ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๒. โทณพราหมณสูตร
ว่าด้วยโทณพราหมณ์
[๑๙๒] ครั้งนั้นแล โทณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า ‘พระสมณโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า ผู้เป็นใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาแล้วตาม ลำดับด้วยอาสนะ พระโคดมผู้เจริญ ข้อนี้เห็นจะเป็นอย่างนั้น เพราะท่านพระโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา แล้วตามลำดับด้วยอาสนะ ข้อนี้ไม่ดีเลย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๑๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ แม้ท่านก็ปฏิญญาว่า เป็นพราหมณ์มิใช่หรือ” โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ผู้ใดเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์ ผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ๑- ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท๒- พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์๓- เกฏุภศาสตร์๔- อักษรศาสตร์๕- และประวัติศาสตร์๖- เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายต- ศาสตร์๗- และลักษณะมหาบุรุษ๘- ผู้นั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงหมายถึงข้าพระองค์ ทีเดียว เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่าย บิดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะ @เชิงอรรถ : @ ดู เชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๓๔ (ยัสสังทิสังสูตร) หน้า ๒๑๖ ในเล่มนี้ @ ไตรเพท หมายถึงคัมภีร์ คือ ฤคเวท (อิรุเวท) ยชุรเวท และสามเวท (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) @ นิฆัณฑุศาสตร์ หมายถึงวิชาว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่งหมายถึง @คัมภีร์ประเภทศัพทมูลวิทยา (Etymology) คลังศัพท์ (Lexicon) หรืออภิธานศัพท์ (Glossary) ที่รวบรวม @คำศัพท์ในพระเวทซึ่งเป็นคำยาก หรือคำที่เลิกใช้แล้ว นำมาอธิบายความหมายเป็นส่วนหนึ่งของนิรุตติซึ่ง @เป็นหนึ่งในเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า นิฆัณฏุ @ เกฏุภศาสตร์ หมายถึงตำราว่าด้วยวิชาการกวี การแต่งฉันท์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๕๙/๑๖๓) อีกนัยหนึ่ง หมายถึง @คัมภีร์ว่าด้วยกฎเกณฑ์การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของกัลปะ @ซึ่งเป็น ๑ ในบรรดาเวทางคศาสตร์ ๖ ของศาสนาพราหมณ์ ภาษาสันสกฤต เรียกว่า ไกฏภ @ อักษรศาสตร์ หมายถึงคัมภีร์ว่าด้วยสิกขา (การเปล่งเสียง, การออกเสียง) และนิรุตติ (การอธิบายคำศัพท์ @โดยอาศัยประวัติและกำเนิดของคำ) @ ประวัติศาสตร์ หมายถึงพงศาวดารเล่าเรื่องเก่าๆ มักจะมีคำว่า สิ่งนี้เป็นมาอย่างนี้ (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒ @และดู Dawson, John. A classical Dictionary of Hindu Mythology (London: Routledge and Kegen @Paul. 1957) P.222 @ โลกายตศาสตร์ ในที่นี้หมายถึงวิตัณฑวาทศาสตร์ คือ ศิลปะแห่งการเอาชนะผู้อื่นในเชิงวาทศิลป์ โดยการ @อ้างทฤษฎี และประเพณีทางสังคมมาหักล้างสัจธรรม มุ่งแสดงให้เห็นว่าตนฉลาดกว่า มิได้มุ่งสัจธรรมแต่ @อย่างใด (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๒) @ ลักษณะมหาบุรุษ หมายถึงศาสตร์ว่าด้วยลักษณะของบุคคลสำคัญมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น อันมีอยู่ใน @คัมภีร์พราหมณ์ซึ่งเรียกว่า มนตร์ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยผู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่าพุทธมนตร์มีอยู่ ๑๖,๐๐๐ @คาถา (ที.สี.อ. ๒๕๖/๒๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๑๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

อ้างถึงชาติตระกูล เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมนตร์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งนิฆัณฑุ- ศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์ และลักษณะมหาบุรุษ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษีวามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ที่ ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้ ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ ๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา ๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี ๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว ๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล โทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน ใน ๕ จำพวกนั้น” โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่รู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ รู้แต่ว่าเป็นพราหมณ์เท่านั้น ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมแก่ ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โทณะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าว” โทณพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๑๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์๑- เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม(การค้าขาย) ไม่แสวงหาด้วยโครักขกรรม(การเลี้ยงโค) ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหา ด้วยการรับราชการ ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยว ขอทานอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว โกนผมและ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วอย่างนี้ มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศเบื้องบน๒- ทิศเบื้องล่าง๓- ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็น มหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีกรุณาจิต ฯลฯ มีมุทิตาจิต ฯลฯ มีอุเบกขาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ทิศ เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วย อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เธอเจริญพรหมวิหาร ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติพรหมโลก พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม เป็นอย่างนี้แล (๑) พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม @เชิงอรรถ : @ โกมารพรหมจรรย์ หมายถึงพรหมจรรย์ที่ประพฤติสืบต่อมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๑๙๒/๗๑) @ ทิศเบื้องบน หมายถึงเทวโลก (วิสุทฺธิ. มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) @ ทิศเบื้องล่าง หมายถึงสัตว์นรก และนาค (วิสุทฺธิ.