ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อปัณณกวรรค ๖. กุสินารสูตร

๖. กุสินารสูตร
ว่าด้วยพุทธกิจในกรุงกุสินารา
[๗๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ระหว่างต้นรังทั้งคู่ ในสาลวันของ เจ้ามัลละ ซึ่งเป็นทางเข้ากรุงกุสินารา ในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูล รับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) เธอทั้งหลาย จงถามเถิด อย่าได้มีความเดือดร้อนใจภายหลังว่า ‘พระศาสดาประทับอยู่ตรงหน้า ของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายยังไม่สามารถทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อหน้าได้” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ... แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุแม้เพียงรูปเดียวพึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลง ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถามเถิด อย่าได้มีความเดือดร้อนใจภายหลังว่า ‘พระศาสดาประทับอยู่ตรงหน้าของเราทั้งหลาย เราทั้งหลายก็ยังไม่สามารถทูลถามพระผู้มีพระภาคต่อหน้าได้” แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นก็ยังพากันนิ่งอยู่ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เป็นได้ที่เธอทั้งหลายไม่ถามเพราะความเคารพในพระศาสดา แม้เพื่อนจงบอกแก่ เพื่อนเถิด” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้าพระองค์เลื่อมใส อย่างนี้ว่า ‘ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุแม้แต่รูปเดียวไม่มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๓. อปัณณกวรรค ๗. อจินเตยยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอกล่าวเพราะความเลื่อมใส ในเรื่องนี้ ตถาคตเองก็มีความรู้เหมือนกันว่า ‘ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุแม้แต่รูปเดียวไม่มีความ สงสัยหรือเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา’ อานนท์ ในจำนวนภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุผู้มีคุณธรรมชั้นต่ำสุด๑- เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๒- ในวันข้างหน้า”
กุสินารสูตรที่ ๖ จบ
๗. อจินเตยยสูตร
ว่าด้วยอจินไตย
[๗๗] ภิกษุทั้งหลาย อจินไตย (เรื่องไม่ควรคิด) ๔ ประการนี้บุคคลไม่ควรคิด ใครคิดพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ความเดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. พุทธวิสัย๓- ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๓. วิบากแห่งกรรม ๔. ความคิดเรื่องโลก๔- ภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ ประการนี้บุคคลไม่ควรคิด ใครคิดพึงมีส่วนแห่ง ความเป็นบ้า ความเดือดร้อน
อจินเตยยสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ คำนี้พระพุทธองค์ตรัสหมายเอาพระอานนท์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๗๖/๓๖๐) @ สัมโพธิ ในที่นี้หมายถึงมรรคเบื้องสูง ๓ (คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) @(สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๑/๕๕๙) @ พุทธวิสัย หมายถึงความเป็นไปและอานุภาพแห่งพระพุทธคุณทั้งหลาย มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๗๗/๓๖๐) @ ความคิดเรื่องโลก หมายถึงความคิดว่า ใครสร้างดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใครสร้างมหาปฐพี ใคร @สร้างมหาสมุทร ใครให้สัตว์เกิด ใครสร้างภูเขา ใครสร้างต้นมะม่วง ต้นตาล และต้นมะพร้าว เป็นต้น @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๗๗/๓๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๒๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๒๑-๑๒๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=3588 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=76              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=2139&Z=2165&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=76              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]