ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย มหานิทเทส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส๑-
อธิบายอัตตทัณฑสูตร
ว่าด้วยความกลัวเกิดจากโทษของตน
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายอัตตทัณฑสูตร ดังต่อไปนี้ [๑๗๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ความกลัวเกิดจากโทษของตน เธอทั้งหลายจงมองดูคนที่มุ่งร้ายกัน เราจักกล่าวความสังเวชตามที่เราเคยสังเวชมาแล้ว คำว่า โทษ ในคำว่า ความกลัวเกิดจากโทษของตน ได้แก่ โทษ ๓ อย่าง คือ ๑. โทษทางกาย ๒. โทษทางวาจา ๓. โทษทางใจ กายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโทษทางกาย วจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโทษทางวาจา มโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโทษทางใจ คำว่า ความกลัว ได้แก่ ความกลัว ๒ อย่าง คือ (๑) ความกลัวในปัจจุบัน (๒) ความกลัวในสัมปรายิกภพ ความกลัวในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมย ยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง พวกราชบุรุษจับบุคคลนั้นได้ จึงทูลแสดงแด่พระราชาว่า “ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร ประพฤติชั่ว ขอจงทรงลงอาญาตามที่ทรงพระราชประสงค์แก่บุคคล นี้เถิด” พระราชาย่อมทรงบริภาษบุคคลนั้น เพราะการบริภาษเป็นปัจจัย เขาย่อม เกิดความกลัวแล้วเสวยทุกข์และโทมนัสบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดจากอะไร ความกลัว เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๙๔๒-๙๖๑/๕๑๘-๕๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านั้น ทรงให้จองจำบุคคลนั้นด้วยเครื่อง จองจำคือขื่อคาบ้าง เครื่องจองจำคือเชือกบ้าง เครื่องจองจำคือโซ่ตรวนบ้าง เครื่องจองจำคือหวายบ้าง เครื่องจองจำคือเถาวัลย์บ้าง เครื่องจองจำคือคุกบ้าง เครื่องจองจำคือเรือนจำบ้าง เครื่องจองจำคือหมู่บ้านบ้าง เครื่องจองจำคือนิคมบ้าง เครื่องจองจำคือเมืองบ้าง เครื่องจองจำคือรัฐบ้าง เครื่องจองจำคือชนบทบ้าง โดย ที่สุด ทรงมีพระราชโองการว่า “พวกมันออกไปจากที่นี่ไม่ได้” บุคคลนั้นย่อมเสวย ทุกข์และโทมนัส เพราะถูกจองจำเป็นปัจจัยบ้าง ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของ เขานี้ เกิดจากอะไร ความกลัว เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏ จากโทษของตน พระราชาไม่ทรงพอพระทัยแม้เพียงเท่านี้ ทรงให้ปรับทรัพย์ของเขา ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง ๑๐๐,๐๐๐ บ้าง บุคคลนั้นก็เสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการหมด เปลืองทรัพย์เป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัว เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน พระราชาไม่ทรงพอพระทัยเพียงเท่านี้ ทรงรับสั่งให้จับเขาลงอาญาด้วยประการ ต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหู และจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือน สังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้ว จุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดิน เหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้า คากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าแล้วเสียบหลาวทั้งห้าทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์ บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกัน บ้าง เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนัง ออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

บ้าง บุคคลนั้นย่อมเสวยทุกข์และโทมนัส เพราะการลงโทษเป็นปัจจัย ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัว เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน พระราชาทรงเป็นใหญ่ในโทษ ๔ ชนิดเหล่านี้ หลังจากตายแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรม ของตน พวกนายนิรยบาล ก็ลงโทษ มีการจองจำ ๕ อย่าง คือ (จับเขานอนหงายแล้ว) (๑) เอาหลาวเหล็กตรึงที่มือขวา (๒) ตรึงที่มือซ้าย (๓) ตรึงที่เท้าขวา (๔) ตรึงที่เท้าซ้าย (๕) ตรึงที่กลางอก เขาเสวยทุกขเวทนาอย่างเผ็ดร้อนในนรกนั้น แต่ยังไม่ตายตราบ เท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมา จากอะไร ความกลัว เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน พวกนายนิรยบาลให้เขานอนลงแล้วถากด้วยผึ่ง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่าง หนักเผ็ดร้อน แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป พวกนาย นิรยบาลจับเขาเอาเท้าขึ้น เอาศีรษะลง เอามีดเฉือน จับเขาเทียมรถแล่นกลับไป กลับมาบนพื้นอันร้อนลุกเป็นเปลว โชติช่วง... บังคับเขาขึ้นลงภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่ไฟลุกโชน โชติช่วงบ้าง... จับเขาเอาเท้าขึ้นเอาศีรษะทุ่มลงในโลหกุมภีอันร้อนแดง ลุกเป็นแสงไฟ เขาถูกต้มเดือดจนตัวพองในโลหกุมภีนั้น บางคราวลอยขึ้น บางครั้ง จมลง บางครั้งลอยขวาง เขาเสวยทุกขเวทนากล้าอย่างหนักเผ็ดร้อนในโลหกุมภีอัน ร้อนแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่หมดสิ้นไป ความกลัว ทุกข์ และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัว เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน พวกนายนิรยบาลจึงทุ่มเขาลงในมหานรก ก็มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มหานรกนั้น มีพื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ ๑๐๐ โยชน์ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ๑- มหานรกอันน่าสยดสยอง แผดเผาสัตว์ให้มีทุกข์ ร้ายแรง มีเปลวไฟ เข้าใกล้ได้ยาก น่าขนลุก น่าพรั่นพรึง น่ากลัว น่าเป็นทุกข์ @เชิงอรรถ : @ ม.อุ. ๑๔/๒๕๐/๒๑๗-๒๑๘, ๒๖๗/๒๓๖, องฺ.ติก. ๒๐/๓๖/๑๓๖, อภิ.ก. ๓๗/๘๖๘/๔๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันออก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันตก มีกองไฟลุกขึ้นจากผนังด้านตะวันตก แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านตะวันออก มีกองไฟลุกขึ้นจากด้านเหนือ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านใต้ มีกองไฟลุกขึ้นจากด้านใต้ แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม ไปจรดผนังด้านเหนือ กองไฟที่น่าสะพึงกลัว ผุดขึ้นมาจากเบื้องล่าง แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลุกท่วม) ติดหลังคา กองไฟน่าสะพึงกลัว ลุกขึ้นมาจากหลังคา แผดเผาสัตว์ผู้มีบาปกรรม (ลามลง) กระทบถึงพื้น อเวจีมหานรก ทั้งข้างล่างข้างบน ด้านข้าง ก็เหมือนกับแผ่นเหล็กที่ถูกไฟเผาลน เร่าร้อนโชติช่วงอยู่เสมอ สัตว์ทั้งหลายที่หยาบช้ามาก ทำกรรมร้ายแรงมากเสมอ เป็นผู้มีบาปกรรมโดยส่วนเดียว มอดไหม้อยู่ในอเวจีมหานรกนั้น แต่ก็ยังไม่ตาย ร่างกายของสัตว์ที่อยู่ในนรกเหล่านั้น เหมือนกับไฟที่ไหม้อยู่ ขอเธอจงดูความมั่นคงของกรรมเถิด ไม่มีเถ้าและเขม่าเลย สัตว์นรกทั้งหลายวิ่งไปทางตะวันออก จากตะวันออกนั้น ก็วิ่งไปทางตะวันตก วิ่งไปทางเหนือ จากทางเหนือนั้น ก็วิ่งไปทางด้านใต้ วิ่งไปยังทิศใดๆ ประตูนั้นๆ ก็ปิดเสีย สัตว์เหล่านั้น มีความหวังจะออกไป จึงเที่ยวแสวงหา ทางออกอยู่เสมอ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถจะออกไปจากมหานรกนั้น เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะสัตว์เหล่านั้นทำกรรมชั่วร้ายไว้มาก ยังให้ผลไม่หมดสิ้น๑- ความกลัว ทุกข์และโทมนัสของเขานี้ เกิดมาจากอะไร ความกลัว เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน ทุกข์ของสัตว์นรกก็ดี ทุกข์ของ สัตว์ที่เกิดในกำเนิดเดรัจฉานก็ดี ทุกข์ของสัตว์ที่เกิดในเปตวิสัยก็ดี ทุกข์ของมนุษย์ก็ดี เกิดมาจากอะไร คือ เกิดขึ้นมาจากไหน บังเกิดมาจากไหน บังเกิดขึ้นมาจากไหน ปรากฏมาจากไหน ทุกข์เหล่านั้น เกิด คือ เกิดขึ้น บังเกิด บังเกิดขึ้น ปรากฏจากโทษของตน รวมความว่า ความกลัวเกิดจากโทษของตน คำว่า คน ในคำว่า เธอทั้งหลายจงมองดูคนที่มุ่งร้ายกัน ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดาและมนุษย์ อธิบายว่า เธอทั้งหลาย จงมองดู คือ จงแลดู ตรวจดู เพ่งพินิจ พิจารณาดูคนที่มุ่งร้ายกัน คือ คนที่ทะเลาะกัน คนที่ทำร้ายกัน คนที่ทำร้ายตอบกัน คนที่ขุ่นเคืองกัน คนที่ขุ่นเคืองตอบกัน คนที่ อาฆาตกัน คนที่อาฆาตตอบกัน รวมความว่า เธอทั้งหลายจงมองดูคนที่มุ่งร้ายกัน คำว่า เราจักกล่าวความสังเวช อธิบายว่า ความสังเวช คือ ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ความกลัว ความบีบคั้น ความกระทบ ความเบียดเบียน ความ ขัดข้อง คำว่า จักกล่าว ได้แก่ จักกล่าว คือ จักบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า เราจักกล่าวความสังเวช คำว่า ตามที่เราเคยสังเวชมาแล้ว อธิบายว่า ตามที่เราสังเวช คือ สะดุ้ง ถึงความสังเวชมาแล้ว ด้วยตนเองแล รวมความว่า ตามที่เราเคยสังเวชมาแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า @เชิงอรรถ : @ ขุ.จู. ๓๐/๑๒๒/๒๔๗-๒๔๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ความกลัวเกิดจากโทษของตน เธอทั้งหลายจงมองดูคนที่มุ่งร้ายกัน เราจักกล่าวความสังเวชตามที่เราเคยสังเวชมาแล้ว [๑๗๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เพราะเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ เหมือนฝูงปลาในบ่อที่มีน้ำน้อย เพราะเห็นสัตว์ที่ทำร้ายกันและกัน ภัยจึงปรากฏแก่เรา
ว่าด้วยทุกข์ต่างๆ
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ เป็นคำตรัสเรียกสัตว์ อธิบายว่า หมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ คือ กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่าย ด้วยความดิ้นรนเพราะตัณหา ดิ้นรนเพราะทิฏฐิ ดิ้นรนเพราะกิเลส ดิ้นรนเพราะทุจริต ดิ้นรนเพราะการประกอบ ดิ้นรนเพราะวิบาก คือ ผู้กำหนัดก็ดิ้นรนตามอำนาจราคะ ผู้ขัดเคืองก็ดิ้นรนตามอำนาจโทสะ ผู้หลงก็ดิ้นรนตามอำนาจโมหะ ผู้ยึดติดก็ดิ้นรนตามอำนาจมานะ ผู้ยึดถือก็ดิ้นรนตามอำนาจทิฏฐิ ผู้ฟุ้งซ่านก็ดิ้นรนตามอำนาจอุทธัจจะ ผู้ลังเลก็ดิ้นรนตามอำนาจวิจิกิจฉา ผู้ตกอยู่ในพลังกิเลสก็ดิ้นรนตามอำนาจอนุสัย ดิ้นรนเพราะลาภ เพราะเสื่อมลาภ เพราะยศ เพราะเสื่อมยศ เพราะสรรเสริญ เพราะนินทา เพราะสุข เพราะทุกข์ ดิ้นรนเพราะชาติ เพราะชรา เพราะพยาธิ เพราะมรณะ เพราะโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ดิ้นรนเพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดใน กำเนิดเดรัจฉาน เพราะทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย เพราะทุกข์เนื่องจากการ เกิดในโลกมนุษย์ เพราะทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจาก การอยู่ในครรภ์ เพราะทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรภ์ เพราะทุกข์ที่สืบเนื่องจาก ผู้เกิด เพราะทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องจากผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของ ตนเอง เพราะทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของผู้อื่น เพราะทุกข์ที่เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เพราะทุกข์ที่เกิดจากสังขาร เพราะทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางตา เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางหู เพราะ ทุกข์ที่เกิดจากโรคทางจมูก เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคทางลิ้น เพราะทุกข์ที่เกิดจาก โรคทางกาย เพราะทุกข์ที่เกิดจากโรคศีรษะ... โรคหู... โรคปาก...โรคฟัน... โรคไอ... โรคหืด... ไข้หวัด... ไข้พิษ... ไข้เชื่อมซึม... โรคท้อง... เป็นลมสลบ... ลงแดง... จุกเสียด... อหิวาตกโรค... โรคเรื้อน... ฝี... กลาก... มองคร่อ... ลมบ้าหมู... หิดเปื่อย... หิดด้าน... หิด... หูด... โรคละลอก... โรคดีซ่าน ... โรคเบาหวาน... โรคเริม... โรคพุพอง... โรคริดสีดวงทวาร... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี... ความเจ็บป่วยที่เกิด จากเสมหะ... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม...ไข้สันนิบาต... ความเจ็บป่วยที่เกิด จากการเปลี่ยนฤดูกาล... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ ส่วนกัน... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง... ความเจ็บป่วยที่เกิด จากผลกรรม... ความหนาว... ความร้อน... ความหิว... ความกระหาย... ปวด อุจจาระ... ปวดปัสสาวะ ... ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน ทุกข์เพราะมารดาตาย... ทุกข์เพราะบิดาตาย... ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย... ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย... ทุกข์เพราะบุตรตาย... ทุกข์เพราะธิดาตาย... ความ พินาศของญาติ... โภคทรัพย์พินาศ... ความเสียหายที่เกิดจากโรค... สีลวิบัติ... ทิฏฐิวิบัติ คำว่า เพราะเห็น ได้แก่ เพราะเห็น คือ เพราะมองเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง รวมความว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ คำว่า เหมือนฝูงปลาในบ่อที่มีน้ำน้อย อธิบายว่า หมู่สัตว์ดิ้นรน คือ กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่าย ด้วยความดิ้นรนเพราะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ตัณหา ฯลฯ ทิฏฐิวิบัติ เหมือนฝูงปลาอยู่ในน้ำน้อย คือ มีน้ำนิดหน่อย น้ำ แห้งไปถูกกา นกตระกรุม หรือนกยางโฉบลากขึ้นมาแทะกิน ก็ดิ้นรน คือ กระเสือก กระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น รวมความว่า เหมือนฝูงปลาในบ่อที่มีน้ำน้อย คำว่า สัตว์ที่ทำร้ายกันและกัน อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายทำร้าย ทำร้ายตอบ เคือง เคืองตอบ ปองร้าย ปองร้ายตอบกันและกัน คือ พระราชาทรงวิวาทกับ พระราชาก็ได้ กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ได้ พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ได้ คหบดี วิวาทกับคหบดีก็ได้ มารดาวิวาทกับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับมารดาก็ได้ บิดาวิวาท กับบุตรก็ได้ บุตรวิวาทกับบิดาก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ พี่สาว น้องสาววิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่ชายน้องชายวิวาทกับพี่สาวน้องสาวก็ได้ พี่สาวน้องสาววิวาทกับพี่ชายน้องชายก็ได้ สหายวิวาทกับสหายก็ได้ ชนเหล่านั้นถึง การทะเลาะ แก่งแย่ง และวิวาทกัน ในการทำร้ายกันและกันนั้น ก็ทำร้ายกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง เพราะ ทำร้ายกันนั้น ชนเหล่านั้นก็เข้าถึงความตายบ้าง ทุกข์ปางตายบ้าง รวมความว่า สัตว์ที่ทำร้ายกันและกัน คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า เพราะเห็น... ภัยจึงปรากฏแก่เรา อธิบายว่า เพราะเห็น คือ เพราะมองเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง ภัย คือ ความบีบคั้น ความกระทบกระทั่ง อันตราย อุปสรรค จึงปรากฏ รวมความว่า เพราะเห็น...ภัยจึงปรากฏแก่เรา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะเห็นหมู่สัตว์ผู้ดิ้นรนอยู่ เหมือนฝูงปลาในบ่อที่มีน้ำน้อย เพราะเห็นสัตว์ที่ทำร้ายกันและกัน ภัยจึงปรากฏแก่เรา [๑๗๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยโลก
คำว่า โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร อธิบายว่า โลกนรก โลกในกำเนิดเดรัจฉาน โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า พรหมโลก เทวโลก นี้ตรัสเรียกว่า โลก โลกนรกไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่น สารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดย ความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา โลกในกำเนิดเดรัจฉาน... โลกในเปตวิสัย... มนุษยโลก... เทวโลก... ขันธโลก... ธาตุโลก... อายตนโลก... โลกนี้... โลกหน้า... พรหมโลก... เทวโลก... ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน ไปเป็นธรรมดา โลกในกำเนิดเดรัจฉาน ... โลกในเปตวิสัย ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก .... ธาตุโลก ... อายตนโลก ... โลกนี้ ... โลกหน้า ... พรหมโลก ... เทวโลก ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน ไปเป็นธรรมดา ไม้อ้อไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ละหุ่ง ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้มะเดื่อ... ไม้ทองหลาง... ต้นหงอนไก่... ฟองน้ำ... ต่อมน้ำ... พยับแดด... ต้นกล้วย... เงา ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ฉันใด โลกนรก ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

โลกในกำเนิดเดรัจฉาน... โลกในเปตวิสัย... มนุษยโลก... เทวโลก ไม่มีแก่นสาร คือ ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสาร ที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็น ของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา รวมความว่า โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร
ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง
คำว่า สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว อธิบายว่า สังขารทางทิศตะวันออก คลอนแคลน หวั่นไหว คือ สะเทือน สะท้าน เพราะเป็นธรรมชาติไม่เที่ยง จึงถูกชาติ ติดตาม ถูกชราแผ่คลุม ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่ ต้านทาน ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่พึ่ง เป็นสิ่งหาที่พึ่งไม่ได้ สังขารทางทิศตะวันตก... สังขารทางทิศเหนือ... สังขารทางทิศใต้... สังขาร ทางทิศอาคเนย์... สังขารทางทิศพายัพ... สังขารทางทิศอีสาน... สังขารทางทิศหรดี... สังขารทางทิศเบื้องต่ำ... สังขารทางทิศเบื้องสูง... สังขารในทั้ง ๑๐ ทิศ ก็คลอนแคลน หวั่นไหว คือ สะเทือน สะท้าน เพราะเป็นธรรมชาติไม่เที่ยง จึงถูกชาติติดตาม ถูกชราแผ่คลุม ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่พึ่ง เป็นสิ่งหาที่พึ่งไม่ได้ สมจริงดังภาษิตนี้ว่า ถึงวิมานนี้ สว่างรุ่งเรือง อยู่ในทิศอุดรก็จริง แต่บัณฑิตก็ยังมองเห็นโทษในรูป แล้วหวั่นไหวทุกเมื่อ ฉะนั้น ผู้มีปัญญา จึงหายินดีในรูปไม่๑- โลกถูกมรณะกำจัด ถูกชราห้อมล้อม ถูกลูกศร คือตัณหาแทงติด คุเป็นควันเพราะความปรารถนาอยู่ทุกเมื่อ๒- โลกทั้งปวงถูกไฟไหม้ ลุกโพลง โชติช่วง หวั่นไหวแล้ว๓- รวมความว่า สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๑๗๗/๑๗๘ @ สํ.ส. ๑๕/๖๖/๔๕ @ ขุ.เถรี.(แปล) ๒๖/๒๐๐/๕๘๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๘๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน อธิบายว่า เมื่อต้องการ คือ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังภพ คือ ที่ต้านทาน ที่ปกป้อง ที่พึ่ง ที่ดำเนินไป ที่ไปสู่ จุดหมายสำหรับตน รวมความว่า เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน คำว่า ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ อธิบายว่า มองเห็นแต่ฐานะที่ ถูกครอบงำเท่านั้น ได้เห็นแต่ฐานะที่ถูกครอบงำ คือ ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวง ถูกชราครอบงำ ความไม่มีโรคทั้งปวงถูกพยาธิครอบงำ ชีวิตทั้งปวงถูกมรณะครอบงำ ลาภทั้งปวงถูกความเสื่อมลาภครอบงำ ยศทั้งปวงถูกความเสื่อมยศครอบงำ ความ สรรเสริญทั้งปวงถูกการนินทาครอบงำ ความสุขทั้งปวงถูกความทุกข์ครอบงำ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข และทุกข์ ธรรมเหล่านี้ ในหมู่มนุษย์ล้วนไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรผันไปเป็นธรรมดา๑- รวมความว่า ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว เราเมื่อต้องการภพสำหรับตน ก็มองไม่เห็นฐานะอะไรที่ไม่ถูกครอบงำ [๑๗๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เพราะเห็นสัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา อนึ่ง เราได้เห็นลูกศรที่เห็นได้ยาก อันอาศัยหทัยในสัตว์เหล่านี้แล้ว คำว่า มีที่สิ้นสุด ในคำว่า สัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น อธิบายว่า ชราทำให้ ความเป็นหนุ่มสาวทั้งปวงหมดสิ้นไป พยาธิทำให้ความไม่มีโรคทั้งปวงหมดสิ้นไป @เชิงอรรถ : @ ขุ.ชา. ๒๗/๑๑๔/๑๑๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

มรณะทำให้ชีวิตทั้งปวงหมดสิ้นไป ความเสื่อมลาภทำให้ลาภทั้งปวงหมดสิ้นไป ความ เสื่อมยศทำให้ยศทั้งปวงหมดสิ้นไป การนินทาทำให้ความสรรเสริญทั้งปวงหมดสิ้นไป ความทุกข์ทำให้ความสุขทั้งปวงหมดสิ้นไป รวมความว่า มีที่สิ้นสุด คำว่า และถูกสกัดกั้น อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ปรารถนาความเป็นหนุ่มสาว ถูกชราขัดขวาง ผู้ต้องการความไม่มีโรคถูกพยาธิขัดขวาง ผู้ปรารถนาเพื่อมีชีวิตอยู่ ถูกมรณะขัดขวาง ผู้ปรารถนาลาภถูกความเสื่อมลาภขัดขวาง ผู้ปรารถนายศถูก ความเสื่อมยศขัดขวาง ผู้ปรารถนาความสรรเสริญถูกการนินทาขัดขวาง ผู้ปรารถนา ความสุขถูกความทุกข์สกัดกั้น คือ ขัดขวาง กระทบ กระทบกระทั่ง ทำลายล้างผลาญ รวมความว่า สัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น คำว่า เพราะเห็น ในคำว่า เพราะเห็น... ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา ได้แก่ เพราะเห็น คือ เพราะมองเห็น เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง ทำให้แจ่มแจ้ง รวมความว่า เพราะเห็น คำว่า ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา ได้แก่ ความไม่ยินดี คือ ความไม่ใยดี ความระอา ความเบื่อ ความหน่าย ได้มีแล้ว รวมความว่า เพราะเห็น... ความไม่ ยินดีจึงมีแก่เรา คำว่า อนึ่ง ในคำว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้แล้ว เป็นคำเชื่อมบท... คำว่า อนึ่ง นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน คำว่า ใน... เหล่านี้ ได้แก่ ในสัตว์ทั้งหลาย คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร ๗ ชนิด คือ ๑. ลูกศรคือราคะ ๒. ลูกศรคือโทสะ ๓. ลูกศรคือโมหะ ๔. ลูกศรคือมานะ ๕. ลูกศรคือทิฏฐิ ๖. ลูกศรคือโสกะ ๗. ลูกศรคือความสงสัย คำว่า ได้เห็น ได้แก่ ได้เห็น คือ ได้มองเห็น ได้แลเห็น ได้แทงตลอด รวมความว่า อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร... ในสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้แล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า ที่เห็นได้ยาก ในคำว่า ที่เห็นได้ยากอันอาศัยหทัย ได้แก่ เห็นได้ยาก คือ มองเห็นได้ยาก แลเห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ตามรู้ได้ยาก แทงตลอดได้ยาก รวมความว่า ที่เห็นได้ยาก คำว่า อันอาศัยหทัย อธิบายว่า จิตตรัสเรียกว่า หทัย ได้แก่ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ๑- ที่เกิดจากวิญญาณขันธ์นั้น คำว่า อันอาศัยหทัย อธิบายว่า อันอาศัยหทัย คือ อันอาศัยจิต อาศัยอยู่ ในจิต ไปร่วมกัน เกิดร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน ประกอบร่วมกัน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกับจิต รวมความว่า ที่เห็นได้ยากอัน อาศัยหทัย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เพราะเห็นสัตว์มีที่สิ้นสุดและถูกสกัดกั้น ความไม่ยินดีจึงมีแก่เรา อนึ่ง เราได้เห็นลูกศร ที่เห็นได้ยาก อันอาศัยหทัยในสัตว์เหล่านี้แล้ว [๑๗๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง เพราะถอนลูกศรนั้นได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่าน ไม่ต้องล่มจม
ว่าด้วยลูกศร ๗ ชนิด
คำว่า สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง อธิบายว่า คำว่า ลูกศร ได้แก่ ลูกศร ๗ ชนิด คือ ๑. ลูกศรคือราคะ ๒. ลูกศรคือโทสะ ๓. ลูกศรคือโมหะ ๔. ลูกศรคือมานะ ๕. ลูกศรคือทิฏฐิ ๖. ลูกศรคือโสกะ ๗. ลูกศรคือความสงสัย @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑/๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ลูกศรคือราคะ เป็นอย่างไร คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ นี้ชื่อว่าลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ เป็นอย่างไร คือ ความอาฆาตเกิดขึ้นว่า “ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา... ผู้นี้กำลัง ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา... ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา”... ความดุร้าย ความปลูกน้ำตา (ความเพาะวาจาชั่ว) ความไม่เบิกบานแห่งจิต นี้ชื่อว่าลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ เป็นอย่างไร คือ ความไม่รู้ในทุกข์... ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วน เบื้องต้น ความไม่รู้ในส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้องปลาย ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลายที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้ เป็นปัจจัย ความไม่เห็น ไม่ตรัสรู้ ไม่ตรัสรู้ตาม ไม่ตรัสรู้ชอบ ไม่แทงตลอด ไม่ถือ เหตุด้วยดี ไม่หยั่งลงถึงเหตุ ไม่เพ่งพินิจ ไม่พิจารณา ไม่ทำให้ประจักษ์ ไม่ผ่องแผ้ว ความเป็นคนโง่ ความหลง ลุ่มหลง หลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ เป็นอย่างไร คือ ความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา ความถือตัวว่าเราเสมอเขา ความถือตัวว่า เราด้อยกว่าเขา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความ ทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจ ธงเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ๑- ๒๐ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ๒- ๑๐ อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ๓- ๑๐ ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือ ทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความ ยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่า เป็นจริงเห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ ๖๒ นี้ชื่อว่าลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือโสกะ เป็นอย่างไร คือ ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความเศร้าโศกภายใน ความเศร้าโศกมากภายใน ความเร่าร้อนภายใน ความเร่าร้อนมากภายใน ความ หม่นไหม้แห่งจิต ความทุกข์ใจ ของผู้ถูกความเสียหายของญาติกระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโภคทรัพย์กระทบบ้าง ถูกความเสียหายแห่งโรคกระทบบ้าง ถูกสีลวิบัติกระทบบ้าง ถูกทิฏฐิวิบัติกระทบบ้าง ประจวบกับความเสียหายอื่นนอก จากที่กล่าวแล้วบ้าง ถูกเหตุแห่งทุกข์อื่นนอกจากที่กล่าวแล้วกระทบบ้าง นี้ชื่อว่า ลูกศรคือโสกะ ลูกศรคือความสงสัย เป็นอย่างไร คือ ความสงสัยในทุกข์ ความสงสัยในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความสงสัยในความ ดับทุกข์ ความสงสัยในปฏิปทาเครื่องดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ความสงสัยในส่วน เบื้องต้น ความสงสัยในส่วนเบื้องปลาย ความสงสัยทั้งในส่วนเบื้องต้นและส่วนเบื้อง ปลาย ความสงสัยในธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้น คือ ความที่ปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชานี้ เป็นปัจจัย ความสงสัย กิริยาที่สงสัย ภาวะที่สงสัย ความเคลือบแคลง ความลังเล ความเห็นเป็น ๒ ฝ่าย ๒ ทาง ความไม่แน่ใจ ความยึดถือหลายอย่าง ความไม่ตกลงใจ ความตัดสินใจไม่ได้ ความกำหนดถือไม่ได้ ความหวาดหวั่นแห่งจิต ความติดขัดใน ใจเห็นปานนี้ นี้ชื่อว่าลูกศรคือความสงสัย @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒/๕๙ @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒/๕๙ @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๒/๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยภาวะของสัตว์ที่ถูกลูกศรแทง
คำว่า สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง อธิบายว่า สัตว์ถูก ลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ประพฤติ ทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์ บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ เมื่อจะแสวงหาโภคทรัพย์ ก็แล่นเรือออกไปสู่มหาสมุทร ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานเบียดเบียนเอาบ้าง ถูกความ หิวกระหายกดดันอยู่ ก็ต้องเดินทางไปคุมพรัฐ ตักโกลรัฐ ตักกสิลรัฐ กาลมุขรัฐ ปุรรัฐ เวสุงครัฐ เวราปถรัฐ ชวารัฐ ตามลิรัฐ วังครัฐ เอฬพันธนรัฐ สุวรรณกูฏรัฐ สุวรรณภูมิรัฐ ตัมพปาณิรัฐ สุปปาทกรัฐ เภรุกัจฉรัฐ สุรัฏฐรัฐ ภังคโลกรัฐ ภังคณรัฐ ปรมภังคณรัฐ โยนรัฐ ปินรัฐ วินกรัฐ มูลปทรัฐ เดินทางไปยังทะเลทรายที่ต้องหมายด้วยดาว คลาน ไปด้วยเข่า เดินทางด้วยแพะ เดินทางด้วยแกะ ไปด้วยการตอกหลักผูกเชือกโหนไป ไปด้วยร่ม เดินทางด้วยการตัดไม้ไผ่ทำพะองสำหรับปีน เดินทางอย่างนก เดินทาง อย่างหนู ไปตามซอกเขา ไต่ไปตามลำหวาย เมื่อแสวงหาไม่ได้ก็ต้องเสวยทุกข์และ โทมนัสที่มีการไม่ได้เป็นต้นเหตุ เขาเมื่อแสวงหาได้มา และครั้นได้แล้ว ก็ยังต้อง เสวยทุกข์และโทมนัสที่มีการต้องรักษาเป็นมูลเหตุบ้าง ด้วยความหวาดหวั่นว่า “อย่างไรหนอ พระราชาจะไม่พึงริบโภคทรัพย์ของเรา โจรจะไม่พึงปล้น ไฟจะไม่พึง ไหม้ น้ำจะไม่พึงพัดพาไป ทายาทที่ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักเอาไป” เมื่อรักษา คุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคทรัพย์ ย่อมเสื่อมค่าลง เขาก็ต้องเสวยทุกข์และโทมนัส ที่มีความพลัดพรากเป็นมูล สัตว์ถูกลูกศรคือราคะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง สัตว์ถูกลูกศรคือโทสะ... ลูกศรคือโมหะ... ลูกศรคือมานะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ ฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ขโมยยกเค้าบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ปล้นบ้านบ้าง ดักจี้ในทางเปลี่ยวบ้าง ละเมิดภรรยาของผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง สัตว์ ถูกลูกศรคือมานะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง สัตว์ถูกลูกศรคือทิฏฐิปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ประพฤติเปลือยกาย ไม่มีมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญ ให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุดรับอาหาร ไม่รับอาหารที่เขาแบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำ เจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปาก ภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อม สาก ไม่รับอาหารของคน ๒ คนที่กำลังบริโภค ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับ อาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับอาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับ อาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวัน ไต่ตอมอยู่เป็นกลุ่มๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าวคำเดียว รับอาหารในเรือน ๒ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๒ คำ... รับอาหารในเรือน ๗ หลัง ยังชีพด้วยข้าว ๗ คำ ยังชีพ ด้วยอาหารในถาดน้อย ๑ ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย ๒ ใบ ยังชีพด้วย อาหารในถาดน้อย ๗ ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน ๑ วัน... กินอาหารที่เก็บไว้ ค้างคืน ๗ วัน ถือ๑- การบริโภคอาหาร ๑๕ วันต่อ ๑ มื้อ สัตว์ถูกลูกศรคือทิฏฐิ ปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง สัตว์ถูกลูกศรคือทิฏฐิปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็นอาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินงาเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินโคมัย(มูลโค)เป็น อาหาร กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่ม ผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนังเสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง๒- นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง @เชิงอรรถ : @ คำว่า ถือ ในที่นี้ แปลจากบาลีว่า อนุโยคมนุยุตฺต ซึ่งหมายถึงการยึดมั่นในวัตรปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง @ ผ้าคากรอง หมายถึงผ้าที่ถักทอด้วยหญ้าคา เป็นผ้าที่พวกฤๅษีใช้นุ่งห่ม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมมนุษย์ นุ่งห่มผ้ากัมพลขนปีกนกเค้า ถอนผม และหนวด คือถือการถอนผมและหนวด ยืนอย่างเดียว ไม่ยอมนั่ง เดินกระหย่ง คือ ถือการเดินกระหย่ง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนาม นอนบนแผ่น กระดาน นอนบนเนินดิน นอนตะแคงข้างเดียว เอาฝุ่นคลุกตัว อยู่กลางแจ้ง นั่งบนอาสนะตามที่ปูไว้ บริโภคคูถ คือถือการบริโภคคูถ ไม่ดื่มน้ำเย็น คือถือการ ไม่ดื่มน้ำเย็น อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือถือการลงอาบน้ำ ถือการทำให้กาย เดือดร้อน เร่าร้อน หลากหลายชนิด เห็นปานนี้ ด้วยประการอย่างนี้บ้าง สัตว์ผู้ถูก ลูกศรคือทิฏฐิปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง สัตว์ผู้ถูกลูกศรคือโสกะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็ย่อมโศก เหนื่อยหน่าย คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในเมือง สาวัตถีนี้เอง มารดาของหญิงบางคนตาย หญิงนั้น เพราะมารดาตาย จึงเป็นบ้า มีใจฟุ้งซ่าน จากถนนนี้เข้าไปสู่ถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปสู่ตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านเห็นมารดาของฉันบ้างไหม พวกท่านเห็นมารดาของฉันบ้างไหม’ พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในเมืองสาวัตถีนี้เอง บิดาของหญิงบางคนตาย แล้ว... พี่ชายน้องชายตายแล้ว... พี่สาวน้องสาวตายแล้ว... บุตรตายแล้ว... ธิดาตาย แล้ว... สามีตายแล้ว หญิงนั้น เพราะสามีนั้นตายแล้ว จึงเป็นบ้า มีใจฟุ้งซ่าน จากถนนนี้เข้าไปสู่ถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปสู่ตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ‘พวกท่าน เห็นสามีของฉันบ้างไหม พวกท่านเห็นสามีของฉันบ้างไหม’ พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในเมืองสาวัตถีนี้เอง มารดาของชายบางคน ตายแล้ว ชายผู้นั้น เพราะมารดานั้นตายแล้ว จึงเป็นบ้า มีใจฟุ้งซ่าน จากถนนนี้ เข้าไปสู่ถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปสู่ตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านเห็นมารดา ของฉันบ้างไหม พวกท่านเห็นมารดาของฉันบ้างไหม’ พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในเมืองสาวัตถีนี้เอง บิดาของชายบางคน ตายแล้ว... พี่ชายน้องชายตายแล้ว... พี่สาวน้องสาวตายแล้ว... บุตรตายแล้ว... ธิดาตายแล้ว... ภรรยาตายแล้ว... ชายผู้นั้น เพราะภรรยานั้นตายแล้ว จึงเป็นบ้า มีใจฟุ้งซ่าน จากถนนนี้เข้าไปสู่ถนนโน้น จากตรอกนี้เข้าไปสู่ตรอกโน้น พูดอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านเห็นภรรยาของฉันบ้างไหม พวกท่านเห็นภรรยาของฉันบ้างไหม’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

พราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในเมืองสาวัตถีนี้เอง หญิงบางคนไปสู่ตระกูล ของญาติ พวกญาติของนางต้องการพรากสามีเสียแล้วยกหญิงนั้นให้แก่บุรุษอื่น แต่ นางไม่อยากได้บุรุษนั้น ลำดับนั้น หญิงนั้นจึงได้พูดกับสามีดังนี้ว่า ‘นายจ๋า พวก ญาติเหล่านี้ ต้องการจะพรากฉันจากท่านแล้วยกให้แก่ชายอื่น เราทั้งสองจักตาย ด้วยกัน’ ทันใดนั้น ชายผู้นั้นจึงฟันหญิงนั้นขาดเป็น ๒ ท่อนแล้วฆ่าตนเองด้วย หวังว่า เราทั้ง ๒ ละ (โลกนี้) แล้วจักไปอยู่ร่วมกัน”๑- สัตว์ผู้ถูกลูกศรคือโสกะปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง สัตว์ผู้ถูกลูกศรคือความสงสัยปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไปสู่ความสงสัย แล่นไปสู่ความแคลงใจ สองจิตสองใจว่า “ในอดีตกาลยาวนานเราได้มีแล้ว หรือมิได้มีแล้วหนอ เราได้เป็นอะไรมาหนอ เราได้ เป็นอย่างไรมาหนอ เราได้เป็นอะไรแล้วมาเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลยาวนาน เราจักมีหรือจักไม่มีหนอ เราจักเป็นอะไรหนอ จักเป็นอย่างไรหนอ จักเป็นอะไรแล้ว ไปเป็นอะไรหนอ หรือในปัจจุบัน ในบัดนี้ ก็มีความสงสัยอยู่ภายในว่า ‘เราเป็นอยู่ หรือไม่หนอ เราเป็นอะไรหนอ เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาจากไหนหนอ เขาจักไป ไหนกันหนอ” สัตว์ผู้ถูกลูกศรคือความสงสัยปักติด คือ เสียบแทง ถูกต้อง เสียบ ติดแน่น คาค้างอยู่ ก็แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป อย่างนี้บ้าง สัตว์ปรุงแต่งลูกศรเหล่านั้นให้เกิดขึ้น เมื่อปรุงแต่งลูกศรเหล่านั้นให้เกิดขึ้น ก็วิ่งพล่านไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ด้วยอำนาจการปรุง แต่งลูกศรให้เกิดขึ้น การปรุงแต่งลูกศรเหล่านั้นยังละไม่ได้ เพราะยังละการปรุงแต่ง ลูกศรไม่ได้ จึงวิ่งพล่านไปในคติ นรก กำเนิดเดรัจฉาน เปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก แล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไป จากคตินี้ไปสู่คติโน้น จากการถือกำเนิดนี้ไปสู่การถือกำเนิดโน้น จากปฏิสนธินี้ไปสู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้ ไปสู่ภพโน้น จากสงสาร๒- นี้ไปสู่สงสารโน้น จากวัฏฏะนี้ไปสู่วัฏฏะโน้น รวมความว่า สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง @เชิงอรรถ : @ ม.ม. ๑๓/๓๕๖/๓๔๑-๓๔๒ @ สงสาร หมายถึงการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า เพราะถอนลูกศรนั้นได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่าน ไม่ต้องล่มจม อธิบาย ว่า เพราะถอน คือ เพราะถอด ชัก ดึง ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศรคือทิฏฐิ ลูกศรคือโสกะ ลูกศรคือความสงสัยได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่านไปทาง ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ละการปรุงแต่งลูกศรให้เกิดขึ้นเหล่านั้น เพราะละการปรุงแต่งลูกศรให้เกิดขึ้นได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่านไปในคติ นรก กำเนิด เดรัจฉาน เปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ไม่ต้องแล่นไป วิ่งพล่าน คือ ลนลาน ท่องเที่ยวไปจากคตินี้ไปสู่คติโน้น จากการถือกำเนิดนี้ไปสู่การถือกำเนิดโน้น จาก ปฏิสนธินี้ไปสู่ปฏิสนธิโน้น จากภพนี้ไปสู่ภพโน้น จากสงสารนี้ไปสู่สงสารโน้น จาก วัฏฏะนี้ไปสู่วัฏฏะโน้น รวมความว่า เพราะถอนลูกศรนั้นได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่าน คำว่า ไม่ต้องล่มจม ได้แก่ ไม่ต้องล่มจมในโอฆะคือกาม ไม่ต้องล่มจมในโอฆะ คือภพ ไม่ต้องล่มจมในโอฆะคือทิฏฐิ ไม่ต้องล่มจมในโอฆะคืออวิชชา คือ ไม่ต้องจม ไม่ต้องจมลง ไม่ต้องล่มจมลง ไม่ไป ไม่ตกไป รวมความว่า เพราะถอนลูกศรนั้นได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่าน ไม่ต้องล่มจม ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สัตว์ถูกลูกศรใดปักติดแล้ว วิ่งพล่านไปทุกทิศทาง เพราะถอนลูกศรนั้นได้แล้ว จึงไม่ต้องวิ่งพล่าน ไม่ต้องล่มจม [๑๗๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) คนทั้งหลายกล่าวถึงการศึกษา เพราะกามคุณที่พัวพันอยู่ในโลก บุคคลไม่พึงเป็นผู้ขวนขวายในการศึกษา หรือกามคุณเหล่านั้น รู้แจ้งกามโดยประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาเพื่อความดับกิเลสของตน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๔๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการศึกษาเพื่อได้กามคุณ
