ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๑. สิกขาปทสูตร

๕. ปัญจมปัณณาสก์
๑. สัปปุริสวรรค
หมวดว่าด้วยสัตบุรุษ
๑. สิกขาปทสูตร
ว่าด้วยสิกขาบท
[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ๑- และ อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษ๒- และสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอ ทั้งหลาย๓- เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเอง เป็นผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและ ชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวน ผู้อื่นให้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียก ว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ @เชิงอรรถ : @ อสัตบุรุษ หมยถึงคนเลว คนไร้ประโยชน์ คนมีโมหะ คนที่ถูกอวิชชาทำให้มืดบอด (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๐๑/๔๓๘) @ สัตบุรุษ หมายถึงบัณฑิตผู้ประกอบด้วยคุณคือ ศีล เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๐/๒๓๐) @ อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓๒-๑๓๕/๑๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๒. อัสสัทธสูตร

สัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการ พูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความ ประมาท บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการเสพ ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ ที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
สิกขาปทสูตรที่ ๑ จบ
๒. อัสสัทธสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่มีศรัทธาและผู้มีศรัทธา
[๒๐๒] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะ น้อย๑- เป็นผู้เกียจคร้าน หลงลืมสติ มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ @เชิงอรรถ : @ มีสุตะน้อย หมายถึงปราศจากสุตะ (เล่าเรียนมาน้อย, ได้ยินได้ฟังมาน้อย, มีประสบการณ์น้อย) @(ม.มู.อ. ๑/๘๓/๒๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๓. สัตตกัมมสูตร

อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีศรัทธา ตนเองเป็นผู้ไม่มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้ไม่มีหิริ ตนเองเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะและชักชวน ผู้อื่นให้ไม่มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นผู้มีสุตะน้อยและชักชวนผู้อื่นให้มีสุตะน้อย ตนเอง เป็นผู้เกียจคร้านและชักชวนผู้อื่นให้เกียจคร้าน ตนเองหลงลืมสติและชักชวนผู้อื่นให้ หลงลืมสติ ตนเองมีปัญญาทรามและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญาทราม บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ สัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ เป็นพหูสูต ปรารภความเพียร มีสติ มีปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีศรัทธาและชักชวนผู้อื่นให้มีศรัทธา ตนเองเป็นผู้มีหิริและชักชวนผู้อื่นให้มีหิริ ตนเองเป็นผู้มีโอตตัปปะและชักชวนผู้อื่น ให้มีโอตตัปปะ ตนเองเป็นพหูสูตและชักชวนผู้อื่นให้เป็นพหูสูต ตนเองมีสติตั้งมั่น และชักชวนผู้อื่นให้มีสติตั้งมั่น ตนเองเป็นผู้มีปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้มีปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
อัสสัทธสูตรที่ ๒ จบ
๓. สัตตกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรม ๗ ประการ
[๒๐๓] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๓. สัตตกัมมสูตร

อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเอง เป็นผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและชัก ชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ตน เองเป็นผู้พูดส่อเสียดและชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบและ ชักชวนผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ สัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูด เท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน ผู้อื่นให้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดและ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูด เพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
สัตตกัมมสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๔. ทสกัมมสูตร

๔. ทสกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรม ๑๐ ประการ
[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑- อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒- ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ตนเอง เป็นผู้มีจิตพยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและ ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ สัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒- เป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง อยากได้ของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๒- ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและชักชวน ผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มี จิตไม่พยาบาท ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้ เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
ทสกัมมสูตรที่ ๔ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๓ (สัตตกัมมสูตร) หน้า ๓๒๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๕. อัฏฐังคิกสูตร

๕. อัฏฐังคิกสูตร
ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘
[๒๐๕] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑- อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) มีมิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) มีมิจฉาวาจา (เจรจาผิด) มีมิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) มีมิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) มีมิจฉาวายามะ (พยายามผิด) มีมิจฉาสติ (ระลึกผิด) มีมิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา- ทิฏฐิ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาสังกัปปะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสังกัปปะ ตนเองเป็น ผู้มีมิจฉาวาจาและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวาจา ตนเองเป็นผู้มีมิจฉากัมมันตะและ ชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉากัมมันตะ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาอาชีวะและชักชวนผู้อื่นให้มี มิจฉาอาชีวะ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาวายามะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวายามะ ตนเอง เป็นผู้มีมิจฉาสติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสติ ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาสมาธิและชัก ชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาสมาธิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ สัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) มีสัมมาสังกัปปะ (ดำริ ชอบ) มีสัมมาวาจา (เจรจาชอบ) มีสัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) มีสัมมาอาชีวะ (เลี้ยง ชีพชอบ) มีสัมมาวายามะ (พยายามชอบ) มีสัมมาสติ (ระลึกชอบ) มีสัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๖. ทสมัคคสูตร

สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมา- ทิฏฐิ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาสังกัปปะ ตนเองเป็น ผู้มีสัมมาวาจาและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวาจา ตนเองเป็นผู้มีสัมมากัมมันตะและ ชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมากัมมันตะ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาอาชีวะและชักชวนผู้อื่นให้มี สัมมาอาชีวะ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาวายามะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวายามะ ตนเอง เป็นผู้มีสัมมาสติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาสติ ตนเองเป็นผู้มีสัมมาสมาธิและชักชวน ผู้อื่นให้มีสัมมาสมาธิ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
อัฏฐังคิกสูตรที่ ๕ จบ
๖. ทสมัคคสูตร
ว่าด้วยมรรค ๑๐ ประการ
[๒๐๖] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๑- อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๒- มีมิจฉาญาณะ มีมิจฉา- วิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา- ทิฏฐิ ฯลฯ๒- ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเอง เป็นผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๕ (อัฏฐังคิกสูตร) หน้า ๓๒๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๗. ปฐมปาปธัมมสูตร

สัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๑- มีสัมมาญาณะ มี สัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมา- ทิฏฐิ ฯลฯ๑- ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเอง เป็นผู้มีสัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่ง กว่าสัตบุรุษ
ทสมัคคสูตรที่ ๖ จบ
๗. ปฐมปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๑
[๒๐๗] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่วและคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว จักแสดง คนดีและคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี๒- แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๓- คนชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๔- เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่ว คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๔- ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่วที่ยิ่ง กว่าคนชั่ว @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๕ (อัฏฐังคิกสูตร) หน้า ๓๒๕-๓๒๖ ในเล่มนี้ @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๓๖-๑๓๙/๑๘๔-๑๘๕, ๑๔๐-๑๔๓/๑๘๕ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๓ (สัตตกัมมสูตร) หน้า ๓๒๓ และข้อ ๒๐๔ (ทสกัมมสูตร) หน้า ๓๒๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๘. ทุติยปาปธัมมสูตร

คนดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑- เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า คนดี คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑- ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็น สัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี
ปฐมปาปธัมมสูตรที่ ๗ จบ
๘. ทุติยปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๒
[๒๐๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่วและคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว จักแสดง คนดีและคนดีที่ยิ่งกว่าคนดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๒- คนชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๓- มีมิจฉาญาณะ(รู้ผิด) มี มิจฉาวิมุตติ(หลุดพ้นผิด) บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่ว คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา- ทิฏฐิ ฯลฯ๓- ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเองเป็น ผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว คนดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๓- มีสัมมาญาณะ มี สัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนดี @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๓ (สัตตกัมมสูตร) หน้า ๓๒๓ และข้อ ๒๐๔ (ทสกัมมสูตร) หน้า ๓๒๔ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๕ (อัฏฐังคิกสูตร) หน้า ๓๒๕ และข้อ ๒๐๖ (ทสมัคคสูตร) หน้า ๓๒๖-๓๒๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๙. ตติยปาปธัมมสูตร

คนดีที่ยิ่งกว่าคนดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมา- ทิฏฐิ ฯลฯ๑- ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเอง เป็นผู้มีสัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า คนดีที่ยิ่งกว่า คนดี
ทุติยปาปธัมมสูตรที่ ๘ จบ
๙. ตติยปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๓
[๒๐๙] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมชั่วและบุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว จักแสดงบุคคลผู้มีธรรมดีและบุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่า บุคคลผู้มีธรรมดีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๒- บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓- เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓- ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มี ธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๓- เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดี @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๕ (อัฏฐังคิกสูตร) หน้า ๓๒๖ และข้อ ๒๐๖ (ทสมัคคสูตร) หน้า ๓๒๗ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๓ (สัตตกัมมสูตร) หน้า ๓๒๓ และข้อ ๒๐๔ (ทสกัมมสูตร) หน้า ๓๒๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๑. สัปปุริสวรรค ๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร

บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่น ให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๑- ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี
ตติยปาปธัมมสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร
ว่าด้วยธรรมชั่วและธรรมดี สูตรที่ ๔
[๒๑๐] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้มีธรรมชั่วและบุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว จักแสดงบุคคลผู้มีธรรมดีและบุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่า บุคคลผู้มีธรรมดี แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ๒- บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ๓- มีมิจฉาญาณะ มีมิจฉา- วิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉา- ทิฏฐิ ฯลฯ๓- ตนเองเป็นผู้มีมิจฉาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาญาณะ ตนเอง เป็นผู้มีมิจฉาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีมิจฉาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มี ธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๓- มีสัมมาญาณะ มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดี @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๓ (สัตตกัมมสูตร) หน้า ๓๒๓ และข้อ ๒๐๔ (ทสกัมมสูตร) หน้า ๓๒๔ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้ @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๕ (อัฏฐังคิกสูตร) หน้า ๓๒๕ และข้อ ๒๐๖ (ทสมัคคสูตร) หน้า ๓๒๖-๓๒๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๒. โสภณวรรค ๑. ปริสาสูตร

บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ๑- ตนเองเป็นผู้มีสัมมาญาณะและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาญาณะ ตนเองเป็นผู้มี สัมมาวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้มีสัมมาวิมุตติ บุคคลนี้เรียกว่า บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่ง กว่าบุคคลผู้มีธรรมดี
จตุตถปาปธัมมสูตรที่ ๑๐ จบ
สัปปุริสวรรคที่ ๑ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สิกขาปทสูตร ๒. อัสสัทธสูตร ๓. สัตตกัมมสูตร ๔. ทสกัมมสูตร ๕. อัฏฐังคิกสูตร ๖. ทสมัคคสูตร ๗. ปฐมปาปธัมมสูตร ๘. ทุติยปาปธัมมสูตร ๙. ตติยปาปธัมมสูตร ๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๒๐-๓๓๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=9557 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=137              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=5845&Z=6072&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=201              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]