ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. สัทธสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งศรัทธา
[๓๘] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ อานิสงส์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบในโลก ๑. เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่อนุเคราะห์ ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ๒. เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธาก่อน ไม่เข้าไปหา ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ๓. เมื่อจะต้อนรับ ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธาก่อน ไม่ต้อนรับผู้ไม่มี ศรัทธาก่อน ๔. เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมแก่ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่แสดง ธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน ๕. กุลบุตรผู้มีศรัทธา หลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็นที่พึ่งของ หมู่นกโดยรอบ ฉันใด กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นที่พึ่งของคน หมู่มาก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. สุมนวรรค ๙. ปุตตสูตร

ต้นไม้ใหญ่ มีกิ่ง ใบ และผล มีลำต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง สมบูรณ์ด้วยผล ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้นซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ ให้เกิดสุข ผู้ต้องการความร่มเย็น ย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา ผู้ต้องการผล ย่อมบริโภคผลได้ ฉันใด ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ เป็นนาบุญของโลก ย่อมคบหาบุคคลผู้มีศรัทธาซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล ประพฤติถ่อมตน ไม่กระด้าง๑- สุภาพ น่าชื่นชม อ่อนโยน มั่นคง ฉันนั้น ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
สัทธสูตรที่ ๘ จบ
๙. ปุตตสูตร
ว่าด้วยบุตร
[๓๙] ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา เมื่อเห็นฐานะ ๕ ประการนี้ จึงปรารถนา บุตรผู้เกิดในตระกูล ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา ๒. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา @เชิงอรรถ : @ ไม่กระด้าง หมายถึงปราศจากความกระด้าง คือ โกธะ (ความโกรธ) และมานะ (ความถือตัว) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๓๘/๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๙-๖๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=1705 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=38              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=930&Z=954&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=38              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]