คำว่า คนทั้งหลายกล่าวถึงการศึกษา เพราะกามคุณที่พัวพันอยู่ในโลก อธิบายว่า คำว่า การศึกษา ได้แก่ การศึกษาเรื่องช้าง การศึกษาเรื่องม้า การศึกษาเรื่องรถ การศึกษาเรื่องธนู การเสกเป่า วิชาผ่าตัด การบำบัดรักษาทางยา วิชาหมอผี วิชา หมอเด็ก(กุมารเวช) คำว่า กล่าวถึง ได้แก่ กล่าวถึง คือ เล่าถึง พูดถึง บอกถึง แสดงถึง ชี้แจงถึง อีกนัยหนึ่ง คำว่า กล่าวถึง ได้แก่ เรียน เล่าเรียน ทรงจำ เข้าไปทรงจำ เพื่อได้ กามคุณที่พัวพันอยู่ กามคุณ ๕ คือ ๑. รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่รู้ได้ทางหู ... ๕. โผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ตรัสเรียกว่า กามคุณที่พัวพันอยู่ เพราะเหตุไร กามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า กามคุณที่พัวพันอยู่ เทวดา และมนุษย์โดยมาก ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังกามคุณ ๕ เพราะ เหตุนั้นกามคุณ ๕ จึงตรัสเรียกว่า กามคุณที่พัวพันอยู่ คำว่า ในโลก ได้แก่ ในมนุษยโลก รวมความว่า คนทั้งหลายกล่าวถึง การศึกษา เพราะกามคุณที่พัวพันอยู่ในโลก คำว่า บุคคลไม่พึงเป็นผู้ขวนขวายในการศึกษาหรือกามคุณเหล่านั้น อธิบาย ว่า บุคคลไม่พึงขวนขวาย คือ ไม่พึงเอนไป ไม่โอนไป ไม่โน้มไป ไม่น้อมใจไป ไม่พึงเป็นผู้มีการศึกษา หรือกามคุณ ๕ นั้นๆ เป็นใหญ่ รวมความว่า บุคคล ไม่พึงเป็นผู้ขวนขวายในการศึกษาหรือกามคุณเหล่านั้น คำว่า รู้แจ้ง...แล้ว ในคำว่า รู้แจ้งกามโดยประการทั้งปวงแล้ว ได้แก่ แทงตลอดแล้ว คือ แทงตลอดแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็น ทุกข์...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็น ธรรมดา” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า โดยประการทั้งปวง ได้แก่ ทุกสิ่งโดยประการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า โดยประการทั้งปวง นี้เป็นคำกล่าว รวมไว้ทั้งหมด คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม๑- รวมความว่า รู้แจ้งกามโดยประการทั้งปวงแล้ว คำว่า ศึกษา ในคำว่า พึงศึกษาเพื่อความดับกิเลสของตน ได้แก่ สิกขา ๓ อย่าง คือ ๑. อธิสีลสิกขา ๒. อธิจิตตสิกขา ๓. อธิปัญญาสิกขา... นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา คำว่า เพื่อความดับกิเลสของตน อธิบายว่า พึงศึกษาทั้งอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาเพื่อดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ ฯลฯ เพื่อสงบ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ สลัดทิ้ง สงบระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภทของตนเสียได้ สิกขา ๓ เหล่านี้ เมื่อบุคคลนึกถึงชื่อว่าพึงศึกษา เมื่อทราบชื่อว่าพึงศึกษา... เมื่อทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าพึงศึกษา คือ พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติ เอื้อเฟื้อโดยชอบ สมาทานประพฤติ รวมความว่า พึงศึกษาเพื่อความดับกิเลสของตน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า คนทั้งหลายกล่าวถึงการศึกษา เพราะกามคุณที่พัวพันอยู่ในโลก บุคคลไม่พึงเป็นผู้ขวนขวายในการศึกษา หรือกามคุณเหล่านั้น รู้แจ้งกามโดยประการทั้งปวงแล้ว พึงศึกษาเพื่อความดับกิเลสของตน [๑๗๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีความหลอกลวง ปราศจากวาจาส่อเสียด ไม่โกรธ ข้ามพ้นความโลภอันชั่ว และความหวงแหนได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑/๑-๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ ในคำว่า มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง อธิบายว่า พึงประกอบด้วยวาจาสัจ คือ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ รวมความว่า พึงเป็นผู้มีสัจจะ คำว่า ไม่คะนอง ได้แก่ ความคะนอง ๓ อย่าง คือ ๑. ความคะนองทางกาย ๒. ความคะนองทางวาจา ๓. ความคะนองทางใจ... นี้ชื่อว่าความคะนองทางใจ๑- ความคะนอง ๓ อย่างเหล่านี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ คะนอง รวมความว่า มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง
ว่าด้วยความเป็นผู้หลอกลวง
คำว่า ไม่มีความหลอกลวง ปราศจากวาจาส่อเสียด อธิบายว่า ความ ประพฤติหลอกลวง ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง คนบางคนในโลกนี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ตั้งความปรารถนา ชั่วทราม เพราะการปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือ ปรารถนาว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” ดำริว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” กล่าววาจาด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” พยายามทางกายด้วยคิดว่า “ใครอย่ารู้ทันเราเลย” ความหลอกลวง ความเป็นผู้มีความหลอกลวง ความเสแสร้ง ความลวง ความล่อลวง การปิดบัง การหลบเลี่ยง การหลีกเลี่ยง การซ่อน การซ่อนเร้น การปิด การปกปิด การไม่เปิดเผย การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดสนิท การทำความ ชั่วเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง ความหลอกลวงนี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่มีความ หลอกลวง @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘๕/๒๕๔-๒๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า วาจาส่อเสียด ในคำว่า ปราศจากวาจาส่อเสียด อธิบายว่า คนบางคน ในโลกนี้เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด... บุคคลย่อมนำวาจาส่อเสียดเข้าไปด้วยความประสงค์ ให้เขาแตกกัน วาจาส่อเสียดนี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ปราศจาก วาจาส่อเสียด คือ หมดวาจาส่อเสียดแล้ว รวมความว่า ไม่มีความหลอกลวง ปราศจากวาจาส่อเสียด คำว่า ไม่โกรธ ในคำว่า มุนี...ไม่โกรธ ข้ามพ้นความโลภอันชั่วและความ หวงแหนได้แล้ว อธิบายว่า กล่าวไว้แล้วแล อนึ่ง ควรกล่าวถึงความโกรธก่อน ความโกรธย่อมเกิดได้เพราะเหตุ ๑๐ อย่าง๑- ... ความโกรธนั้นผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือ ญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่โกรธ บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะละความโกรธได้แล้ว บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะกำหนดรู้วัตถุแห่งความโกรธได้แล้ว บุคคลชื่อว่าผู้ไม่โกรธ เพราะตัดเหตุแห่งความโกรธได้แล้ว คำว่า ความโลภ ได้แก่ ความโลภ กิริยาที่โลภ ภาวะที่โลภ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ (๑) อาวาสมัจฉริยะ... ความมุ่งแต่จะได้ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่๒- คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี คำว่า มุนี...ไม่โกรธ ข้ามพ้นความโลภอันชั่วและความหวงแหนได้แล้ว อธิบายว่า มุนี ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ก้าวล่วง ด้วยดี ล่วงเลยแล้วซึ่งความโลภอันชั่วและความหวงแหนได้แล้ว รวมความว่า @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘๕/๒๕๒-๒๕๓ @ ดูรายละเอียดข้อ ๔๔/๑๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

มุนี...ไม่โกรธ ข้ามพ้นความโลภอันชั่วและความหวงแหนได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีความหลอกลวง ปราศจากวาจาส่อเสียด ไม่โกรธ ข้ามพ้นความโลภอันชั่ว และความหวงแหนได้แล้ว [๑๗๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) นรชนพึงควบคุมความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น พึงน้อมใจไปในนิพพาน
ว่าด้วยความเกียจคร้าน
คำว่า พึงควบคุมความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ อธิบายว่า คำว่า ความหลับ ได้แก่ ความที่กายไม่คล่องแคล่ว ความที่กายไม่ควรแก่การ งาน อาการหยุด อาการพัก อาการพักผ่อนภายใน ความง่วง ภาวะที่หลับ อาการ สัปหงก ความหลับ กิริยาที่หลับ ภาวะที่หลับ คำว่า ความเกียจคร้าน ได้แก่ ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ภาวะที่ เกียจคร้าน ความเป็นผู้มีใจเกียจคร้าน ความขี้เกียจ กิริยาที่ขี้เกียจ ภาวะที่ขี้เกียจ คำว่า ความย่อท้อ ได้แก่ ความที่จิตไม่คล่องแคล่ว ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน ความหดหู่ กิริยาที่หดหู่ ความท้อถอย กิริยาที่ท้อถอย ภาวะที่ท้อถอย ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ ความเป็นผู้มีจิตย่อท้อ คำว่า พึงควบคุมความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ อธิบายว่า พึงควบคุม คือ ครอบครอง ยึดครอง ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีความหลับ ความเกียจคร้านและความย่อท้อ รวมความว่า พึงควบคุมความหลับ ความ เกียจคร้าน ความย่อท้อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท อธิบายว่า ขอกล่าวถึงความประมาท ความปล่อยจิตไป หรือการเพิ่มพูนความปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕ ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือ การทำโดยไม่เคารพ การทำที่ไม่ให้ติดต่อ การทำที่ ไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความตั้งใจไม่จริง ความไม่หมั่น ประกอบ ความประมาทในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าความประมาท ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความประมาท คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท อธิบายว่า ไม่พึงอยู่ คือ ไม่พึงอยู่ร่วม ไม่พึงอยู่อาศัย ไม่พึงอยู่ครองกับความประมาท ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความประมาท คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความประมาท มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท คำว่า ความดูหมิ่น ในคำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง... เพราะเรื่องอื่น นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตน เป็นดุจธงเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความดูหมิ่น คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น อธิบายว่า ไม่พึงตั้งอยู่ คือ ไม่พึงดำรงอยู่ ในความดูหมิ่น ได้แก่ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่ง ความดูหมิ่น คือ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง กับความดูหมิ่น มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความ ดูหมิ่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยการทำบุญมุ่งนิพพาน
