ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ
[๑๓๒] บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ เป็นอสัตบุรุษ [๑๓๓] บุคคลผู้เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเองเป็น ผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและชักชวน ผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ตนเอง เป็นผู้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่น ให้เสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ [๑๓๔] บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลัก ทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสัตบุรุษ [๑๓๕] บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น ขาดจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน ผู้อื่นให้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาทและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการเสพ ของมึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๐๑-๒๐๖/๓๒๐-๓๒๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๓}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๓๖] บุคคลผู้เป็นคนชั่ว๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็น มิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนชั่ว [๑๓๗] บุคคลผู้เป็นคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเองเป็น ผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกามและชักชวน ผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้พูดเท็จและชักชวนผู้อื่นให้พูดเท็จ ตนเองเป็น ผู้พูดส่อเสียดและชักชวนผู้อื่นให้พูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบและชักชวน ผู้อื่นให้พูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้พูดเพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้พูดเพ้อเจ้อ ตนเอง เป็นผู้โลภอยากได้ของผู้อื่นและชักชวนผู้อื่นให้โลภอยากได้ของผู้อื่น ตนเองเป็นผู้มี จิตพยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่น ให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนชั่วที่ยิ่งกว่าคนชั่ว [๑๓๘] บุคคลผู้เป็นคนดี๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลัก ทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้น ขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็น สัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดี [๑๓๙] บุคคลผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น ขาดจากการลักทรัพย์ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามและชักชวน ผู้อื่นให้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จและ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๐๗-๒๐๘/๓๒๗-๓๒๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๔}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

ชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเท็จ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด และชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการพูด คำหยาบและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจาก การพูดเพ้อเจ้อและชักชวนผู้อื่นให้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ตนเองเป็นผู้ไม่โลภ อยากได้ของผู้อื่นและชักชวนผู้อื่นไม่ให้โลภอยากได้ของผู้อื่น ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่ พยาบาทและชักชวนผู้อื่นไม่ให้มีจิตพยาบาท ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่น ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นคนดีที่ยิ่งกว่าคนดี [๑๔๐] บุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฯลฯ๑- เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคล นี้เรียกว่า ผู้มีธรรมชั่ว [๑๔๑] บุคคลผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ตนเอง เป็นผู้ลักทรัพย์และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์ ฯลฯ๒- ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและชักชวน ผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมชั่วที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมชั่ว [๑๔๒] บุคคลผู้มีธรรมดี เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลัก ทรัพย์ ฯลฯ๓- เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมดี [๑๔๓] บุคคลผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ๔- ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีธรรมดีที่ยิ่งกว่าบุคคลผู้มีธรรมดี @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๖ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๗ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๘ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้ @ ดูความเต็มในข้อ ๑๓๙ หน้า ๑๘๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๕}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๔๔] บุคคลผู้มีแต่โทษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษ ประกอบด้วยวจีกรรมที่ มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีแต่โทษ [๑๔๕] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนมาก๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษ เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่มีโทษเป็นส่วนมาก ไม่มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษเป็นส่วนมาก [๑๔๖] บุคคลผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษ เป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยวจีกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษเป็นส่วนมาก มีโทษเป็นส่วนน้อย บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทษเป็นส่วนน้อย [๑๔๗] บุคคลผู้ไม่มีโทษ๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วย วจีกรรมที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรมที่ไม่มีโทษ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่มีโทษ [๑๔๘] บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู๒- เป็นไฉน บุคคลใดบรรลุธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นอุคฆฏิตัญญู [๑๔๙] บุคคลผู้เป็นวิปจิตัญญู๒- เป็นไฉน บุคคลใดเมื่อเขาอธิบายเนื้อความแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร จึงบรรลุธรรม บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นวิปจิตัญญู @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๕/๒๐๓-๒๐๔ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๖}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๕๐] บุคคลผู้เป็นเนยยะ๑- เป็นไฉน บุคคลใดบรรลุธรรมโดยลำดับอย่างนี้ คือ โดยการแสดง การถาม การ มนสิการโดยแยบคาย การเสพ การคบ การเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้เป็นเนยยะ [๑๕๑] บุคคลผู้เป็นปทปรมะ๑- เป็นไฉน บุคคลใดฟังก็มาก กล่าวก็มาก ทรงจำก็มาก บอกสอนก็มาก แต่ไม่ได้บรรลุ ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นปทปรมะ [๑๕๒] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องแต่ไม่รวดเร็ว [๑๕๓] บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาก็ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ตอบได้รวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง [๑๕๔] บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว [๑๕๕] บุคคลผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว๒- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกถามปัญหาย่อมตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว บุคคล นี้เรียกว่า ผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว [๑๕๖] ในบทมาติกานั้น บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก๓- เป็นไฉน ๑. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยและไม่มีประโยชน์ ทั้งหมู่ ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้นับ ว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๓/๒๐๒ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๒/๒๐๑-๒๐๒ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๙/๒๐๗-๒๐๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

๒. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยแต่มีประโยชน์และหมู่ผู้ฟัง ก็เป็นผู้ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้นับ ว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน ๓. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากแต่ไม่มีประโยชน์ และหมู่ ผู้ฟังก็เป็นผู้ไม่ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่น นี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน ๔. ธรรมกถึกบางคนในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากและมีประโยชน์ และหมู่ ผู้ฟังก็เป็นผู้ฉลาดในเรื่องที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึกเช่นนี้ นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังเช่นนี้เหมือนกัน บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวกเหล่านี้ [๑๕๗] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน เมฆ ๔ ชนิด คือ ๑. เมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก ๒. เมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม ๓. เมฆที่คำรามและให้ฝนตก ๔. เมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก ๒. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม ๓. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก ๔. บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดแต่ไม่ทำ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่คำราม แต่ไม่ให้ฝนตก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามแต่ไม่ให้ฝนตก (๑) @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๑/๑๕๔-๑๕๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๘}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบทำแต่ไม่พูด บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝน ตกแต่ไม่คำราม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่ให้ฝนตกแต่ไม่คำราม (๒) บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ชอบพูดและชอบทำ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่ คำรามและให้ฝนตก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่คำรามและให้ฝนตก (๓) บุคคลเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่พูดและไม่ทำ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำราม และไม่ให้ฝนตก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนเมฆที่ไม่คำรามและไม่ให้ฝนตก (๔) บุคคลเปรียบเหมือนเมฆ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน [๑๕๘] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน หนู ๔ จำพวก คือ ๑. หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ ๒. หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู ๓. หนูขุดรูและอยู่ ๔. หนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ ๒. บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู ๓. บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ ๔. บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้ เปรียบเหมือนหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่ขุดรูแต่ไม่อยู่ (๑) @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๗/๑๖๒-๑๖๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๘๙}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์’ บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่อยู่ แต่ไม่ขุดรู (๒) บุคคลเปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้ เปรียบเหมือนหนูขุดรูและอยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนูที่ขุดรูและอยู่ (๓) บุคคลเปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ และเขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหนูไม่ขุดรูและไม่อยู่ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหนู ที่ไม่ขุดรูและไม่อยู่ (๔) บุคคลเปรียบเหมือนหนู ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๕๙] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน มะม่วง ๔ ชนิด คือ ๑. มะม่วงดิบแต่ผิวสุก ๒. มะม่วงสุกแต่ผิวดิบ ๓. มะม่วงดิบและผิวดิบ ๔. มะม่วงสุกและผิวสุก บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๕/๑๖๐-๑๖๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๐}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก ๒. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ ๓. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ ๔. บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรน่าเลื่อมใส แต่เขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงดิบแต่ผิวสุก (๑) บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงสุกแต่ผิวดิบ (๒) บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และ เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงดิบและผิวดิบ (๓) บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และเขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๑}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนมะม่วงสุกและผิวสุก (๔) บุคคลเปรียบเหมือนมะม่วง ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๖๐] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน หม้อ ๔ ชนิด คือ ๑. หม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. หม้อเต็มแต่เปิดฝา ๓. หม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. หม้อเต็มและปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา ๒. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา ๓. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา ๔. บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหม้อเปล่าแต่ปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่ เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเต็มแต่เปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน หม้อเต็มแต่เปิดฝา @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๓/๑๕๗-๑๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๒}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และเขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคล เช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนหม้อ เปล่าและเปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และ เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนหม้อเต็มและปิดฝา บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน หม้อเต็มและปิดฝา บุคคลเปรียบเหมือนหม้อ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๖๑] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน ห้วงน้ำ ๔ ชนิด คือ ๑. ห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก ๒. ห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น ๓. ห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น ๔. ห้วงน้ำลึกและเงาลึก บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก ๒. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น ๓. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น ๔. บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๔/๑๕๙-๑๖๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๓}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส แต่เขา ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน ห้วงน้ำตื้นแต่เงาลึก บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส แต่ เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความุดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกแต่เงาตื้น บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน ห้วงน้ำลึก แต่เงาตื้น บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่ไม่น่าเลื่อมใส และ เขาไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน ห้วงน้ำตื้นและเงาตื้น บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวรที่น่าเลื่อมใส และ เขารู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์” บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกและเงาลึก บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือน ห้วงน้ำลึกและเงาลึก บุคคลเปรียบเหมือนห้วงน้ำ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๔}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๖๒] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน โคผู้ ๔ จำพวก คือ ๑. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ๒. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน ๓. โคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น ๔. โคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ๒. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน ๓. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น ๔. บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้บริษัทของตนหวาดกลัวแต่ไม่ทำให้บริษัทของคน อื่นหวาดกลัว บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้บริษัทของคนอื่นหวาดกลัวแต่ไม่ทำให้บริษัทของ ตนหวาดกลัว บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงอื่นแต่ไม่ข่มเหงโคฝูงตน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๘/๑๖๔-๑๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๕}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้บริษัทของตนและบริษัทของคนอื่นหวาดกลัว บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลประเภทนี้ จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ข่มเหงโคฝูงตนและข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ทำให้บริษัทของตนและบริษัทของคนอื่นหวาดกลัว บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนโคผู้ที่ไม่ข่มเหงโคฝูงตนและไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น บุคคลเปรียบเหมือนโคผู้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๖๓] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก๑- เป็นไฉน อสรพิษ ๔ จำพวก คือ ๑. อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง ๒. อสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว ๓. อสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง ๔. อสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้ เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง ๒. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว ๓. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง ๔. บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๑๐/๑๖๗-๑๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๖}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธบ่อยๆ แต่ความโกรธของเขาไม่คงอยู่นาน บุคคล เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง บุคคลประเภทนี้จึง เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วแต่พิษไม่ร้ายแรง (๑) บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักแต่ความโกรธของเขาคงอยู่นาน บุคคล เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว บุคคลประเภทนี้จึง เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงแต่พิษไม่แล่นเร็ว (๒) บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธบ่อยๆ และความโกรธของเขาคงอยู่นาน บุคคล เช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง บุคคลประเภทนี้จึง เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษแล่นเร็วและพิษร้ายแรง (๓) บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่โกรธบ่อยนักและความโกรธของเขาไม่คงอยู่นาน บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง บุคคล ประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนอสรพิษที่มีพิษไม่แล่นเร็วและพิษไม่ร้ายแรง (๔) บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๖๔] บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรติเตียน เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญพวกเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติชั่ว ปฏิบัติผิดว่า “ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่ ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรสเสริญผู้ควรติเตียน (๑) บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบว่า “ปฏิบัติชั่วบ้าง ปฏิบัติผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่ ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรสรรเสริญ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร เลื่อมใส เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ในข้อปฏิปทาผิดว่า “ข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบ” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดง ความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (๓) บุคคลไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควร เลื่อมใส เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ในข้อปฏิปทาชอบ ว่า “ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่พิจารณา ไม่ ไตร่ตรอง แล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (๔) [๑๖๕] บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนพวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ผู้ปฏิบัติชั่ว ปฏิบัติผิดว่า “ปฏิบัติชั่วบ้าง ปฏิบัติผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรอง แล้วกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน (๑) บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบว่า “ปฏิบัติดีบ้าง ปฏิบัติชอบบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ (๒) บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควร เลื่อมใส เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิปทาชั่ว ข้อปฏิปทาผิดว่า “ข้อปฏิปทาชั่วบ้าง ข้อปฏิปทาผิดบ้าง” บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใส (๓) บุคคลพิจารณา ไตร่ตรองแล้วแสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส เป็นไฉน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๘}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้แสดงความเลื่อมใสในข้อปฏิปทาดี ข้อปฏิปทาชอบว่า ข้อปฏิปทาดีบ้าง ข้อปฏิปทาชอบบ้าง บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าพิจารณา ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส (๔) [๑๖๖] บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใด ควรติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ ไม่กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า กล่าวติ เตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควร สรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๑) บุคคลกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร สรรเสริญก็กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรติเตียน ก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร ติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๒) บุคคลกล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและกล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร ติเตียนก็กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้รู้เวลาเพื่อตอบคำถามนั้น ในการกล่าวนั้น บุคคลเช่นนี้ชื่อว่ากล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะ แก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๓) บุคคลไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาลและ ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๐/๑๕๐-๑๕๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๑๙๙}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้ควรสรรเสริญก็มี ควรติเตียนก็มี ในสองคนนั้น ผู้ใดควร ติเตียนก็ไม่กล่าวติเตียนผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล ผู้ใดควรสรรเสริญก็ไม่ กล่าวสรรเสริญผู้นั้นตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลและ ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงเหมาะแก่กาล (๔) [๑๖๗] บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร แต่ไม่ดำรงชีพ ด้วยผลแห่งบุญ๑- เป็นไฉน การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร มิใช่เกิดขึ้นเพราะบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น เพียร เป็นไฉน เทวดาชั้นสูงขึ้นไปกระทั้งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ แต่ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียร บุคคลผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่ง บุญ เป็นไฉน การดำรงชีพของบุคคลใดเกิดขึ้นเพราะความขยัน ความหมั่น ความเพียร และเกิดขึ้นเพราะผลบุญ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่น เพียรและดำรงชีพด้วยผลแห่งบุญ บุคคลผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพด้วย ผลแห่งบุญ เป็นไฉน สัตว์นรกชื่อว่าผู้ไม่ดำรงชีพด้วยผลแห่งความขยันหมั่นเพียรและไม่ดำรงชีพ ด้วยผลแห่งบุญ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๓๔/๒๐๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๐}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๖๘] บุคคลผู้มืดมาและมืดไป๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำ และสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่ม ได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและเครื่องประทีป เขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่าง นี้ (๑) บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างสาน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูลยากจน มีข้าว น้ำ และสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หาของกินและเครื่องนุ่งห่ม ได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผัา ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตแล้ว หลังจากตายแล้วจะ ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้ (๒) บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูงคือตระกูลขัตติยมหาศาล๒- ตระกูลพราหมณ์ มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๕/๑๒๙-๑๓๐ @ มหาศาล หมายถึงผู้ที่มั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก ขัตติยมหาศาลมีพระราชทรัพย์ ๑๐๐-๑,๐๐๐ โกฏิ @พราหมณ์มหาศาลมีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ คหบดีมหาศาลมีทรัพย์สมบัติ ๔๐ โกฏิ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๖๘/๙๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๑}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

มีทองและเงินมากมาย มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป แต่เขา ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคล ผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างนี้ (๓) บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล พราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี โภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และ ธัญชาติมากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป และเขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตแล้ว หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ บุคคลผู้สว่างมาและ สว่างไป เป็นอย่างนี้ (๔) [๑๖๙] บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป๑- เป็นไฉน ฯลฯ๒- บุคคลผู้ต่ำมาและต่ำไป เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นไฉน ฯลฯ๒- บุคคลผู้ต่ำมาแต่สูงไป เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นไฉน ฯลฯ๒- บุคคลผู้สูงมาแต่ต่ำไป เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๖/๑๓๑-๑๓๒ @ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๒}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นไฉน ฯลฯ๑- บุคคลผู้สูงมาและสูงไป เป็นอย่างนี้ [๑๗๐] ในบทมาติกานั้น บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวก๒- เป็นไฉน ต้นไม้ ๔ ชนิด คือ ๑. ต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม ๒. ต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม ๓. ต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อน๓- แวดล้อม ๔. ต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลกอย่างนี้เหมือนกัน บุคคล ๔ จำพวก เป็นไฉน ๑. