ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๖. ฉักกนิทเทส

๖. ฉักกนิทเทส
[๙๔๔] บรรดาฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน วิวาทมูล ๖ คือ ๑. โกธะ (โกรธ) ๒. มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ๓. อิสสา (ริษยา) ๔. สาเถยยะ (โอ้อวด) ๕. ปาปิจฉตา (ปรารถนาลามก) ๖. สันทิฏฐิปรมาสิตา (ยึดถือแต่ความเห็นของตน) เหล่านี้ชื่อว่าวิวาทมูล ๖ (๑) ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ เป็นไฉน ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ คือ ๑. ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนักแห่งจิต ที่อาศัยกามคุณในรูปที่น่าชอบใจ ๒. ความกำหนัด ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ ๓. ความกำหนัด ฯลฯ ในกลิ่นที่น่าชอบใจ ๔. ความกำหนัด ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ ๕. ความกำหนัด ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ ๖. ความกำหนัด ฯลฯ ความกำหนัดนัก ความกำหนัดนัก แห่งจิตที่อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ (๒) วิโรธวัตถุ ๖ เป็นไฉน วิโรธวัตถุ ๖ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๕๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๖. ฉักกนิทเทส

๑. ความอาฆาต ความกระทบแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานในรูปที่ไม่น่าชอบใจ ๒. ความอาฆาต ฯลฯ ในเสียงที่ไม่น่าชอบใจ ๓. ความอาฆาต ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ ๔. ความอาฆาต ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ ๕. ความอาฆาต ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ ๖. ความอาฆาต ฯลฯ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความที่จิตไม่เบิกบานใน ธรรมารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ ๖ (๓) ตัณหากาย ๖ เป็นไฉน ตัณหากาย ๖ คือ ๑. รูปตัณหา (ตัณหาในรูป) ๒. สัททตัณหา (ตัณหาในเสียง) ๓. คันธตัณหา (ตัณหาในกลิ่น) ๔. รสตัณหา (ตัณหาในรส) ๕. โผฏฐัพพตัณหา (ตัณหาในโผฏฐัพพะ) ๖. ธัมมตัณหา (ตัณหาในธรรม) เหล่านี้ชื่อว่าตัณหากาย ๖ (๔) [๙๔๕] อคารวะ ๖ เป็นไฉน อคารวะ ๖ คือ ๑. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ๒. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรม ๓. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์ ๔. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในสิกขา ๕. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาท ๖. บุคคลไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในปฏิสันถาร เหล่านี้ชื่อว่าอคารวะ ๖ (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๖. ฉักกนิทเทส

ปริหานิยธรรม ๖ เป็นไฉน ปริหานิยธรรม ๖ คือ ๑. กัมมารามตา (ความยินดีในการงาน) ๒. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา) ๓. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ) ๔. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่) ๕. สังสัคคารามตา (ความยินดีในการติดต่อเกี่ยวข้อง) ๖. ปปัญจารามตา (ความยินดีในธรรมเป็นเหตุเนิ่นช้า) เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม ๖ (๖) [๙๔๖] ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. กัมมารามตา (ความยินดีในการทำงาน) ๒. ภัสสารามตา (ความยินดีในการสนทนา) ๓. นิททารามตา (ความยินดีในการนอนหลับ) ๔. สังคณิการามตา (ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่) ๕. โทวจัสสตา (ความเป็นผู้ว่ายาก) ๖. ปาปมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว) เหล่านี้ชื่อว่าปริหานิยธรรม ๖ (๗) โสมนัสสุปวิจาร๑- ๖ เป็นไฉน โสมนัสสุปวิจาร ๖ คือ ๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้วครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ ๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ โสมนสฺเสน สทฺธึ อุปจรนฺตีติ โสมนสฺสุปวิจารา (อภิ.วิ.อ. ๙๔๖/๕๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๖. ฉักกนิทเทส

๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ ๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้ง แห่งโสมนัส เหล่านี้ชื่อว่าโสมนัสสุปวิจาร ๖ (๘) โทมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน โทมนัสสุปวิจาร ๖ คือ ๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ ๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ ๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น ที่ตั้งแห่งโทมนัส เหล่านี้ชื่อว่าโทมนัสสุปวิจาร ๖ (๙) อุเปกขูปวิจาร ๖ เป็นไฉน อุเปกขูปวิจาร ๖ คือ ๑. บุคคลเห็นรูปทางตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๒. บุคคลฟังเสียงทางหู ฯลฯ ๓. บุคคลดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ๔. บุคคลลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ๕. บุคคลถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ ๖. บุคคลรู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้วครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อันเป็น ที่ตั้งแห่งอุเบกขา เหล่านี้ชื่อว่าอุเปกขูปวิจาร ๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๖. ฉักกนิทเทส

[๙๔๗] เคหสิตโสมนัส๑- ๖ เป็นไฉน เคหสิตโสมนัส ๖ คือ ๑. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณในรูป อันเป็นที่ชอบใจ ๒. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ ๓. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ ๔. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ ๕. ความสำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ชอบใจ ๖. ความสำราญทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ ที่สำราญเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณใน ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ชอบใจ เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโสมนัส ๖ (๑๑) เคหสิตโทมนัส๒- ๖ เป็นไฉน เคหสิตโทมนัส ๖ คือ ๑. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวย อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัย กามคุณในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ @เชิงอรรถ : @ โสมนัส หมายถึงสุขทางใจที่อาศัยกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑) @ โทมนัสคือทุกข์ทางใจที่อาศัยกามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๖. ฉักกนิเทส

๒. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่เป็นที่ชอบใจ ๓. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ ๔. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ ๕. ความไม่สำราญทางใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ ๖. ความไม่สำราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวย อารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยา ที่เสวยอารมณ์ที่ไม่สำราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่ อาศัยกามคุณในธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่ชอบใจ เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตโทมนัส ๖ (๑๒) เคหสิตุเปกขา๑- ๖ เป็นไฉน เคหสิตุเปกขา ๖ คือ ๑. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๒. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๓. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๔. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๕. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๖. ความสำราญทางใจก็มิใช่ ความไม่สำราญทางใจก็มิใช่ ความ เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวย อารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัสที่อาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา เหล่านี้ชื่อว่าเคหสิตุเปกขา ๖ (๑๓) @เชิงอรรถ : @ อุเปกขาเวทนาที่สัมปยุตด้วยความไม่รู้ ได้แก่ อัญญาณุเปกขาที่อาศัยกามคุณ ๕ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๗/๕๕๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ [๑๗. ขุททกวัตถุวิภังค์]

๗. สัตตกนิทเทส

[๙๔๘] ทิฏฐิ๑- ๖ เป็นไฉน ทิฏฐิ ๖ คือ ๑. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่ ๒. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี ๓. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้ ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน) ๔. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) ได้ด้วยอัตตา (ความมีตัวตน) ๕. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาได้ ด้วยอนัตตา (ความไม่มีตัวตน) ๖. ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้น เป็นผู้กล่าว เป็นผู้รู้ เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วในภพ นั้นๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่มีมาแล้วในอดีต อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นสภาวะที่เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา เหล่านี้ชื่อว่าทิฏฐิ ๖ (๑๔)
ฉักกนิทเทส จบ
๗. สัตตกนิทเทส
[๙๔๙] บรรดาสัตตกมาติกาเหล่านั้น อนุสัย ๗ เป็นไฉน อนุสัย ๗ คือ ๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือปฏิฆะ) ๓. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดานคือมานะ) @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิ ความเห็นผิด ในที่นี้หมายถึงสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.วิ.อ. ๙๔๘/๕๕๑-๕๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๕ หน้า : ๖๐๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๕ หน้าที่ ๕๙๙-๖๐๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=35&A=16973 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=35&siri=71              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=13092&Z=13189&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=991              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]