คำว่า นรชน...พึงน้อมใจไปในนิพพาน อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ เมื่อให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ กวาดบริเวณวัด ไหว้เจดีย์ วางของหอมและมาลาที่เจดีย์ ทำประทักษิณเจดีย์ บำเพ็ญกุสลาภิสังขารอย่างใด อย่างหนึ่ง อันเป็นไปในไตรธาตุ๑- ก็มิใช่เพราะเหตุแห่งคติ มิใช่เพราะเหตุแห่งการถือ กำเนิด มิใช่เพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ มิใช่เพราะเหตุแห่งภพ มิใช่เพราะเหตุแห่งสงสาร มิใช่เพราะเหตุแห่งวัฏฏะ เป็นผู้ประสงค์จะพรากจากทุกข์ เอนไปในนิพพาน โอนไป ในนิพพาน โน้มไปในนิพพาน บำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น รวมความว่า นรชน... พึงน้อม ใจไปในนิพพาน อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปใน อมตธาตุว่า “ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้น ตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท เป็นธรรมชาติสงบ ประณีต” รวมความว่า นรชน... พึงน้อมใจไปในนิพพาน อย่างนี้บ้าง บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่ให้ทาน เพราะเหตุแห่งสุขอันก่ออุปธิเพื่อภพใหม่ แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพใหม่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เจริญฌาน เพราะเหตุแห่งสุขอันก่ออุปธิเพื่อภพใหม่ แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพใหม่ บัณฑิตเหล่านั้น มีใจมุ่งนิพพาน มีจิตโน้มไปในนิพพานนั้น มีจิตน้อมไปในนิพพานนั้นให้ทาน @เชิงอรรถ : @ ไตรธาตุ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๓๕/๓๗๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำไหลลงสู่ทะเล ฉะนั้น รวมความว่า นรชน... พึงน้อมใจไปในนิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนพึงควบคุมความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น พึงน้อมใจไปในนิพพาน [๑๗๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) นรชนไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป พึงกำหนดรู้ความถือตัว และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน คำว่า นรชนไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า มุสาวาทตรัส เรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ คนบางคนในโลกนี้ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ท่ามกลาง ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขาอ้างเป็นพยาน ซักถามว่า “ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น” บุคคลนั้นไม่รู้ก็พูดว่า “รู้” หรือรู้ก็พูดว่า “ไม่รู้” ไม่เห็นก็พูดว่า “เห็น” หรือเห็นก็พูดว่า “ไม่เห็น” พูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตน เป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง นี้ตรัสเรียกว่า ความเป็นคนพูดเท็จ อีกนัยหนึ่ง มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง... ด้วยอาการ ๔ อย่าง... ด้วยอาการ ๕ อย่าง... ด้วยอาการ ๖ อย่าง... ด้วยอาการ ๗ อย่าง... ด้วยอาการ ๘ อย่าง... มุสาวาทมีได้ด้วยอาการ ๘ อย่างเหล่านี้ คำว่า นรชนไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ อธิบายว่า ไม่พึงดำเนินไป ไม่พึงมุ่งมั่น ไม่พึงนำไป ไม่พึงพา(ตน) ไปในความเป็นคนพูดเท็จ คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความเป็นคนพูดเท็จ ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นคนพูดเท็จ มีใจเป็น อิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า นรชนไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป อธิบายว่า คำว่า รูป ได้แก่ มหาภูตรูป๑- ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ คำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป อธิบายว่า ไม่พึงทำความเสน่หา คือ ไม่พึงทำความพอใจ ไม่พึงทำความรัก ไม่พึงทำ ได้แก่ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนัดในรูป รวมความว่า ไม่พึงทำ ความเสน่หาในรูป
ว่าด้วยความถือตัวมีนัยต่างๆ
คำว่า ความถือตัว ในคำว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว อธิบายว่า ความถือตัว นัยเดียว คือ ความที่จิตใฝ่สูง ความถือตัว ๒ นัย คือ ๑. การยกตน ๒. การข่มผู้อื่น ความถือตัว ๓ นัย คือ ๑. ความถือตัวว่า เราเลิศกว่าเขา ๒. ความถือตัวว่า เราเสมอเขา ๓. ความถือตัวว่า เราด้อยกว่าเขา ความถือตัว ๔ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวเพราะลาภ ๒. เกิดความถือตัวเพราะยศ ๓. เกิดความถือตัวเพราะสรรเสริญ ๔. เกิดความถือตัวเพราะความสุข ความถือตัว ๕ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวว่าเราได้รูปที่ถูกใจ ๒. เกิดความถือตัวว่าเราได้เสียงที่ถูกใจ ๓. เกิดความถือตัวว่าเราได้กลิ่นที่ถูกใจ ๔. เกิดความถือตัวว่าเราได้รสที่ถูกใจ ๕. เกิดความถือตัวว่าเราได้โผฏฐัพพะที่ถูกใจ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๑๐/๕๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ความถือตัว ๖ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวเพราะมีตาสมบูรณ์ ๒. เกิดความถือตัวเพราะมีหูสมบูรณ์ ๓. เกิดความถือตัวเพราะมีจมูกสมบูรณ์ ๔. เกิดความถือตัวเพราะมีลิ้นสมบูรณ์ ๕. เกิดความถือตัวเพราะมีกายสมบูรณ์ ๖. เกิดความถือตัวเพราะมีใจสมบูรณ์ ความถือตัว ๗ นัย คือ ๑. ความดูหมิ่น ๒. ความดูหมิ่นด้วยอำนาจความถือตัว ๓. ความถือตัวว่าเราด้อยกว่าเขา ๔. ความถือตัวว่าเราเสมอเขา ๕. ความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา ๖. ความถือเราถือเขา ๗. ความถือตัวผิดๆ ความถือตัว ๘ นัย คือ ๑. เกิดความถือตัวเพราะได้ลาภ ๒. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมลาภ ๓. เกิดความถือตัวเพราะมียศ ๔. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมยศ ๕. เกิดความถือตัวเพราะสรรเสริญ ๖. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะถูกนินทา ๗. เกิดความถือตัวเพราะความสุข ๘. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะความทุกข์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ความถือตัว ๙ นัย คือ ๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา ๒. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา ๓. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา ๔. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา ๕. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา ๖. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา ๗. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา ๘. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา ๙. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา ความถือตัว ๑๐ นัย คือ คนบางคนในโลกนี้ ๑. เกิดความถือตัวเพราะชาติ ๒. เกิดความถือตัวเพราะโคตร... (๑๐) ... หรือเกิดความถือตัว เพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว๑- ความถือตัว กริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเห็น ปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความถือตัว คำว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว อธิบายว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัวด้วย ปริญญา ๓ คือ ๑. ญาตปริญญา ๒. ตีรณปริญญา ๓. ปหานปริญญา ญาตปริญญา เป็นอย่างไร คือ นรชนรู้จักความถือตัว คือ รู้เห็นว่า นี้ความถือตัวนัยเดียว คือ ความที่จิต ใฝ่สูง นี้ความถือตัว ๒ นัย คือ (๑) การยกตน (๒) การข่มผู้อื่น ... นี้ ความถือตัว ๑๐ นัย คนบางคนในโลกนี้ (๑) เกิดความถือตัวเพราะชาติ (๒) เกิดความถือตัว @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๑/๙๔-๙๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

เพราะโคตร... (๑๐) ... หรือเกิดความถือตัวเพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร คือ นรชนทำความถือตัวที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้วพิจารณาความถือตัวโดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... เป็นของที่ต้องสลัดออกไป นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา ปหานปริญญา เป็นอย่างไร คือ นรชนครั้นพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความถือตัว นี้ชื่อว่าปหานปริญญา คำว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว ได้แก่ พึงกำหนดรู้ความถือตัวด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้ รวมความว่า พึงกำหนดรู้ความถือตัว คำว่า และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน อธิบายว่า ความประพฤติผลุนผลัน เป็นอย่างไร คือ ความประพฤติด้วยอำนาจราคะของบุคคลผู้กำหนัด ชื่อว่าความประพฤติ ผลุนผลัน ความประพฤติด้วยอำนาจโทสะของบุคคลผู้ขัดเคือง ชื่อว่าความประพฤติ ผลุนผลัน ความประพฤติด้วยอำนาจโมหะของบุคคลผู้หลง ชื่อว่าความประพฤติ ผลุนผลัน ความประพฤติด้วยอำนาจความถือตัวของบุคคลผู้ยึดติด ชื่อว่าความประพฤติ ผลุนผลัน ความประพฤติด้วยอำนาจทิฏฐิของบุคคลผู้ยึดมั่นทิฏฐิ ชื่อว่าความประพฤติ ผลุนผลัน ความประพฤติด้วยอำนาจอุทธัจจะของบุคคลผู้ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าความประพฤติ ผลุนผลัน ความประพฤติด้วยอำนาจวิจิกิจฉาของบุคคลผู้ลังเล ชื่อว่าความประพฤติ ผลุนผลัน ความประพฤติด้วยอำนาจอนุสัยของบุคคลผู้ตกไปในพลังกิเลส ชื่อว่าความ ประพฤติผลุนผลัน นี้ชื่อว่าความประพฤติผลุนผลัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน อธิบายว่า พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความประพฤติผลุนผลัน มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ คือ ประพฤติ เที่ยวไป เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า และพึงประพฤติละเว้นจากความ ผลุนผลัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นรชนไม่พึงมุ่งมั่นในความเป็นคนพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป พึงกำหนดรู้ความถือตัว และพึงประพฤติละเว้นจากความผลุนผลัน [๑๗๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) นรชนไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความพอใจสังขารใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไปก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง คำว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เป็นอดีต ตรัสเรียกว่า สังขารเก่า นรชนไม่พึงยินดี คือไม่พึงบ่นถึง ไม่พึงติดใจสังขารที่เป็นอดีต ด้วยอำนาจ ตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก ซึ่งความยินดี ความบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น รวมความว่า ไม่พึงยินดีสังขารเก่า คำว่า ไม่พึงทำความพอใจสังขารใหม่ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า สังขารใหม่ นรชนไม่พึงทำความพอใจ คือ ไม่พึงทำความชอบใจ ไม่พึงทำความรัก ไม่พึงทำ ได้แก่ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้นซึ่งความกำหนัด ในสังขารที่เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ รวมความว่า ไม่พึงทำ ความพอใจสังขารใหม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า เมื่อสังขารเสื่อมไปก็ไม่พึงเศร้าโศก อธิบายว่า เมื่อสังขารเสื่อมไป คือ เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป ไม่พึงเศร้าโศก คือ ไม่พึงลำบาก ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึงคร่ำครวญ ไม่พึงตีอกพร่ำเพ้อ ไม่พึงถึงความหลงใหล ได้แก่ เมื่อตาเสื่อมไป คือ เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป เมื่อหูเสื่อมไป คือ เสียไป ละไป แปรไป หายไป อันตรธานไป เมื่อจมูก... ลิ้น... กาย... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ... ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร... บิณฑบาต... เสนาสนะ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... ก็ไม่พึงเศร้าโศก คือ ไม่พึงลำบาก ไม่พึงยึดมั่น ไม่พึง คร่ำครวญ ไม่พึงตีอกพร่ำเพ้อ ไม่พึงถึงความหลงใหล รวมความว่า เมื่อสังขารเสื่อม ไปก็ไม่พึงเศร้าโศก
ว่าด้วยกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง
คำว่า ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือ โลภะ เพราะเหตุไร ตัณหา จึงตรัสเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง บุคคลย่อม เกี่ยวข้อง คือ เกี่ยวเกาะ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นรูป ย่อมเกี่ยวข้อง คือ เกี่ยวเกาะ ถือ ยึดมั่น ถือมั่นเวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ... ภพ... สงสาร... วัฏฏะ ด้วยตัณหาใด เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น จึงตรัสเรียกว่า กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง คำว่า ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง อธิบายว่า ไม่พึงติดอยู่กับตัณหา คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งตัณหา ได้แก่ พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับตัณหา มีใจเป็นอิสระ(จาก กิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี- พระภาคจึงตรัสว่า นรชนไม่พึงยินดีสังขารเก่า ไม่พึงทำความพอใจสังขารใหม่ เมื่อสังขารเสื่อมไปก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงติดอยู่กับกิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

[๑๘๐] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก
ว่าด้วยตัณหาตรัสเรียกว่าห้วงน้ำใหญ่
