ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย มหาวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมา- สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติสติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล เพื่อให้บรรลุ กุศลธรรม’ ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปว่า
บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ๑-
[๒๙๐] ‘พวกเทพชั้นดาวดึงส์ผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงบัญญัติบริขารแห่ง สมาธิ๒- ๗ ประการนี้ แม้ที่ทรงบัญญัติอย่างดี ก็เพียงเพื่อความเจริญ เพื่อความ บริบูรณ์แห่งสัมมาสมาธิ บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ท่านผู้เจริญทั้งหลาย สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียวซึ่งมีองค์ ๗ ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ๓-’ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร’ บ้าง ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ จึงมีสัมมาสังกัปปะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ จึงมีสัมมาวาจา ผู้มีสัมมาวาจา จึงมีสัมมากัมมันตะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ จึงมี สัมมาอาชีวะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ จึงมีสัมมาวายามะ ผู้มีสัมมาวายามะ จึงมีสัมมาสติ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา. ๑๑/๓๓๐/๒๒๑, สํ.ม. (แปล) ๑๙/๒๘/๒๘, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๕/๖๘ @ บริขารแห่งสมาธิ ในที่นี้หมายถึงบริวาร หรือองค์ประกอบของมรรคสมาธิ (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) @ อุปนิสะ หมายถึงอุปนิสัย ในที่นี้ได้แก่หมวดธรรมที่เป็นเหตุทำหน้าที่ร่วมกัน (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗, @ที.ม.ฏีกา ๒๙๐/๒๖๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ

ผู้มีสัมมาสติ จึงมีสัมมาสมาธิ ผู้มีสัมมาสมาธิ จึงมีสัมมาญาณะ ผู้มีสัมมาญาณะ จึงมีสัมมาวิมุตติ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงองค์ธรรมใดว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๑- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน’ ประตูแห่งอมตะจึงจะชื่อว่าเปิดแล้ว บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าว ถึงองค์ธรรมที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้แลว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้ เฉพาะตน’ ประตูแห่งอมตะจึงจะชื่อว่าเปิดแล้ว ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่าใดประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะชอบใจ ชนเหล่านี้ เป็นโอปปาติกะ เป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำ(ให้ตั้งอยู่)ในธรรมแล้ว เป็นชาว มคธ มีจำนวนมากกว่า ๒,๔๐๐,๐๐๐ คน ผู้เคยบำรุงพระรัตนตรัยล่วงลับดับชีพ ไปแล้วเป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป ไม่มีทางตกต่ำ มีความ แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า อนึ่ง ในชนจำนวนนั้น ผู้ที่เป็นพระสกทา- คามีก็มีอยู่ ข้าพเจ้ากลัวการพูดเท็จจึงไม่อาจคิดคำนวณว่า ‘ในจำนวนนั้น เหล่าชนนอกนี้๒- เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ๓- (นั้นด้วยหรือไม่)’ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๘ หน้า ๑๐๓ ในเล่มนี้ @ เหล่าชนนอกนี้ หมายถึงพระอนาคามี (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗) @ เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ หมายถึงบังเกิดแล้วด้วยส่วนแห่งบุญ (ที.ม.อ. ๒๙๐/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๕. ชนวนสภสูตร]

บริขารแห่งสมาธิ ๗ ประการ

[๒๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว เมื่อสนัง- กุมารพรหมตรัสเนื้อความนี้อยู่ ท้าวเวสวัณมหาราชทรงดำริอย่างนี้ว่า ‘น่าอัศจรรย์ จริง ไม่เคยปรากฏ จักมีพระศาสดาผู้ยิ่งเช่นนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเช่นนี้ จักปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเช่นนี้’ ลำดับนั้น สนังกุมารพรหม ทรงทราบ พระดำริของท้าวเวสวัณมหาราชด้วยพระทัย จึงตรัสกับท้าวเวสวัณมหาราชดังนี้ว่า ‘เวสวัณมหาราชผู้เจริญเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ในอดีตกาลก็ได้มีพระศาสดาผู้ยิ่ง เช่นนี้ ได้มีการแสดงธรรมที่ยิ่งเช่นนี้ ได้ปรากฏการบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเช่นนี้ ถึงใน อนาคตกาลก็จักมีพระศาสดาผู้ยิ่งเช่นนี้ จักมีการแสดงธรรมที่ยิ่งเช่นนี้ จักปรากฏ การบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งเช่นนี้’ [๒๙๒] สนังกุมารพรหมได้ตรัสเนื้อความนี้แก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว ท้าวเวสวัณมหาราชทรงนำเนื้อความนี้ที่ได้ทรงสดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของ สนังกุมารพรหมผู้ตรัสแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์มาตรัสบอกแก่บริษัทของพระองค์ ชนวสภยักษ์นำเนื้อความนี้ที่ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ของท้าวเวสวัณมหาราชที่ ตรัสแก่บริษัทของพระองค์มากราบทูลแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ทรง สดับรับเนื้อความนี้มาเฉพาะหน้าของชนวสภยักษ์ด้วย ทรงรู้แจ้งด้วยพระองค์เองด้วย แล้วตรัสบอกแก่ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ได้สดับรับเนื้อความนั้นมาเฉพาะ พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคแล้วบอกแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พรหมจรรย์๑- นี้นั้น จึงบริบูรณ์กว้างขวาง แพร่หลาย รู้จักกันโดยมาก มั่นคงดี กระทั่ง เทพและมนุษย์ทั้งหลายประกาศได้’
ชนวสภสูตรที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ พรหมจรรย์ ในที่นี้หมายถึงไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (ที.ม.อ. ๒๙๒/๒๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๐ หน้า : ๒๒๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๒๒๔-๒๒๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=10&A=6515&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=10&siri=5              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=4465&Z=4870&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=187              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=10&item=187&items=22              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=10&item=187&items=22              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu10

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]