มหาฏีกา ๑/๒๕๔/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๑๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม ไม่ แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์ สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกา ชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึง ไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่ เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ พราหมณ์ เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว จึงปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ก็สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ เธอเจริญฌานทั้ง ๔ ประการนี้แล หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา เป็นอย่างนี้แล (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ และไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรม เท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร คือ เขาไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ไม่แสวงหาด้วยการขาย แต่แสวงหาเฉพาะ พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาสมสู่เฉพาะพราหมณี ไม่สมสู่กับสตรีชั้น กษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล นายพราน ช่างสาน ช่างรถ คนขนขยะ สตรีมีครรภ์ สตรีมีลูกอ่อน สตรีหมดระดู เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีครรภ์ มาณพหรือมาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้เกิดแต่กอง อุจจาระ ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่ สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน เพราะถ้าพราหมณ์สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน มาณพหรือ มาณวิกาชื่อว่าเป็นผู้ดื่มของไม่สะอาด ฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่กับสตรีมีลูกอ่อน พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่เพราะต้องการความใคร่ มิใช่ เพราะต้องการความสนุก มิใช่เพราะต้องการความยินดี แต่เป็นพราหมณีของ พราหมณ์นั้น เพราะต้องการบุตรเท่านั้น พราหมณ์นั้นมีบุตรหรือธิดาแล้ว ปรารถนา ความยินดีในบุตรหรือธิดานั้นแล ครอบครองทรัพย์สมบัติ ไม่ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ไม่ล่วงละเมิดความ ประพฤติดีนั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี เป็นอย่างนี้แล (๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ตลอด ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับ บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมเท่านั้น ไม่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ความชอบธรรมในการแสวงหานั้น เป็นอย่างไร คือ เขาไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม ไม่แสวงหาด้วยพาณิชยกรรม ไม่แสวงหา ด้วยโครักขกรรม ไม่แสวงหาด้วยการเป็นนักรบ ไม่แสวงหาด้วยการรับราชการ ไม่แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหา พราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพรานบ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมด ระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตร บ้าง พราหมณ์ไม่ดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ล่วงละเมิด ความประพฤตินั้น เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้มีความประพฤติ ทั้งดีและชั่ว พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว เป็นอย่างนี้แล (๔) พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างไร คือ พราหมณ์ในโลกนี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ถือปฏิสนธิ บริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนตร์อยู่ ๔๘ ปี แสวงหาทรัพย์สำหรับบูชา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยกสิกรรมบ้าง แสวงหาด้วยพาณิชยกรรมบ้าง แสวงหาด้วยโครักขกรรมบ้าง แสวงหาด้วยการเป็น นักรบบ้าง แสวงหาด้วยการรับราชการบ้าง แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารบ้าง เขามอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหาพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่ กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพราน บ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมดระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะ ต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตรบ้าง เขาเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง พวกพราหมณ์ได้กล่าวกับ เขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้เจริญ เพราะเหตุไร จึงเลี้ยงชีพด้วย การงานทุกอย่าง’ เขาตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เปรียบเสมือนไฟไหม้ของสะอาด บ้าง ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์เลี้ยงชีพด้วย การงานทุกอย่างก็จริง แต่พราหมณ์ก็ไม่ยึดติดกับการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง’ เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างนี้แล (๕) โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษี วามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ใน ปัจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวม ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติ พราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ ๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา ๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว ๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล โทณะ บรรดาพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน” โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่พราหมณ์ ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
โทณพราหมณสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๑๖-๓๒๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=8921 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=192              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=5215&Z=5376&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=192              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]