คำว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาตรัสเรียกว่า ห้วงน้ำใหญ่ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ อธิบายว่า เราเรียก คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความติดใจว่า “เป็นห้วงน้ำใหญ่” รวมความว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ คำว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความโลดแล่น คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาตรัสเรียกว่า ความปรารถนา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ คำว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา อธิบายว่า เรียก คือ บอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศความโลดแล่นว่า “เป็นความปรารถนา” รวมความว่า เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา คำว่า เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า อารมณ์ คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ รวมความว่า เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว คำว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก อธิบายว่า เปือกตมคือ กาม ได้แก่ หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความกังวลคือกาม เป็นสภาวะ ที่ลุล่วงไปได้ยาก คือ ก้าวพ้นไปได้ยาก ข้ามไปได้ยาก ข้ามพ้นไปได้ยาก ก้าวล่วงไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ได้ยาก ล่วงเลยไปได้ยาก รวมความว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เราเรียกความติดใจว่า ห้วงน้ำใหญ่ เรียกความโลดแล่นว่า ความปรารถนา เรียกอารมณ์ว่า ความหวั่นไหว เปือกตมคือกามเป็นสภาวะที่ลุล่วงไปได้ยาก [๑๘๑] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีไม่ก้าวล่วงสัจจะ เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก มุนีสลัดทิ้งสิ่งทั้งปวงได้แล้ว มุนีนั้นแล เราเรียกว่า ผู้สงบ คำว่า มุนีไม่ก้าวล่วงสัจจะ อธิบายว่า ไม่ก้าวล่วงวาจาสัจ ไม่ก้าวล่วง สัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงอริยมรรคมีองค์ ๘ คำว่า มุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี๑- รวมความว่า มุนีไม่ ก้าวล่วงสัจจะ
ว่าด้วยอมตนิพพานตรัสเรียกว่าบก
คำว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก อธิบายว่า อมตนิพพานตรัสเรียกว่า บก ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่เย็นสนิท คำว่า เป็นพราหมณ์ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗ ประการได้แล้ว ... ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย เป็นผู้มั่นคง บัณฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์๒- คำว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก อธิบายว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก คือดำรงอยู่บนเกาะ ดำรงอยู่ในที่ป้องกัน ดำรงอยู่ในที่หลีกเร้น ดำรงอยู่ในที่พึ่ง @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๑๔/๖๘-๗๑ @ ดูรายละเอียดข้อ ๒๕/๑๐๔-๑๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ดำรงอยู่ในที่ไม่มีภัย ดำรงอยู่ในที่ไม่จุติ ดำรงอยู่ในที่ไม่ตาย ดำรงอยู่ในนิพพาน รวม ความว่า เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก คำว่า มุนีสลัดทิ้งสิ่งทั้งปวงได้แล้ว อธิบายว่า อายตนะ ๑๒ ตรัสเรียกว่า สิ่งทั้งปวง คือ ตาและรูป... ใจและธรรมารมณ์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในอายตนะทั้งภายในและภายนอก มุนี นั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่มุนีนั้นสละ คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งได้แล้ว ตัณหา ทิฏฐิ และ มานะ มุนีนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคน ไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเพียง เท่านี้ สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่มุนีนั้นสละ คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งได้แล้ว ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร มุนีนั้นละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่มุนีนั้นสละ คาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งได้แล้ว รวมความว่า มุนีสลัดทิ้งสิ่งทั้งปวงได้แล้ว คำว่า มุนีนั้นแล เราเรียกว่า ผู้สงบ อธิบายว่า มุนีนั้น เราเรียก คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจงว่าผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ สงัด รวมความว่า มุนีนั้นแล เราเรียกว่า ผู้สงบ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีไม่ก้าวล่วงสัจจะ เป็นพราหมณ์ดำรงอยู่บนบก มุนีสลัดทิ้งสิ่งทั้งปวงได้แล้ว มุนีนั้นแล เราเรียกว่า ผู้สงบ [๑๘๒] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีนั้นแลมีความรู้ จบเวท รู้ธรรมแล้วก็ไม่อาศัย มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่หาใครๆ ในโลกนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า มีความรู้ ในคำว่า มุนีนั้นแลมีความรู้ จบเวท อธิบายว่า มีความรู้ คือ ถึงวิชชา มีญาณ มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่อง ทำลายกิเลส คำว่า จบเวท อธิบายว่า ญาณในมรรค ๔ ตรัสเรียกว่า เวท... เป็นผู้ ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง ก้าวล่วงเวทนาทั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท๑- รวม ความว่า มุนีนั้นแลมีความรู้ จบเวท คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วก็ไม่อาศัย ได้แก่ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว คือ รู้แล้ว คือ ทราบแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้วว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ ความอาศัย ๒ อย่าง คือ (๑) ความอาศัยด้วยอำนาจ ตัณหา (๒) ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ มุนีละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความอาศัยด้วยอำนาจ ทิฏฐิได้แล้ว ไม่อาศัยตา ไม่อาศัยหู... ไม่อาศัยจมูก... ไม่อาศัย คือ ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้และธรรมารมณ์ ที่พึงรู้แจ้ง มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า รู้ธรรมแล้วก็ไม่อาศัย คำว่า มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ อธิบายว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในอายตนะทั้งภายในและภายนอก มุนีละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ มุนีชื่อว่าเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในโลกโดยชอบ... @เชิงอรรถ : @ ดูรายละเอียดข้อ ๘๑/๒๔๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร มุนีละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ มุนีชื่อว่าเที่ยวไป อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปในโลกโดยชอบ รวม ความว่า มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ คำว่า ย่อมไม่ใฝ่หาใครๆ ในโลกนี้ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความ ใฝ่หา คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก...อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความใฝ่หานี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบ ได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้นย่อมไม่ ใฝ่หาใครๆ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ รวมความว่า ย่อมไม่ใฝ่หาใครๆ ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า มุนีนั้นแลมีความรู้ จบเวท รู้ธรรมแล้วก็ไม่อาศัย มุนีนั้นอยู่ในโลกโดยชอบ ย่อมไม่ใฝ่หาใครๆ ในโลกนี้ [๑๘๓] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก
ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง
คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว ได้แก่ ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ขวนขวายอย่างใด ผู้ตั้งใจอย่างใด ผู้มีประการอย่างใด ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด จะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือมนุษย์ก็ตาม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า กาม ได้แก่ กาม ๒ อย่าง แบ่งตามหมวด คือ (๑) วัตถุกาม (๒) กิเลสกาม... เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม... เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม คำว่า เครื่องข้อง ได้แก่ เครื่องข้อง ๗ อย่าง คือ ๑. เครื่องข้องคือราคะ ๒. เครื่องข้องคือโทสะ ๓. เครื่องข้องคือโมหะ ๔. เครื่องข้องคือมานะ ๕. เครื่องข้องคือทิฏฐิ ๖. เครื่องข้องคือกิเลส ๗. เครื่องข้องคือทุจริต คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คำว่า และเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลก อธิบายว่า ผู้ใด ข้ามได้แล้ว คือ ข้ามไปได้แล้ว ข้ามพ้นได้แล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วงเลยแล้วซึ่งกามและเครื่องข้องที่ละได้ ยาก คือ ประพฤติล่วงได้ยาก ก้าวข้ามได้ยาก ก้าวพ้นได้ยาก ก้าวล่วงได้ยาก ประพฤติล่วงได้ยากในโลกแล้ว รวมความว่า ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ ยากในโลกได้แล้ว คำว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ อธิบายว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ แปรผันไป หรือเมื่อสิ่งนั้นแปรผันไป ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเราแปรผันไป” ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “หูของเรา... จมูกของเรา... ลิ้นของเรา... กายของเรา... รูปของเรา... เสียงของเรา... กลิ่นของเรา... รสของเรา... โผฏฐัพพะของเรา... ตระกูลของเรา... หมู่คณะของเรา... อาวาสของเรา... ลาภของเรา... ยศของเรา... สรรเสริญของเรา... ความสุขของเรา... จีวรของเรา... บิณฑบาตของเรา... เสนาสนะของเรา... คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของ เรา... มารดาของเรา... บิดาของเรา... พี่ชายน้องชายของเรา... พี่สาวน้องสาวของเรา... บุตรของเรา... ธิดาของเรา... มิตรของเรา... อำมาตย์ของเรา... ญาติและผู้ร่วมสาย โลหิตของเราแปรผันไป” รวมความว่า ไม่เศร้าโศก คำว่า ไม่ละโมบ ได้แก่ ไม่ละโมบ คือ ไม่มุ่งหวัง ไม่เข้าไปเพ่ง ไม่เพ่งถึง ไม่เพ่งเล็งถึง อีกนัยหนึ่ง ผู้นั้น ย่อมไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่ต้องเข้าถึงกำเนิด จึงชื่อว่าไม่ละโมบ รวมความว่า ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยตัณหาตรัสเรียกว่ากระแส
คำว่า เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า กระแส คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า กระแสนี้ ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า เป็นผู้ ตัดกระแสได้แล้ว คำว่า ไม่มีเครื่องผูก ได้แก่ เครื่องผูก ๗ อย่าง คือ ๑. เครื่องผูกคือราคะ ๒. เครื่องผูกคือโทสะ ๓. เครื่องผูกคือโมหะ ๔. เครื่องผูกคือมานะ ๕. เครื่องผูกคือทิฏฐิ ๖. เครื่องผูกคือกิเลส ๗. เครื่องผูกคือทุจริต เครื่องผูกเหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีเครื่องผูก รวมความว่า เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ผู้ใดข้ามกามและเครื่องข้องที่ล่วงได้ยากในโลกได้แล้ว ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละโมบ เป็นผู้ตัดกระแสได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก [๑๘๔] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้ ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบเที่ยวไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อธิบาย ว่ากิเลสเหล่าใดพึงปรารภสังขารที่เป็นอดีตเกิดขึ้น เธอจงให้กิเลสเหล่านั้นแห้งไป เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้หมดพืชพันธุ์ ละ บรรเทา ทำให้ หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วน เบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง กรรมาภิสังขารที่เป็นอดีตซึ่งยังไม่ให้ผลเหล่าใด เธอจงทำ กรรมาภิสังขารเหล่านั้นให้แห้งไป เหือดแห้งไป คือ แห้งเหือดไป แห้งหายไป ทำให้ หมดพืชพันธุ์ ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยอนาคตตรัสเรียกว่าส่วนภายหลัง
