ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๕. ปรมัฏฐกสูตร

๕. ปรมัฏฐกสูตร๑-
ว่าด้วยผู้ยึดถือทิฏฐิของตนว่ายอดเยี่ยม
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้) [๘๐๓] สัตว์เกิดผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่างนอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้นจึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้ [๘๐๔] เจ้าลัทธิเห็นอานิสงส์ใดในตน ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน ในศีลและวัตร หรือในอารมณ์ที่รับรู้ เจ้าลัทธินั้นยึดมั่นทิฏฐินั้นในลัทธิของตนนั้น เห็นทิฏฐิอื่นทั้งปวงโดยความเป็นของเลว [๘๐๕] บุคคลอาศัยศาสดาใด เห็นศาสดาอื่นว่า เลว ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกศาสดานั้นว่า เป็นเครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้นแล ภิกษุจึงไม่ควรอาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่รับรู้ หรือศีลและวัตร [๘๐๖] ภิกษุไม่พึงกำหนดทิฏฐิในโลกด้วยญาณ หรือแม้ด้วยศีลและวัตร ไม่พึงเอาตนเข้าไปเทียบว่าเสมอเขา ไม่พึงสำคัญตนว่าด้อยกว่าเขา หรือเลิศกว่าเขา [๘๐๗] ภิกษุนั้นละอัตตาแล้ว ไม่ยึดถือ ไม่สร้างนิสัยแม้ด้วยญาณ เมื่อชนทั้งหลายแตกกัน ภิกษุนั้นก็ไม่เข้าเป็นฝักเป็นฝ่าย ภิกษุนั้นไม่ถือแม้ทิฏฐิอะไรๆ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓๑-๓๘/๑๒๓-๑๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๔. อัฏฐกวรรค]

๖. ชราสูตร

[๘๐๘] พระอรหันต์ใดผู้ไม่มีความคะนึงหาในส่วนสุดทั้ง ๒ ด้าน ในโลกนี้ ในภพน้อยภพใหญ่ ในโลกนี้หรือในโลกหน้า พระอรหันต์นั้นจึงไม่มีเครื่องอยู่อะไรๆ ความตกลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นก็ไม่มี [๘๐๙] พระอรหันต์นั้นไม่มีทิฏฐิอันสัญญากำหนดไว้แม้นิดเดียว ในรูปที่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน หรือในอารมณ์ที่รับรู้ในโลกนี้ ใครๆ ในโลกนี้ จะพึงกำหนดพระอรหันต์นั้น ผู้เป็นพราหมณ์ไม่ยึดถือทิฏฐิอยู่ด้วยเหตุอะไรเล่า [๘๑๐] พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด ไม่เชิดชู(ตัณหาและทิฏฐิ)ไว้ แม้ธรรมทั้งหลาย๑- พระอรหันต์เหล่านั้นก็ไม่ปรารถนา พระอรหันต์ผู้เป็นพราหมณ์นั้น ใครๆ ก็นำไปด้วยศีลและวัตรไม่ได้ เป็นผู้ถึงฝั่ง๒- ไม่กลับมา เป็นผู้คงที่
ปรมัฏฐกสูตรที่ ๕ จบ
๖. ชราสูตร๓-
ว่าด้วยชรา
(พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พุทธบริษัทชาวเมืองสาเกตดังนี้) [๘๑๑] ชีวิตนี้น้อยนัก มนุษย์ย่อมตายภายใน ๑๐๐ ปี แม้หากผู้ใดจะมีชีวิตอยู่เกินไปกว่านั้น ผู้นั้นก็จะตายเพราะชราแน่แท้ @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ (ขุ.สุ.อ. ๒/๘๑๐/๓๖๗) @ ฝั่ง หมายถึงอมตนิพพาน ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงเป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง เป็นต้น @(ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓๘/๑๓๘) @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๓๙-๔๘/๑๔๒-๑๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๙๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๖๙๔-๖๙๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=18703 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=270              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=10077&Z=10110&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=412              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]