ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๘. อนัตตานุปัสสีสูตร

๗. ทุกขานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
[๑๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ๑- เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ มีสัญญา ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าเป็นทุกข์ในสังขารทั้งปวงอยู่ ฯลฯ
ทุกขานุปัสสีสูตรที่ ๗ จบ
๘. อนัตตานุปัสสีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา
[๑๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา มีสัญญา ว่าเป็นอนัตตา รู้ว่าเป็นอนัตตาในสังขารทั้งปวงอยู่ ฯลฯ
อนัตตานุปัสสีสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ เครื่องหมาย “ฯลฯ” ที่ปรากฏในข้อ ๑๗-๑๘ ดูความเต็มในข้อ ๑๖ (อนิจจานุปัสสีสูตร) หน้า ๒๔-๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๙. นิพพานสูตร

๙. นิพพานสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุขในนิพพาน
[๑๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก บุคคล ๗ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มี อาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ใน ปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้ควรแก่ของที่ เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เขามีปัญญาหยั่งรู้ความสิ้นอาสวะ และความ สิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๒ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขา จึงเป็นอันตราปรินิพพายี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๓ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี ฯลฯ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี ฯลฯ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี๑- ฯลฯ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นความเป็นสุข มีสัญญาว่า เป็นสุข รู้ว่าเป็นสุขในนิพพานอยู่ ตั้งใจมั่นเนืองๆ สม่ำเสมอ ไม่ขาด ระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป เขาจึง @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ หน้า ๒๕ และเชิงอรรถที่ ๑-๔ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๒. อนุสยวรรค ๑๐. นิททสวัตถุสูตร

เป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นบุคคลจำพวกที่ ๗ ผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
นิพพานสูตรที่ ๙ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๗-๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=681 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=23&siri=17              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=317&Z=367&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=17              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]