ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๓. สีหสูตร
ว่าด้วยพญาราชสีห์
[๓๓] ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น พญาราชสีห์ออกจากที่อาศัย บิดกาย ชำเลืองดูรอบๆ ทั้ง ๔ ทิศ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วหลีกไปหาเหยื่อ โดยมาก สัตว์ดิรัจฉานที่ได้ฟังพญาราชสีห์บันลือสีหนาทย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น และ สะดุ้ง สัตว์พวกที่อาศัยอยู่ในโพรงก็หลบเข้าโพรง พวกที่อยู่ในน้ำก็ดำลงในน้ำ พวกที่ อยู่ในป่าก็หนีเข้าป่า พวกสัตว์ปีกก็บินขึ้นสู่อากาศ พญาช้างที่ถูกล่ามไว้ด้วยเครื่อง ผูกคือเชือกหนังที่มั่นคงแข็งแรง ในหมู่บ้าน ตำบล และเมืองหลวง ก็ตัดทำลาย เครื่องผูกเหล่านั้น ตกใจกลัว ถ่ายมูตรและกรีส๑- หนีไปทางใดทางหนึ่ง บรรดา สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย พญาราชสีห์เป็นสัตว์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ มูตร หมายถึงปัสสาวะ กรีส หมายถึงอุจจาระ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๓. สีหสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดตถาคต๑- อุบัติในโลก เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควร ฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค๒- แสดงธรรมว่า ‘สักกายะ๓- เป็นอย่างนี้ สักกายสมุทัย (เหตุเกิด สักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ (ความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธ- คามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับสักกายะ) เป็นอย่างนี้’ เมื่อนั้นเทวดาพวกที่มี อายุยืน มีวรรณะ มีสุขมาก สถิตอยู่ในวิมานสูงเป็นเวลานาน ฟังธรรมเทศนา ของตถาคตแล้ว โดยมากย่อมถึงความกลัว หวาดหวั่น สะดุ้งว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย ทราบมาว่า พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่ได้สำคัญตนว่า ‘เที่ยง’ เป็นผู้ไม่ยั่งยืน แต่ได้ สำคัญตนว่า ‘ยั่งยืน’ เป็นผู้ไม่คงที่ แต่ได้สำคัญตนว่า ‘คงที่’ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงที่ เกี่ยวเนื่องอยู่ในสักกายะ” ดังนี้ บรรดา ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีศักดิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อใดพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้๔- ตรัสรู้ยิ่งแล้ว @เชิงอรรถ : @ คำว่า ตถาคต นี้ ท่านกล่าวอธิบายไว้โดยเหตุ ๘ อย่าง คือ (๑) เรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาแล้ว @อย่างนั้น (๒) เรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จไปแล้วอย่างนั้น (๓) เรียกว่าตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะ @อันแท้ (๔) เรียกว่าตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามความเป็นจริง (๕) เรียกว่า @ตถาคต เพราะทรงเห็นแท้จริง (๖) เรียกว่าตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง (๗) เรียกว่าตถาคต เพราะ @ทรงทำจริง (๘) เรียกว่าตถาคต เพราะอรรถว่าครอบงำ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๓๓/๓๕๔) @ ชื่อว่าเป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วย @ภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน, โลกุตตรธรรม, ยศ, สิริ, ความสำเร็จประโยชน์ @ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคลาย @ตัณหาในภพทั้ง ๓ (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่ง @ปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑/๑๑๕-๑๑๘) @อนึ่ง พุทธคุณทั้ง ๙ บทนี้ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๖๔/๒๔๗ (เชิงอรรถที่ ๑) @ สักกายะ หมายถึงอุปาทานขันธ์ ๕ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๓/๓๓๓) @ หาบุคคลเปรียบเทียบมิได้ หมายถึงไม่มีคู่แข่ง คือไม่มีใครอื่นที่จะกล้าปฏิญญาว่า ‘เราเป็นพระพุทธเจ้า’ @ได้เหมือนพระตถาคต (องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๗๔/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. จักกวรรค ๔. อัคคัปปสาทสูตร

ประกาศธรรมจักร คือ สักกายะ เหตุเกิดสักกายะ ความดับสักกายะ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ให้ถึงความดับทุกข์ แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก เมื่อนั้นเทวดาที่มีอายุยืน มีวรรณะ มียศ หวาดหวั่น ฟังคำของตถาคต ผู้เป็นอรหันต์ หลุดพ้นแล้ว ผู้คงที่ ได้ถึงความสะดุ้งดุจเนื้อกลัวราชสีห์ ด้วยคิดว่า ‘ท่านผู้เจริญ ทราบว่า พวกเราเป็นผู้ไม่เที่ยง ยังไม่ก้าวล่วงสักกายะ’
สีหสูตรที่ ๓ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๕๑-๕๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=1524 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=33              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=877&Z=911&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=33              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]