะเรากำหนดรู้ใจของบุคคลผู้เข้าสมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๑. พราหมณวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วิจาร ด้วยใจของตนว่า ‘ท่านผู้เจริญนี้ จักตรึกเรื่องโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยวิธีที่ได้ตั้ง มโนสังขารไว้’ เพราะว่าเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า ‘จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละธรรมนี้ จงบรรลุธรรมนี้อยู่” สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม นอกจากท่านพระโคดม ภิกษุอื่นแม้รูปเดียวผู้เพียบพร้อมด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ไม่ใช่เพียงหนึ่งร้อย ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้มีอยู่จำนวน มากทีเดียว” สังคารวพราหมณ์ทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็บัดนี้ภิกษุเหล่านั้นอยู่ไหน” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ท่านเหล่านั้นอยู่ในหมู่ภิกษุนี้เอง” สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะ ยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พร้อมทั้ง พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น อุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
สังคารวสูตรที่ ๑๐ จบ
พราหมณวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมเทวพราหมณสูตร ๒. ทุติยเทวพราหมณสูตร ๓. อัญญตรพราหมณสูตร ๔. ปริพพาชกสูตร ๕. นิพพุตสูตร ๖. ปโลกสูตร ๗. วัจฉโคตตสูตร ๘. ติกัณณสูตร ๙. ชานุสโสณิสูตร ๑๐. สังคารวสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒๓๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒๓๒-๒๓๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=6477 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=105              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4426&Z=4570&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=500              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]