ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
๒. นีวรณปหานวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมเป็นเหตุละนิวรณ์
[๑๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กามฉันทะ(ความพอใจในกาม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือนสุภนิมิต๑- นี้ เมื่อมนสิการสุภนิมิตโดย ไม่แยบคาย๒- กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความ เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๑) @เชิงอรรถ : @ สุภนิมิต หมายถึงอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๑/๒๘) @ มนสิการโดยไม่แยบคาย ในที่นี้หมายถึงการคิดผิดทาง คือคิดถึงสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง คิดถึงสิ่งที่เป็นทุกข์ @ว่าเป็นสุข คิดถึงสิ่งที่ไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน คิดถึงสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือการคิดคำนึงตรงข้ามกับความ @เป็นจริง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๑/๒๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๑๒] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาท(ความคิดร้าย) ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน ปฏิฆนิมิต๑- นี้ เมื่อมนสิการปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๒) [๑๓] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะ(ความหดหู่และ เซื่องซึม)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ขึ้นเหมือนความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความเมื่อยขบของร่างกาย ความเมา อาหาร และความที่จิตหดหู่นี้ เมื่อมีจิตหดหู่ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๓) [๑๔] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่าน และร้อนใจ)ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ยิ่งขึ้นเหมือนความไม่สงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตไม่สงบ อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๔) [๑๕] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นเหมือน อโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยไม่แยบคาย)นี้ เมื่อมนสิการโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น (๕) [๑๖] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนอสุภนิมิต๒- นี้ เมื่อมนสิการอสุภนิมิตโดย แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้๓- (๖) @เชิงอรรถ : @ ปฏิฆนิมิต หมายถึงนิมิตที่ไม่น่าปรารถนา (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๒/๒๙) @ อสุภนิมิต หมายถึงสภาพอันไม่งามซึ่งเป็นอารมณ์สมถกัมมัฏฐานในชั้นปฐมฌาน คือ (๑) อุทธุมาตกะ ซาก @ศพที่เน่าพองขึ้นอืด (๒) วินีลกะ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่างๆ (๓) วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลือง @ไหลเยิ้มตามที่ที่แตกปริออก (๔) วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน (๕) วิกขายิตกะ ซากศพที่ @ถูกสัตว์จิกทึ้งกัดกิน (๖) วิกขิตตกะ ซากศพที่กระจุยกระจาย (๗) หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกสับฟันบั่น @เป็นท่อนๆ (๘) โลหิตกะ ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบเรี่ยราดอยู่ (๙) ปุฬุวกะ ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำ @เต็มไปหมด (๑๐) อัฏฐิกะ ซากศพที่ยังเหลืออยู่แต่ร่างกระดูก หรือกระดูกท่อน (วิสุทฺธิ. ๑/๑๐๒/๑๙๔) @ ละได้ หมายถึงละได้ด้วยปหานะ ๕ อย่าง คือ ตทังคปหานะ วิกขัมภนปหานะ สมุจเฉทปหานะ @ปัสสัทธิปหานะ และนิสสรณปหานะ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๖/๔๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๒. นีวรณปหานวรรค

[๑๗] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนเมตตาเจโตวิมุตติ๑- นี้ เมื่อมนสิการเมตตา เจโตวิมุตติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๗) [๑๘] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่นนี้ เมื่อปรารภความเพียร๒- แล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๘) [๑๙] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนความสงบแห่งจิตนี้ เมื่อมีจิตสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้ (๙) [๒๐] เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็ละได้เหมือนโยนิโสมนสิการ(การมนสิการโดยแยบคาย) นี้ เมื่อมนสิการโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ละได้ (๑๐)
นีวรณปหานวรรคที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ จิต นี้ เรียกว่า เมตตาเจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากธรรมที่ไม่ดีทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ @พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗/๔๒) @ ปรารภความเพียร ในที่นี้หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอ @ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมาย @เอาทั้ง ความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุใน @ธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอด @วัน” (อภิ.วิ. ๓๕/๕๑๙/๓๐๐) และ ความเพียรทางจิต เช่นเพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่ @เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วย @อุปาทาน” (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๒-๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=38 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=42&Z=93&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]