คำว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ อธิบายว่า อนาคต ตรัสเรียกว่า ส่วนภายหลัง เครื่องกังวลเหล่าใดพึงปรารภสังขารในอนาคตเกิดขึ้น ได้แก่ เครื่องกังวลคือ ราคะ เครื่องกังวลคือโทสะ เครื่องกังวลคือโมหะ เครื่องกังวลคือมานะ เครื่องกังวล คือทิฏฐิ เครื่องกังวลคือกิเลส เครื่องกังวลคือทุจริต เครื่องกังวลเหล่านี้อย่าได้มีแก่เธอ คือ เธออย่าทำให้ปรากฏ อย่าให้เกิด อย่าให้เกิดขึ้น อย่าให้บังเกิด อย่าให้บังเกิดขึ้น ได้แก่ จงละ บรรเทา ทำให้หมด สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีก รวมความว่า เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลัง อย่าได้มีแก่เธอ คำว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้ อธิบายว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่เป็นปัจจุบัน ตรัสเรียกว่า ส่วนท่ามกลาง เธอจักไม่ถือ คือ ไม่ยึด ไม่ถือ ไม่ยึดถือ ไม่ใยดี ไม่พูดถึง ไม่ชอบใจสังขารที่ เป็นปัจจุบันด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจทิฏฐิ คือ จักละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความยินดี การบ่นถึง ความติดใจ ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น รวมความว่า ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบเที่ยวไป อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ... ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ... ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ เข้าไประงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับอกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว จักเที่ยวไป คือ จักอยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไป รวมความว่า ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบเที่ยวไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เธอจงทำกิเลสที่ปรารภสังขารในส่วนเบื้องต้นให้เหือดแห้งไป เครื่องกังวลที่ปรารภสังขารในส่วนภายหลังอย่าได้มีแก่เธอ ถ้าเธอจักไม่ถือสังขารในส่วนท่ามกลางไว้ ก็จักเป็นผู้เข้าไปสงบเที่ยวไป [๑๘๕] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง และผู้ใดไม่เศร้าโศก เพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา ผู้นั้นแลย่อมไม่เสื่อมในโลก
ว่าด้วยนามรูป
คำว่า โดยประการทั้งปวง ในคำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง ได้แก่ ทุกสิ่ง โดยอาการทั้งหมด ทุกอย่าง ไม่เหลือ ไม่มีเหลือโดยประการทั้งปวง คำว่า โดยประการทั้งปวง นี้ เป็นคำกล่าว รวมๆ ไว้ทั้งหมด อรูปขันธ์ ๔ ชื่อว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่ารูป คำว่า ผู้ใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของ เราด้วยอำนาจทิฏฐิ... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูปย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการ ทั้งปวง อธิบายว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูป ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง คือ ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูป ผู้ใดละ ได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วย ไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด โดยประการทั้งปวง
ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก
คำว่า และผู้ใดไม่เศร้าโศกเพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบายว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่แปรผันไป หรือเมื่อสิ่งนั้นแปรผันไปแล้วก็ไม่เศร้าโศก คือ ไม่เศร้า โศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเรา แปรผันไป” ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “หูของเรา... จมูกของเรา... ลิ้นของเรา... กายของเรา... รูปของเรา... เสียงของเรา... กลิ่นของเรา... รสของเรา... โผฏฐัพพะของเรา... ตระกูลของเรา... หมู่คณะของเรา... อาวาสของเรา... ลาภของเรา... ญาติและผู้ร่วมสายโลหิตของเราแปรผันไป” รวมความว่า และผู้ใดไม่เศร้าโศกเพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ผู้ถูกทุกขเวทนาอันไม่สำราญกระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึงแล้วก็ไม่ เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล รวมความว่า และผู้ใดไม่เศร้าโศกเพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา อย่างนี้บ้าง อีกนัยหนึ่ง ผู้ถูกโรคตากระทบ ครอบงำ... ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด กระทบ ครอบงำ ย่ำยี มาถึงแล้ว ก็ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอก พร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหล รวมความว่า และผู้ใดไม่เศร้าโศกเพราะไม่มีความยึด ถือว่าเป็นของเรา อย่างนี้บ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

อีกนัยหนึ่ง เมื่อนามรูปไม่มี ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ก็ไม่เศร้าโศก คือ ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “นามรูปได้มีแก่เราแล้วหนอ นามรูปนั้นไม่มีแก่เราหนอ นามรูปพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้นามรูปนั้นหนอ” รวม ความว่า และผู้ใดไม่เศร้าโศกเพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยความเสื่อมมีแก่ผู้ยึดถือ
คำว่า ผู้นั้นแลย่อมไม่เสื่อมในโลก อธิบายว่า ผู้ใดมีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไรๆ ว่า “สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น” ผู้นั้นย่อมมีความเสื่อม สมจริงดังภาษิตนี้ว่า เธอเสื่อมแล้วจากรถ ม้า แก้วมณี และตุ้มหู เสื่อมแล้วจากบุตรภรรยา และโภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ใช้สอยทั้งปวง เหตุไร เธอจึงไม่เดือดร้อน ในเวลาเศร้าโศก โภคทรัพย์ย่อมละบุคคลไปก่อนบ้าง บุคคลย่อมละโภคทรัพย์ไปก่อนบ้าง โจรราชผู้ใคร่กาม หมู่ชนผู้มีโภคทรัพย์ เป็นผู้ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ขึ้นเต็มดวงแล้วก็ลับไป ดวงอาทิตย์กำจัดความมืดแล้วก็ลับไป ศัตรูเอ๋ยเรารู้จักโลกธรรมแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศก ในเวลาเศร้าโศก๑- ผู้ใดไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจเชื่อ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไรๆ ว่า “สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น” ผู้นั้นย่อมไม่มีความเสื่อม สมจริงดังภาษิตนี้ว่า สมณะ ท่านยินดีหรือ เราได้อะไรมาจึงยินดีเล่า ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น ท่านเศร้าโศกหรือ สมณะ เราเสียอะไรไปเล่า ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งไม่ยินดี และไม่เศร้าโศกหรือ สมณะ อย่างนั้น ผู้มีอายุ @เชิงอรรถ : @ ขุ.ชา. ๒๗/๒-๓/๑๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

เป็นเวลานานหนอ พวกเราจึงได้พบภิกษุผู้เป็นพราหมณ์ ผู้ดับกิเลส ไม่ยินดี ไม่มีทุกข์ ข้ามตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในโลก๑- รวมความว่า ผู้นั้นแลย่อมไม่เสื่อมในโลก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราในนามรูป ย่อมไม่มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง และผู้ใดไม่เศร้าโศก เพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา ผู้นั้นแลย่อมไม่เสื่อมในโลก [๑๘๖] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่าของๆ เราไม่มี คำว่า ผู้ใด ในคำว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ อธิบายว่า ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความชอบใจ ความน้อมใจเชื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไรๆ ว่า “สิ่งนี้ของเรา หรือ สิ่งนี้ของคนอื่น” ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพใด ได้แก่ กิเลสเครื่องกังวลนั้นพระอรหันตขีณาสพใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๙๙/๖๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยอิทัปปัจจยตา
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย กายนี้ มิใช่ของพวกเธอ ทั้งมิใช่ของคนอื่น ภิกษุทั้งหลาย กายนี้กรรมเก่าควบคุมไว้ จิตประมวลไว้ พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวก ผู้ได้เรียนรู้แล้ว ย่อมมนสิการ ปฏิจจสมุปบาทอย่างดี โดยแยบคายในกายนั้นว่า “เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี... ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้นมีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์ ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการอย่างนี้” รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่นย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า โมฆราช เธอจงพิจารณาเห็นโลกโดยความว่างเปล่า เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พึงถอนความตามเห็นว่ามีตัวตนเสีย เป็นผู้ข้ามมัจจุราชเสียได้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลพิจารณาโลกอยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงไม่เห็น๑- รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สิ่งใดมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละ สิ่งนั้นเสียเถิด สิ่งที่พวกเธอละได้แล้วนั้นแลจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่ามิใช่ของพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ของ พวกเธอ เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสียเถิด รูปที่พวกเธอละได้แล้วนั้นแลจักมีเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณที่พวกเธอ ละได้แล้วนั้นแล จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ขุ.สุ. ๒๕/๑๑๒๖/๕๔๙, ขุ.จู. ๓๐/๘๘/๑๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

พวกเธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนพึงเอาหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวัน วิหารนี้ไปเผา หรือจัดการไปตามรูปเรื่อง พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้บ้างไหมว่า “คนย่อมเอาพวกเราไปเผาหรือจัดการไปตามรูปเรื่อง” ความดำริเช่นนั้นไม่มีเลย พระเจ้าข้า ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุไร เพราะนั่นมิใช่ตน หรือของเนื่องด้วยตนของพวกข้าพระองค์เลย พระเจ้าข้า อย่างเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละ สิ่งนั้นเสีย สิ่งที่พวกเธอละได้แล้วนั้นจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอด กาลนาน ภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่ามิใช่ของพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย รูปมิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสียเถิด รูปที่พวกเธอละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มิใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสียเถิด วิญญาณที่พวกเธอละได้แล้วจักมีเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอดกาลนาน รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง สมจริงดังภาษิตนี้ว่า คามณี ภัยย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มองเห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมล้วนๆ และความสืบต่อแห่งสังขารล้วนๆ ตามเป็นจริง เมื่อใดบุคคลมองเห็นขันธโลกว่า เสมอด้วยหญ้าและท่อนไม้ ด้วยปัญญา เมื่อนั้น เขาย่อมไม่ปรารถนาอะไรอื่น นอกจากความไม่ปฏิสนธิ รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง นางวชิราภิกษุณีได้กล่าวคำนี้กับมารผู้ชั่วช้าว่า มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อใครหนอว่าเป็นสัตว์ ร่างกายที่เป็นกองแห่งสังขารล้วนๆ นี้บัณฑิตจะเรียกว่า สัตว์ไม่ได้เลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่าสัตว์ก็มีได้ เหมือนเสียงพูดว่ารถย่อมมีได้ เพราะการคุมกันแห่งส่วนประกอบ อนึ่งทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และ แปรผันไป นอกจากทุกข์ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรอื่นดับไปเลย๑- รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า) ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้เองแล ภิกษุค้น หารูปตลอดคติแห่งรูปที่มีอยู่ ค้นหาเวทนา... สัญญา... สังขาร... ค้นหาวิญญาณ ตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ เมื่อภิกษุนั้นค้นหารูปตลอดคติแห่งรูป ค้นหาเวทนา... สัญญา... สังขาร... ค้นหาวิญญาณตลอดคติแห่งวิญญาณที่มีอยู่ ความถือว่า “เรา ของเรา หรือมีเรา” ของภิกษุนั้นไม่มีเลย๒- รวมความว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง
ว่าด้วยโลกว่าง
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลคำนี้กับพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่าโลกว่าง โลกว่าง” ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุแค่ไหนหนอแล จึงตรัสว่า “โลกว่าง” อานนท์ เพราะโลกว่างจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า “โลกว่าง” อานนท์ อะไรเล่าที่ว่างจากตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน อานนท์ ตาว่างจาก ตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปว่าง... จักขุวิญญาณว่าง... จักขุสัมผัสว่าง คือ ความ เสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขก็มิใช่ เป็นทุกข์ก็มิใช่ ที่เกิดขึ้นเพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่าง... หู... เสียง... จมูก... กลิ่น... ลิ้น... รส... กาย... โผฏฐัพพะ... ใจ... ธรรมารมณ์... มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส ก็ว่าง คือ ความเสวย อารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขก็มิใช่ เป็นทุกข์ก็มิใช่ ที่เกิดขึ้นเพราะ @เชิงอรรถ : @ สํ.ส. ๑๕/๑๗๑/๑๖๓ @ สํ.สฬา. ๑๘/๒๔๖/๑๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

มโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างจากตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน อานนท์ เพราะโลกว่าง จากตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า “โลกว่าง” รวมความว่า กิเลส เครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด อย่างนี้บ้าง คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ในคำว่า ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความยึดถือ ว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา ๒ อย่าง คือ (๑) ความยึดถือว่า เป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (๒) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ ชื่อว่า ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา... นี้ชื่อว่าความยึดถือว่าเป็นของ เราด้วยอำนาจทิฏฐิ ผู้นั้นละความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความยึดถือ ว่าเป็นของเราด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จึงไม่พบ ไม่ได้ คือ ไม่สมหวัง ไม่ได้เฉพาะ ความยึดถือว่าเป็นของเรา รวมความว่า ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความยึดถือว่าเป็นของเรา คำว่า ย่อมไม่เศร้าโศกว่าของๆ เราไม่มี อธิบายว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ แปรผันไปแล้ว หรือ เมื่อสิ่งนั้นแปรผันไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก คือ ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า “ตาของเรา แปรผันไป”... หูของเรา... ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่คร่ำครวญ ไม่ตีอกพร่ำเพ้อ ไม่ถึงความหลงใหลว่า... “ผู้ร่วมสายโลหิตของเราแปรผันไป” รวมความว่า ย่อมไม่ เศร้าโศกว่าของๆ เราไม่มี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า กิเลสเครื่องกังวลว่า สิ่งนี้ของเรา หรือสิ่งนี้ของคนอื่น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นเมื่อไม่ได้ความถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่าของๆ เราไม่มี [๑๘๗] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ว่าด้วยผู้ไม่ริษยา
คำว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ อธิบายว่า ความไม่ริษยา เป็นอย่างไร คือ คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ริษยา คือ ย่อมอิจฉา ชิงชัง ผูกริษยาในลาภ สักการะ การทำความเคารพ การนับถือ การกราบไหว้ และการบูชาของผู้อื่น ความ ริษยา การทำความริษยา ความอิจฉา กิริยาที่อิจฉา ภาวะที่อิจฉา ความเกลียดชัง กิริยาที่เกลียดชัง ภาวะที่เกลียดชัง เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความริษยา ความริษยานี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้น ตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ริษยา คำว่า ไม่ติดใจ อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความติดใจ ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ ความติดใจนี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่ติดใจ เขาไม่ติดในรูป... ไม่ติดใจ คือ ไม่กำหนัด ไม่สยบ ไม่หมกมุ่นในรูปที่เห็น เสียง ที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง ได้แก่ เป็นผู้คลาย ความติดใจแล้ว ปราศจากความติดใจแล้ว สละความติดใจแล้ว คายความติดใจแล้ว ปล่อยวางความติดใจแล้ว ละความติดใจแล้ว สลัดทิ้งความติดใจแล้ว เป็นผู้คลาย ความกำหนัดแล้ว ปราศจากราคะแล้ว สละราคะแล้ว คายราคะแล้ว ปล่อยวางราคะ แล้ว ละราคะแล้ว สลัดทิ้งราคะได้แล้ว เป็นผู้หมดความอยากแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ รวมความว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ
ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว
คำว่า ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง อธิบายว่า ตัณหาตรัส เรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ... อภิชฌา อกุศลมูล คือโลภะ ตัณหาที่ตรัสเรียกว่าความหวั่นไหวนี้ บุคคลใดละได้แล้ว คือ ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคล นั้นตรัสเรียกว่า ไม่หวั่นไหว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว บุคคลนั้นย่อมไม่ หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะ เสื่อมลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง จึงชื่อว่าไม่หวั่นไหว คำว่า สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง อธิบายว่า อายตนะ ๑๒ ตรัสเรียกว่า สิ่งทั้งปวง คือ ตาและรูป... ใจและธรรมารมณ์ เมื่อใด ความกำหนัดด้วยความพอใจในอายตนะทั้งภายในและภายนอก บุคคลใด ละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ บุคคลนั้นตรัสเรียกว่า สม่ำเสมอใน อายตนะทั้งปวง เขาเป็นผู้มั่นคงในอายตนะทั้งปวง มีตนเป็นกลางในอายตนะทั้งปวง วางเฉยในอายตนะทั้งปวง รวมความว่า ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง คำว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น อธิบายว่า เราถูกถามถึง คือ ถูกขอ ถูกเชื้อเชิญ ถูกขอให้แสดงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอก อานิสงส์ ๔ เหล่านี้ คือ กล่าว บอก... ประกาศว่า บุคคลผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง รวมความว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่ หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ติดใจ ไม่หวั่นไหว สม่ำเสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่หวั่นไหว จึงบอกอานิสงส์นั้น [๑๘๘] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คำว่า ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก... อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ตัณหาที่ตรัสเรียกว่า ความหวั่นไหว นี้ บุคคลใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว บุคคล นั้นตรัสเรียกว่า ผู้ไม่หวั่นไหว เพราะเป็นผู้ละความหวั่นไหวได้แล้ว จึงชื่อว่าผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลย่อมไม่หวั่นไหว คือ ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อนไหว ไม่สะท้าน ไม่สั่นสะท้าน เพราะได้ลาภ เพราะเสื่อม ลาภบ้าง เพราะได้ยศ เพราะเสื่อมยศบ้าง เพราะสรรเสริญ เพราะนินทาบ้าง เพราะสุข เพราะทุกข์บ้าง รวมความว่า ผู้ไม่หวั่นไหว คำว่า รู้แจ่มแจ้ง ได้แก่ รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง คือ รู้เฉพาะ แทงตลอดว่า “สังขาร ทั้งปวงไม่เที่ยง... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์”... รู้ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง คือ รู้เฉพาะ แทงตลอดว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็น ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” รวมความว่า ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง คำว่า อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มี อธิบายว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร๑- อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เขาละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ อภิสังขารเขาละได้แล้ว ตัดขาด ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มี คำว่า เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร อธิบายว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร ตรัสเรียกว่า อภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอาเนญชาภิสังขาร เขาละได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ด้วยเหตุใด ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เขาเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถข้อ ๒๕/๑๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการปรารภอภิสังขาร มีใจเป็นอิสระ(จากอภิสังขาร)อยู่ รวม ความว่า เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร คำว่า ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง อธิบายว่า ราคะ โทสะ โมหะ... กิเลสทั้งหลาย เป็นเหตุก่อภัย เพราะเป็นผู้ละราคะซึ่งเป็นเหตุก่อภัยเสียได้... เพราะเป็นผู้ละกิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นเหตุก่อภัย เขาจึงมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ ทั้งปวง คือ มองเห็นความปลอดภัยในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีเสนียดจัญไรในที่ ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีอุปัทวะในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่มีอุปสรรคในที่ทั้งปวง มองเห็นความไม่ติดขัดในที่ทั้งปวง รวมความว่า ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ ทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า อภิสังขารไรๆ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ่มแจ้ง เขางดเว้นแล้วจากการปรารภอภิสังขาร ย่อมมองเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง [๑๘๙] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า) มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง
ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี
คำว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่า เลย อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ คือ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด... ผู้ก้าวล่วง กิเลสเครื่องข้องและตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี มุนีย่อมไม่กล่าวถึง คือ ไม่พูด ไม่บอก ไม่แสดง ไม่ชี้แจงว่า “เราเลิศกว่าเขา เราเสมอเขา หรือเราด้อยกว่าเขา” รวมความว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่ เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบราคะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโทสะ ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะสงบโมหะ... {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค]

๑๕. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส

ชื่อว่าเป็นผู้สงบ คือ เข้าไปสงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ ปราศจาก สงบระงับ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คำว่า คลายความตระหนี่ อธิบายว่า มัจฉริยะ ๕ อย่าง คือ (๑) อาวาส- มัจฉริยะ... ความมุ่งแต่จะได้ ตรัสเรียกว่า ความตระหนี่ ความตระหนี่นี้ มุนีใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว มุนีนั้น ตรัสเรียกว่า คลายความตระหนี่ คือ ปราศจากความตระหนี่ สละความตระหนี่ คายความตระหนี่ ปล่อยความตระหนี่ ละความตระหนี่ สลัดทิ้งความตระหนี่ รวมความว่า มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ คำว่า ไม่ยึดถือ ในคำว่า ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ... ภพ... สงสาร ไม่ยึดถือ คือ ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งวัฏฏะ รวมความว่า ไม่ยึดถือ คำว่า ไม่สลัดทิ้ง อธิบายว่า ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึง ความไม่มีอีกซึ่งรูป คือ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่ทำให้ถึงความ ไม่มีอีก ซึ่งเวทนา... สัญญา...สังขาร... วิญญาณ... คติ... การถือกำเนิด... ปฏิสนธิ... ภพ... สงสาร... วัฏฏะ รวมความว่า ไม่สลัดทิ้ง คำว่า พระผู้มีพระภาค เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ... คำว่า พระผู้มี- พระภาค นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า มุนีย่อมไม่กล่าวถึงตนในหมู่คนที่เสมอกัน ด้อยกว่า (หรือ) เลิศกว่าเลย มุนีนั้น เป็นผู้สงบ คลายความตระหนี่ ไม่ยึดถือ ไม่สลัดทิ้ง๑-
อัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ ๑๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ ขุ. สุ. ๒๕/๙๖๑/๕๒๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๙ หน้า : ๕๓๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๙ หน้าที่ ๔๘๐-๕๓๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=29&A=14281 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=29&siri=15              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=9094&Z=10136&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=788              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_29 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu29 https://84000.org/tipitaka/english/?index_29


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]