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม ๒. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม ๓. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม ๔. บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้มี ศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนแต่มีต้นไม่เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม แต่บริษัทของเขาเป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งแต่มีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม @เชิงอรรถ : @ ดูความเต็มในข้อ ๑๖๘ @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๐๙/๑๖๕-๑๖๖ @ ต้นไม้เนื้ออ่อน แปลจากบาลีว่า เผคฺคุ ซึ่งโดยทั่วไปแปลว่า กระพี้ แต่ในอรรถกถาแก้เป็น นิสฺสาโร เผคฺคุรุกฺโข @หมายถึงต้นไม้มีกระพี้ แต่ปราศจากแก่น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๐๙/๓๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๓}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม แม้บริษัทของเขาก็ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลวทราม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้น ไม้เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้ออ่อนและมีต้นไม้ เนื้ออ่อนแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม แม้บริษัทของเขาเป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลเช่นนี้เปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลประเภทนี้จึงเปรียบเหมือนต้นไม้เนื้อแข็งและมีต้นไม้เนื้อแข็งแวดล้อม บุคคลเปรียบเหมือนต้นไม้ ๔ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในโลก [๑๗๑] บุคคลผู้ถือรูปเป็นประมาณเลื่อมใสในรูป๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นรูปที่สูง รูปที่ผอม รูปที่อ้วน รูปที่มีอวัยวะสมส่วน ถือเอาประมาณในรูปนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือรูปเป็น ประมาณเลื่อมใสในรูป บุคคลผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ถือเอาประมาณในเสียงนั้นที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญ ที่ผู้ อื่นชมเชย ที่ผู้อื่นกล่าวยกย่อง ที่ผู้อื่นกล่าวสรรเสริญสืบๆ กันมาแล้ว เกิดความ เลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือเสียงเป็นประมาณเลื่อมใสในเสียง [๑๗๒] บุคคลผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสในความเศร้าหมอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นจีวรเศร้าหมอง บาตรเศร้าหมอง เสนาสนะ เศร้าหมอง หรือเห็นทุกกรกิริยาต่างๆ ถือเอาประมาณในความเศร้าหมองนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณเลื่อมใสใน ความเศร้าหมอง บุคคลผู้ถือธรรมเป็นประมาณเลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖๕/๑๐๘-๑๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๔}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นศีล สมาธิ ปัญญา แล้วถือเอาประมาณในศีล เป็นต้นนั้นแล้ว เกิดความเลื่อมใส บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม [๑๗๓] บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง พร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึง พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยศีลแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยสมาธิแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเอง เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ไม่ ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแต่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่นแต่ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเอง บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อม ด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ตน เองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้ ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ บุคคล เช่นนี้ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๕}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยศีลและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง พร้อมด้วยศีล ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยสมาธิและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย สมาธิ ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยปัญญาและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ตนเองเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ตนเอง เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ- ญาณทัสสนะ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลตนเองและไม่ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลผู้อื่น [๑๗๔] บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบการทำตนให้เดือดร้อน๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญมารับ ภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษา ที่เขาเจาะจงทำไว้ ไม่ยินดีกิจนิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่ รับภิกษาที่คนสองคนบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิง ที่กำลังให้ลูกดื่มนม ไม่รับภิกษาของหญิงที่คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ กันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่รับเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่ที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็น กลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับ ภิกษาเฉพาะเรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียว รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำ ฯลฯ หรือรับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยา อัตภาพด้วยข้าว ๗ คำ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๒ ใบบ้าง ฯลฯ เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา ในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันเดียวบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๒ วันบ้าง ฯลฯ กินอาหารที่เก็บค้างไว้ ๗ วันบ้าง เขาหมั่นประกอบในการบริโภคที่ เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๓-๓๐๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๖}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

