ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พระอนุบัญญัติ
[๒๓๖] ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส ยกเว้นไว้แต่ฝัน
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๗] คำว่า จงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด คำว่า น้ำอสุจิ อธิบายว่า น้ำอสุจิมี ๑๐ ชนิด คือ (๑) อสุจิสีเขียว (๒) อสุจิ สีเหลือง (๓) อสุจิสีแดง (๔) อสุจิสีขาว (๕) อสุจิสีเหมือนเปรียง (๖) อสุจิสี เหมือนน้ำท่า (๗) อสุจิสีเหมือนน้ำมัน (๘) อสุจิสีเหมือนนมสด (๙) อสุจิสี เหมือนนมส้ม (๑๐) อสุจิสีเหมือนเนยใส คำว่า ทำให้เคลื่อน คือ กิริยาที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน ตรัสเรียกว่า ทำให้เคลื่อน คำว่า ยกเว้นไว้แต่ฝัน คือ ยกเว้นความฝัน คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะก็ทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้ ฉะนั้นจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส” คำว่า “เป็นสังฆาทิเสส” นี้ เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น นั่นเองโดยอ้อม๑- เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
อุบาย ๔ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายใน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนใน รูปภายนอก (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายในและภายนอก (๔) ภิกษุทำน้ำ อสุจิให้เคลื่อนเมื่อส่ายสะเอวในอากาศ @เชิงอรรถ : @ สังฆาทิเสสนี้ เป็นชื่อเรียกกองอาบัติ แปลว่า “หมู่อาบัติที่ต้องการสงฆ์ทั้งในระยะเบื้องต้นและในระยะที่ @เหลือ” หมายความว่า ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส จะออกจากอาบัตินั้นได้ต้องอาศัยสงฆ์ให้ปริวาส ให้มานัต @ชักกลับเข้าหาอาบัติเดิม และอัพภาน ในกรรมทั้งหมดนี้ขาดสงฆ์เสียแล้ว ก็ทำไม่สำเร็จ (วิ.อ. ๒/๒๓๗/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

กาล ๕
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อเกิดความกำหนัด (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้ เคลื่อนเมื่อปวดอุจจาระ (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อปวดปัสสาวะ (๔) ภิกษุทำ น้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อต้องลม (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อถูกบุ้งขน
เจตนา ๑๐ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความหายโรค (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้ เคลื่อนเพื่อความสุข (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นยา (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิ ให้เคลื่อนเพื่อเป็นทาน (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นบุญ (๖) ภิกษุทำ น้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อบูชายัญ (๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อจะไปสวรรค์ (๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อสืบพันธุ์ (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อทดลอง (๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความสนุก
วัตถุที่ประสงค์ ๑๐ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน (๕) ภิกษุ ทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน (๖) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน (๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน (๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้ เคลื่อน (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน (๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือน เนยใสให้เคลื่อน [๒๓๘] คำว่า ในรูปภายใน ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองในตัว๑- คำว่า ในรูปภายนอก ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครอง นอกตัว๒- @เชิงอรรถ : @ “รูปที่มีวิญญาณครองในตัว” หมายถึง มือของตนเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘) @ “รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครองนอกตัว” หมายถึง มือของผู้อื่นเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ในรูปภายในและภายนอก ได้แก่ รูปทั้ง ๒ นั้น คำว่า เมื่อส่ายสะเอวในอากาศ หมายความว่า เมื่อภิกษุพยายามในอากาศ องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อเกิดความกำหนัด คือ เมื่อถูกความกำหนัดรบกวน องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อปวดอุจจาระ คือ เมื่อปวดอุจจาระ องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อปวดปัสสาวะ คือ เมื่อปวดปัสสาวะ องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อต้องลม คือ เมื่อถูกลมรำเพย องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อถูกบุ้งขน คือ เมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องคชาตใช้การได้ [๒๓๙] คำว่า เพื่อความหายโรค คือ มุ่งว่าจะเป็นผู้ไม่มีโรค คำว่า เพื่อความสุข คือ มุ่งว่าจะให้เกิดสุขเวทนา คำว่า เพื่อเป็นยา คือ มุ่งว่าจะเป็นยา คำว่า เพื่อเป็นทาน คือ มุ่งว่าจะให้ทาน คำว่า เพื่อเป็นบุญ คือ มุ่งว่าจะเป็นบุญ คำว่า เพื่อบูชายัญ คือ มุ่งว่าจะบูชายัญ คำว่า เพื่อจะไปสวรรค์ คือ มุ่งว่าจะได้ไปสวรรค์ คำว่า เพื่อสืบพันธุ์ คือ มุ่งว่าจักสืบพันธุ์ คำว่า เพื่อทดลอง คือ ทดลองว่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเขียว น้ำอสุจิจักเป็นสีเหลือง น้ำอสุจิจักเป็นสีแดง น้ำอสุจิจักเป็นสีขาว น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเปรียง น้ำอสุจิ จักเป็นสีเหมือนน้ำท่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำมัน น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือน นมสด น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนนมส้ม น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเนยใส คำว่า เพื่อความสนุก คือ มีความประสงค์จะเล่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๕๒-๒๕๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=1&A=7157&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=1&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=11379&Z=11520&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=301              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=301&items=5              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=301&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]