ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๕. พราหมณสูตร
ว่าด้วยความเป็นพราหมณ์
[๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระมหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระ มหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ และท่านพระ นันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านเหล่านั้นกำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา” เมื่อพระ @เชิงอรรถ : @ เรียนจบเวท หมายถึงบรรลุนิพพานด้วยเวทกล่าวคือมัคคญาณทั้ง ๔ (โสดาปัตติมัคคญาณ @สกทาคามิมัคคญาณ อนาคามิมัคคญาณ อรหัตตมัคคญาณ) (ขุ.อุ.อ. ๔/๕๗) @ กิเลสเครื่องฟูขึ้น หมายถึงราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ (ขุ.อุ.อ. ๔/๕๗) @ พรหมวาทะ ในที่นี้หมายถึงวาทะว่า “เราเป็นพราหมณ์” (ขุ.อุ.อ. ๔/๕๗) @ ดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๔/๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน [๑. โพธิวรรค]

๖. มหากัสสปสูตร

ผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยเหตุ เพียงไรหนอ และธรรมเหล่าไหนที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ พระพุทธเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน๑-
บุคคลเหล่าใดลอยบาปธรรมได้แล้ว เป็นผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ มีสังโยชน์สิ้นแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้ บุคคลเหล่านั้นแล ชื่อว่า ‘พราหมณ์’ ในโลก
พราหมณสูตรที่ ๕ จบ
๖. มหากัสสปสูตร
ว่าด้วยพระมหากัสสปะ
[๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน๒- เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปะอยู่ที่ถ้ำปิปผลิคูหา อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะหายจากอาพาธนั้นแล้วมีความคิดดังนี้ว่า “เอาละ เราควรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์” สมัยนั้นแล เทวดาประมาณ ๕๐๐ องค์ ถึงความขวนขวายเพื่อให้ท่านพระ มหากัสสปะได้บิณฑบาต ท่านพระมหากัสสปะห้ามเทวดาประมาณ ๕๐๐ องค์นั้นแล้ว ในเวลาเช้าครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ตามทาง ที่อยู่ของคนจน ที่อยู่ของคนกำพร้า และที่อยู่ของช่างหูก @เชิงอรรถ : @ พุทธอุทานนี้ ทรงเปล่งมุ่งประกาศความเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ (ขุ.อุ.อ. ๕/๖๐) @ หมายถึงสถานที่สำหรับพระราชทานเหยื่อแก่กระแต (ม.มู.อ. ๒/๒๕๒/๔๑-๔๒, ขุ.อุ.อ. ๕/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๗๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๕ หน้าที่ ๑๗๗-๑๗๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=25&A=4568 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=25&siri=40              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1512&Z=1530&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=42              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_25 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu25 https://84000.org/tipitaka/english/?index_25


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]