เขากินผักดองเป็นอาหารบ้าง กินข้าวฟ่างเป็นอาหารบ้าง กินลูกเดือยเป็น อาหารบ้าง กินกากข้าวเป็นอาหารบ้าง กินยางไม้เป็นอาหารบ้าง กินรำเป็นอาหาร บ้าง กินข้าวตังเป็นอาหารบ้าง กินกำยานเป็นอาหารบ้าง กินหญ้าเป็นอาหารบ้าง กินมูลโคเป็นอาหารบ้าง กินเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง กินผลไม้ที่หล่น เยียวยาอัตภาพ เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าแกมกันบ้าง นุ่งห่มผ้าห่อศพบ้าง นุ่งห่มผ้าบังสุกุลบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังเสือบ้าง นุ่งห่มหนังเสือ ที่มีเล็บติดอยู่บ้าง นุ่งห่มคากรองบ้าง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรองบ้าง นุ่งห่มผ้าผล ไม้กรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์ร้าย บ้าง นุ่งห่มผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง ถอนผมและหนวด หมั่นประกอบการ ถอนผมและหนวดบ้าง ยืนอย่างเดียวปฏิเสธการนั่งบ้าง นั่งกระโหย่ง ประกอบ ความเพียรด้วยการนั่งกระโหย่งบ้าง นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง หมั่นประกอบการลงน้ำบ้าง เขาหมั่นประกอบการทำร่างกาย ให้เดือดร้อนหลายวิธีดังกล่าวนี้อยู่ บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อนหมั่นประกอบในการ ทำตนให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้ [๑๗๕] บุคคลผู้ทำคนอื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร เป็นนายพรานนก เป็นนาย พรานเนื้อ เป็นชาวประมง เป็นโจร เป็นเพชฌฆาต เป็นคนฆ่าโค เป็นผู้คุม หรือเป็นผู้ทำกรรมอันหยาบช้าชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม บุคคลผู้ทำคนอื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้ [๑๗๖] บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือด ร้อนและทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษก หรือว่า เป็นพราหมณ์มหาศาล เขาให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศตะวันออกแห่งพระนคร แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มหนังสัตว์มีเล็บ ชโลมกายด้วยเนยใสและน้ำมัน เกาหลัง @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๕-๓๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

ด้วยเขามฤค เข้าไปสู่สัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยมเหสีและพราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิต เขา สำเร็จการนอนบนพื้นอันปราศจากการปูลาดไว้ด้วยมูลโคสด พระราชาให้พระชนม์ ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่หนึ่งของแม่โคตัวหนึ่งที่มีลูกอ่อน พระมเหสีให้ พระชนม์ชีพเป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ ๒ พราหมณ์ผู้เป็นปุโรหิตให้อัตภาพ เป็นไปด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ ๓ พระราชาทรงบูชาไฟด้วยน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าที่ ๔ ลูกโคให้อัตภาพเป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ พระราชานั้นตรัสอย่างนี้ว่า “ท่านทั้ง หลายจงฆ่าโคเท่านี้ จงฆ่าลูกโคผู้เท่านี้ จงฆ่าลูกโคเมียเท่านี้ จงฆ่าแพะเท่านี้ จง ฆ่าแกะเท่านี้ เพื่อบูชายัญ (จงฆ่าม้าเท่านี้เพื่อบูชายัญ) จงตัดไม้และเกี่ยวหญ้าคา เท่านี้เพื่อบังและลาด” แม้เหล่าชนที่เป็นทาส เป็นคนรับใช้ เป็นคนงานของพระราชานั้น ย่อมสะดุ้ง ต่ออาชญา สะดุ้งต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้ทำการงานอยู่ บุคคลผู้ทำตน ให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้ [๑๗๗] บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตน ให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้ เดือดร้อน๑- เป็นไฉน บุคคลนั้นไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก ผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระ พุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ด้วยพระองค์เอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น๒- งามในท่ามกลาง๓- @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๙๘/๓๐๖ @ หมายถึงศีล (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) @ หมายถึงอริยมรรค (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๘}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

และงามในที่สุด๑- ทรงประกาศพรหมจรรย์๒- พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน คหบดี บุตรแห่งคหบดีหรืออนุชนในตระกูลใดตระกูลหนึ่งได้สดับธรรมนั้น ครั้นได้สดับธรรมนั้นแล้วเกิดศรัทธาในพระตถาคต เมื่อมีศรัทธาย่อมตระหนักว่า “การอยู่ครองเรือนเป็นเรื่องอึดอัด๓- เป็นทางแห่งธุลี๔- การบวชเป็นทางปลอดโปร่ง๕- การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนดุจสังข์ที่ขัด แล้วมิใช่ทำได้ง่าย ทางที่ดี เราควรโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออก จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด” ต่อมาเขาละทิ้งกองโภคสมบัติน้อยใหญ่และเครือญาติน้อยใหญ่ โกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต [๑๗๘] บุคคลนั้นบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความเป็นผู้มีสิกขา๖- และสาชีพ๗- แห่ง ภิกษุทั้งหลาย ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ คือ วางทัณฑาวุธและศัสตราวุธ มี ความละอาย มีความเอ็นดู หวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงนิพพาน (ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๕๙) @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย ๑๐ ประการ คือ @(๑) ทาน การให้ (๒) เวยยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือ @(๓) ปัญจศีล ศีลห้า (๔) อัปปมัญญา การประพฤติพรหมจรรย์อย่างไม่ @มีขอบเขต @(๕) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (๖) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน @(๗) วิริยะ ความเพียร (๘) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ @(๙) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (๑๐) ศาสนา ในที่นี้หมายถึงพุทธศาสนา @(ที.สี.อ. ๑๙๐/๑๖๑-๑๖๒) @ เป็นเรื่องอึดอัด ในที่นี้หมายถึงมีความกังวลใจ ห่วงใยต่อกันและกันระหว่างสามีภรรยา ไม่สะดวกต่อ @การสั่งสมกุศล (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๑) @ เป็นทางแห่งธุลี ในที่นี้หมายถึงเป็นที่เกิดและเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันทำจิตให้เศร้าหมอง เช่น ราคะเป็นต้น @(ที.สี.อ. ๑๙๑/๑๖๓, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๙๘/๔๒๒) @ เป็นทางปลอดโปร่ง ในที่นี้หมายถึงนักบวชแม้จะอยู่ในเรือนยอด ปราสาทแก้ว หรือเทพวิมานซึ่งมีประตู @หน้าต่างปลอดปิดมิดชิดก็ยังถือว่าปลอดโปร่ง เพราะนักบวชไม่มีความยึดติดในสิ่งใดๆ (ที.สี.อ. ๑๙๑/๑๖๓) @ สิกขา หมายถึงอธิศีลสิกขาของภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕/๓๓) @ สาชีพ หมายถึงสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๔๕/๓๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๐๙}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

