ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่าน เมื่อกระผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏได้เห็น สามเณรีเปรต ลอยในอากาศ สังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกายของมันถูกไฟ ติดลุกโชน จนมันร้องครวญคราง กระผมมีความรู้สึกว่า น่าอัศจรรย์จริงไม่เคยปรากฏ ที่มีสัตว์เช่นนี้ มียักษ์เช่นนี้ มีเปรตเช่นนี้ มีการได้อัตภาพเช่นนี้อยู่” ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายที่มีจักษุญาณก็ยังมีอยู่ เพราะสาวกที่รู้ที่เห็นนี้เป็นพยานได้ เมื่อก่อน เราก็เห็นสามเณรีเปรตนั้นแต่ไม่พยากรณ์ เพราะการพยากรณ์นั้นจะไม่เป็นประโยชน์ เกื้อกูลซ้ำจะเป็นทุกข์ยาวนาน แก่ผู้ที่ไม่เชื่อเรา ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้นเคยเป็น สามเณรีชั่วในศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะผลกรรมนั้นจึงตกนรกหมก ไหม้อยู่หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปีแล้วได้รับอัตภาพเช่นนี้เพราะเศษกรรม ที่ยังเหลือ โมคคัลลานะกล่าวจริงจึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๖)
เรื่องแม่น้ำตโปทา ๑ เรื่อง
[๒๓๑] สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่าน ทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาจากสระน้ำที่ใสเย็นจืดสนิทสะอาดมีท่าเรียบ น่า รื่นรมย์ มีฝูงปลาและเต่าอาศัยอยู่มาก มีดอกบัวขนาดเท่าวงล้อบานอยู่ แต่กระนั้น แม่น้ำตโปทาก็ยังคงร้อนเดือดพล่านไหลไป” ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะ พูดอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทาไหลผ่านมาระหว่าง มหานรก ๒ ขุม ดังนั้นจึงคงเดือดพล่านไหลไป โมคคัลลานะกล่าวจริง ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๔๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ วินีตวัตถุ

เรื่องการสู้รบในกรุงราชคฤห์ ๑ เรื่อง
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐ ทำสงครามกับพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว พ่ายแพ้ ภายหลังท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบจนได้ชัยชนะ ให้ตีกลองประกาศชัย ชนะในการสงครามว่า “พระราชาทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวี” ลำดับนั้นพระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่านทั้งหลาย พระเจ้าแผ่นดินทรงพ่ายแพ้พวกเจ้าลิจฉวี แต่เขาตีกลองประกาศชัยชนะในการ สงครามว่า ‘พระราชาทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวี” ภิกษุพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะกล่าว อย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครั้งแรกพระเจ้าแผ่นดินทรงพ่าย แพ้พวกเจ้าลิจฉวี ภายหลังท้าวเธอทรงระดมพลยกไปรบจนได้ชัยชนะ โมคคัลลานะ กล่าวจริง ไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๘)
เรื่องได้ยินเสียงช้างลงน้ำ ๑ เรื่อง
[๒๓๒] สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายมาบอกว่า “ท่าน ทั้งหลาย กระผมเข้าอาเนญชสมาธิที่ฝั่งแม่น้ำสัปปินิกาในตำบลนี้ ได้ยินเสียงโขลง ช้างลงน้ำแล้วขึ้นจากน้ำส่งเสียงดังเหมือนนกกระเรียน” ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระมหาโมคคัลลานะ กล่าวอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้กราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย สมาธินั้นมีอยู่จริง แต่ยังไม่บริสุทธิ์ โมคคัลลานะกล่าวจริง จึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๔๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ บทสรุป

เรื่องพระอรหันต์โสภิตะระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัป ๑ เรื่อง
ครั้งนั้น พระโสภิตะบอกเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า “กระผมระลึกชาติได้ ๕๐๐ กัป”๑- ภิกษุทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทนาว่า “ไฉนพระโสภิตะ กล่าวอย่างนั้นเล่า ท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชาติในอดีตของโสภิตภิกษุนั้นมีอยู่ แต่มีเพียงชาติเดียวเท่านั้น โสภิตะกล่าวจริง จึงไม่ต้องอาบัติ” (เรื่องที่ ๖๐)
ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ จบ
บทสรุป
[๒๓๓] ท่านทั้งหลาย ธรรม๒- คือปาราชิก ๔ สิกขาบทข้าพเจ้ายกขึ้นแสดง แล้ว แต่ละข้อๆ ซึ่งภิกษุต้องเข้าแล้ว ย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายไม่ได้ เป็น ปาราชิก หาสังวาสมิได้ เหมือนก่อนบวช ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนั้นว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” @เชิงอรรถ : @ กัป ระยะเวลายาวนานมาก โลกประลัยครั้งหนึ่งเป็นกัปหนึ่ง ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบเหมือน @มีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีผู้นำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง @จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น @ คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึงอาบัติ (ปาราชิกาติ เอวํนามกา. ธมฺมาติ อาปตฺติโย คำว่า “ธรรมคือ @ปาราชิก” หมายถึงอาบัติที่มีชื่ออย่างนี้ กงฺขา.อ. ๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๔๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๔๕-๒๔๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=6976&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=32              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=10838&Z=11364&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=281              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=281&items=19              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=281&items=19              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]