ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑
บทสรุป
[๒๓๓] ท่านทั้งหลาย ธรรม๒- คือปาราชิก ๔ สิกขาบทข้าพเจ้ายกขึ้นแสดง แล้ว แต่ละข้อๆ ซึ่งภิกษุต้องเข้าแล้ว ย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลายไม่ได้ เป็น ปาราชิก หาสังวาสมิได้ เหมือนก่อนบวช ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายในธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบทนั้นว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ ว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” @เชิงอรรถ : @ กัป ระยะเวลายาวนานมาก โลกประลัยครั้งหนึ่งเป็นกัปหนึ่ง ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบเหมือน @มีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีผู้นำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง @จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น @ คำว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึงอาบัติ (ปาราชิกาติ เอวํนามกา. ธมฺมาติ อาปตฺติโย คำว่า “ธรรมคือ @ปาราชิก” หมายถึงอาบัติที่มีชื่ออย่างนี้ กงฺขา.อ. ๑๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์

ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรม คือปาราชิก ๔ สิกขาบทนี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
ปาราชิก จบ
รวมสิกขาบทที่มีในปาราชิกกัณฑ์
ปาราชิกกัณฑ์มี ๔ สิกขาบท คือ ๑. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ ว่าด้วยการเสพเมถุนธรรม ๒. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ ว่าด้วยการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ๓. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓ ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์ ๔. ปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ ว่าด้วยการกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม สิกขาบทเหล่านี้เป็นที่ตั้งแห่งการตัดรากเหง้า อย่างไม่ต้องสงสัย
ปาราชิกกัณฑ์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๔๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๔๗-๒๔๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=7041&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=33              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=11365&Z=11378&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=300              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=300&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=300&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]