ละเว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ คือรับเอาแต่สิ่งของที่เขาให้ มุ่งหวังแต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่ ละพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ คือประพฤติพรหมจรรย์๑- เว้นห่าง ไกลเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำ เป็นหลัก เชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก ละเว้นขาดจากคำส่อเสียด คือฟังความจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังความฝ่ายโน้นแล้วไม่มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกแยกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชม ยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ ที่สามัคคีกัน พูดแต่ถ้อยคำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี ละเว้นขาดจากคำหยาบ คือ พูดแต่คำไม่มีโทษ เสนาะโสต น่ารัก จับใจ เป็นคำชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ละเว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ คือ พูดถูกเวลา พูดคำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบ ด้วยประโยชน์ เหมาะแก่กาลเวลา [๑๗๙] ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันมื้อเดียว ไม่ฉันในเวลากลางคืน เว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล๒- เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องประโคมดนตรีและดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดการทัดทรง ประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ ของหอม และ เครื่องประทินผิวอันเป็นลักษณะแห่งการแต่งตัว @เชิงอรรถ : @ ประพฤติพรหมจรรย์ หมายถึงการงดเว้นจากการเสพเมถุนธรรม ได้แก่ การร่วมประเวณี การร่วม @สังวาสกล่าวคือการเสพอสัทธรรมอันเป็นประเวณีของชาวบ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ @เป็นการกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๒) @ เวลาวิกาล หมายถึงเวลาที่ห้าม ใช้เฉพาะแต่ละเรื่อง ในที่นี้หมายถึงผิดเวลาที่กำหนดไว้ คือตั้งแต่หลัง @เที่ยงวันจนถึงอรุณขึ้น (ที.สี.อ. ๑๐/๗๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๐}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

เว้นขาดจากที่นอนสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ๑- เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรี๒- และกุมารี๓- เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เว้นขาดจากการรับเรือกสวน ไร่นา และที่ดิน เว้นขาดจากการทำหน้าที่เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร๔- เว้นขาดจากการซื้อขาย เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง ด้วยของปลอม และด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด(อวัยวะ) การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก [๑๘๐] ภิกษุนั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรพอคุ้มร่างกายและบิณฑบาตพออิ่มท้อง เธอจะไป ณ ที่ใดๆ ก็ไปได้ทันที เหมือนนกบินไป ณ ที่ใดๆ ก็มีแต่ปีกเป็นภาระ เธอประกอบด้วยสีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล้วย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน @เชิงอรรถ : @ ธัญญาหารดิบ หมายถึงธัญชาติที่มีเมล็ด มีเปลือกสมบูรณ์พร้อมที่จะงอกได้ เช่น ข้าวเปลือก @(ที.สี.อ. ๑๐/๗๕) @ สตรี หมายถึงหญิงที่แต่งงานแล้ว (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗๙/๑๐๓) @ กุมารี หมายถึงหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗๙/๑๐๓) @ เป็นตัวแทนและผู้สื่อสาร หมายถึงการส่งหนังสือหรือข่าวสารของคฤหัสถ์ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๑๗๙/๑๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๑}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๘๑] ภิกษุนั้นเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อ สำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัส ครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง ทางหู ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์ อันเป็นอริยะนี้ย่อมเสวยสุขอันไม่ระคนกับกิเลสในภายใน [๑๘๒] ภิกษุนั้นทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ การแลดู การเหลียวดู การคู้เข้า การเหยียดออก การครองสังฆาฏิ บาตร และจีวร การฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การนอน การตื่น การพูด การนิ่ง เธอประกอบด้วยอริยสีลขันธ์ อริยอินทรียสังวร อริยสติสัมปชัญญะ และ อริยสันโดษนี้ พักอยู่ ณ เสนาสนะอันเงียบสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำรงสติให้มั่น เธอละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา ชำระจิตให้หมดจดจากอภิชฌา ละความมุ่งร้ายคือพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท มุ่ง ประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากความมุ่งร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ กำหนดแสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้ หมดจดจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน ชำระจิตให้หมดจดจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉาได้แล้ว ไม่มี ความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชำระจิตให้หมดจดจากวิจิกิจฉา [๑๘๓] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง บั่นทอน กำลังปัญญา สงัดจากกาม สงัดจากสภาวธรรมที่เป็นอกุศล บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปบรรลุทุติยฌาน อันมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๒}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติและมีสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุขทางกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะกล่าวว่า “มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป บรรลุ จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีความบริสุทธิ์แห่งสติอันเกิดจากอุเบกขาอยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อม จิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังสัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด สังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า “ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มี อาหาร เสวยสุข ทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นก็ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์และมี อายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึงมาเกิดในภพนี้” เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ [๑๘๔] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและ ชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตติเตียนพระอริยะมีความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความ เห็นผิด เขาเหล่านั้นหลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนหมู่สัตว์ที่ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ มี ความเห็นชอบ ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เขาเหล่านั้นหลังจาก ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์” เธอเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๓}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๘๕] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้ ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ” เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า “หลุดพ้นแล้ว” รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ พรหมจรรย์๑- แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป” บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างนี้ เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนประเสริฐอยู่ในปัจจุบัน [๑๘๖] บุคคลผู้มีราคะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละราคะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีราคะ บุคคลผู้มีโทสะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละโทสะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโทสะ บุคคลผู้มีโมหะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละโมหะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีโมหะ บุคคลผู้มีมานะ เป็นไฉน บุคคลผู้ยังละมานะไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีมานะ @เชิงอรรถ : @ อยู่จบพรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลสจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ไม่มีกิจ @อื่นที่จะต้องทำเพื่อตนเอง แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่ ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้ชื่อว่าอเสขบุคคล @(ที.