ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๑๐. โปตลิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อโปตลิยะ
[๑๐๐] สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อโปตลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้กับโปตลิยปริพาชกดังนี้ว่า “โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๖/๑๙๙-๒๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อสุรวรรค ๑๐. โปตลิยสูตร

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก โปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนว่างามกว่า และประณีตกว่า” โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี ปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๖/๑๙๙-๒๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อสุรวรรค ๑๐. โปตลิยสูตร

บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคลผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร ติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตาม ความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุเบกขานี้เป็นธรรมที่งดงามยิ่งนัก” พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า “โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง ฯลฯ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จัก กาลนี้งดงามยิ่งนัก” โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี ปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๖/๑๙๙-๒๐๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

๕. อสุรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคล ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล และกล่าวสรรเสริญ ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จักกาลนี้งดงามยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมี ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โปตลิยสูตรที่ ๑๐ จบ
อสุรวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสุรสูตร ๒. ปฐมสมาธิสูตร ๓. ทุติยสมาธิสูตร ๔. ตติยสมาธิสูตร ๕. ฉวาลาตสูตร ๖. ราควินยสูตร ๗. ขิปปนิสันติสูตร ๘. อัตตหิตสูตร ๙. สิกขาปทสูตร ๑๐. โปตลิยสูตร
ทุติยปัณณาสก์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๕๓}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=4458 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=100              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=2736&Z=2789&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=100              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]