ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
๔. วิตถตพลสูตร๒-
ว่าด้วยพละโดยพิสดาร
[๔] ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ พละ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ ๓. หิริพละ ๔. โอตตัปปพละ ๕. สติพละ ๖. สมาธิพละ ๗. ปัญญาพละ สัทธาพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง @เชิงอรรถ : @ เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย หมายถึงพิจารณาเห็นธรรมคืออริยสัจ ๔ @เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา หมายถึงเห็นแจ้งสัจธรรมด้วยปัญญาในอริยมรรค (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑-๕/๑๕๙) @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๑/๒๒๒, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๑๖, องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒/๒-๕, ๑๔/๑๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๔. วิตถตพลสูตร

โดยชอบ ฯลฯ๑- เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า๒- เป็นพระ ผู้มีพระภาค‘๓- นี้เรียกว่า สัทธาพละ วิริยพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ปรารภความเพียร๔- เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อ ให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง๕- มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ นี้เรียกว่า วิริยพละ หิริพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริพละ โอตตัปปพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า โอตตัปปพละ @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๒๙ (หน้า ๒๗๖ ในเล่มนี้ @ ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดด้วยพระองค์เอง และทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม @ ชื่อว่า พระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วยภคธรรม @๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ @และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคายตัณหาในภพทั้งสาม @(๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น @(ตามนัย วิ.อ. ๑/๑/๑๐๓-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๗๐, วิสุทฺธิ. ๑/๑๒๔-๑๔๕/๒๑๕-๒๓๒) @ ปรารภความเพียรในที่นี้หมายถึงทำความเพียรทางกายและทางใจไม่ย่อหย่อน (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐, @องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) @ มีความเข้มแข็ง ในที่นี้หมายถึงมีกำลังความเพียร (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๔. วิตถตพลสูตร

สติพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่อง รักษาตน๑- อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สติพละ สมาธิพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ๒- บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า สมาธิพละ ปัญญาพละ เป็นอย่างไร คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ๓- ชำแรกกิเลสให้ถึงความ สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ ภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตมีพละ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ ย่อมอยู่อย่างเป็นสุข @เชิงอรรถ : @ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน (เนปกฺก) เป็นชื่อของปัญญาที่เป็นอุปการะแก่สติ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๔/๔) @ ดูความเต็มในสัตตกนิบาต ข้อ ๕๓ (นันทมาตาสูตร) หน้า ๙๕ ในเล่มนี้ @ ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ แยกอธิบายดังนี้ คือ @ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา และมัคคปัญญา @ความเกิดและความดับ ในที่นี้หมายถึงความเกิดและความดับแห่งเบญจขันธ์ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา @สังขาร และวิญญาณ @อันเป็นอริยะ ในที่นี้หมายถึงบริสุทธิ์อยู่ห่างไกลจากกิเลสทั้งหลายด้วยวิกขัมภนปหานะ (การละด้วยการ @ข่มไว้) และด้วยสมุจเฉทปหานะ (การละด้วยการตัดขาด) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒/๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๕. สังขิตตธนสูตร

เลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย เห็นแจ้งอรรถด้วยปัญญา ความหลุดพ้นแห่งใจย่อมมีได้ เหมือนความดับไปแห่งประทีป ฉะนั้น
วิตถตพลสูตรที่ ๔ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๕-๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=99 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=54&Z=87&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]