สี.อ. ๒๔๘/๒๐๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๔}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๘๗] บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน๑- แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรม ด้วยปัญญาอันยิ่ง๒- เป็นไฉน๓- บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ แต่ ไม่ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง บุคคลผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่ง จิตภายใน เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล แต่ไม่ได้สมาบัติมีรูป เป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่ง แต่ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน บุคคลผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ได้ โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ได้ความสงบแห่งจิตภายในและได้ ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง บุคคลผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายในและไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา อันยิ่ง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สมาบัติมีรูปเป็นอารมณ์หรือมีอรูปเป็นอารมณ์ ไม่ ได้โลกุตตรมรรคหรือโลกุตตรผล บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าผู้ไม่ได้ความสงบแห่งจิตภายใน และไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง @เชิงอรรถ : @ หมายถึงอัปปนาจิตตสมาธิในสันดาน(ความสืบต่อแห่งจิตคือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกัน)ของตน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๒/๓๖๖) @ ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาญาณที่กำหนดรู้สังขารคือปัญญาอันยิ่ง @และความเห็นแจ้งในธรรมคือเบญจขันธ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๙๒/๓๖๖) @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๙๒/๑๔๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๕}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

[๑๘๘] บุคคลผู้ไปตามกระแส๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกามและทำบาปกรรม๒- บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไปตาม กระแส บุคคลผู้ไปทวนกระแส เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เสพกามและไม่ทำบาปกรรม ถึงจะมีทุกข์ โทมนัส ร้องไห้น้ำตานองหน้า แต่ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ได้ บุคคลนี้ เรียกว่า ผู้ไปทวนกระแส บุคคลผู้มีภาวะตั้งมั่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีภาวะตั้งมั่น บุคคลผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองอยู่ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรง อยู่บนบก [๑๘๙] บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงสุตะ๓- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย แต่เขาหารู้อรรถ๔- รู้ธรรม๕- แห่งสุตะน้อยนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะน้อย ทั้งไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีสุตะน้อย แต่เข้าถึงสุตะ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๕/๗-๘ @ บาปกรรม ในที่นี้หมายถึงการฆ่าสัตว์เป็นต้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕/๒๘๑) @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๖/๙-๑๐ @ อรรถ ในที่นี้หมายถึงอรรถกถา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒) @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงบาลี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๖/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๖}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๔. จตุกกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละน้อย แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะน้อยนั้นปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เข้าถึงสุตะเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้มีสุตะมากแต่ไม่เข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้มีสุตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละมาก ทั้งเขาก็รู้อรรถรู้ธรรมแห่งสุตะมากนั้นปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้มีสุตะมาก ทั้งเข้าถึงสุตะ เป็นอย่างนี้ [๑๙๐] บุคคลผู้เป็นสมณะไม่หวั่นไหว๑- เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เป็นโสดาบัน ไม่มี ทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๒- ในวันข้างหน้า บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ เป็นสมณะไม่หวั่นไหว บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะทำที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะเหมือนดอกบุณฑริก บุคคลผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง ๕ ประการสิ้นไป เป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่กลับมาจากภพนั้นเป็นธรรมดา บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็นสมณะเหมือนดอกปทุม บุคคลผู้เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นไฉน @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๘/๑๓๔-๑๓๕ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๑ (เอกกปุคคลบัญญัติ) หน้า ๑๕๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๖ หน้า : ๒๑๗}

พระอภิธรรมปิฎก ปุคคลบัญญัติ ๕. ปัญจกปุคคลบัญญัติ

บุคคลบางคนในโลกนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้เรียกว่า ผู้เป็น สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
จตุกกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓๖ หน้าที่ ๑๘๓-๒๑๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=36&A=5014 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=36&siri=30              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับฉบับหลวง https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=36&A=3659&Z=4544&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36&i=619              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36


บันทึก ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]