ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๗ ประการ

๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบ กายสงบใจ) ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้ง จิตมั่น) ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจ เป็นกลาง) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรเจริญ (ค) ธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ วิญญาณฐิติ๑- ๗ ได้แก่ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ ๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน ปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “อากาศหาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณ- ฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุด มิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๒ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๙๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๗ ประการ

๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้ เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗ นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๗ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ อนุสัย๑- ๗ ได้แก่ ๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม) ๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย) ๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว) ๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ อสัทธรรม๒- ๗ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย ๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม ๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม นี้ คือธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๒ หน้า ๓๓๗ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๙๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๗ ประการ

(จ) ธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ สัทธรรม๑- ๗ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต ๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง ๗. เป็นผู้มีปัญญา นี้ คือธรรม ๗ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ (ฉ) ธรรม ๗ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร คือ สัปปุริสธรรม๒- ๗ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นธัมมัญญู (ผู้รู้จักเหตุ) ๒. เป็นอัตถัญญู (ผู้รู้จักผล) ๓. เป็นอัตตัญญู (ผู้รู้จักตน) ๔. เป็นมัตตัญญู (ผู้รู้จักประมาณ) ๕. เป็นกาลัญญู (ผู้รู้จักเวลา) ๖. เป็นปริสัญญู (ผู้รู้จักชุมชน) ๗. เป็นปุคคลัญญู (ผู้รู้จักบุคคล) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่แทงตลอดได้ยาก @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๒-๓๓๓ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๐ หน้า ๓๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๗ ประการ

(ช) ธรรม ๗ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร คือ สัญญา๑- ๗ ได้แก่ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง) ๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายทุกข์โทษของกายอันมีความ เจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรม ทั้งหลาย) ๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น (ฌ) ธรรม ๗ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ นิททสวัตถุ๒- ๗ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา และไม่ ปราศจากความรัก๓- ในการสมาทานสิกขาต่อไป ๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และไม่ ปราศจากความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป ๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก และไม่ ปราศจากความรักในการกำจัดความอยากต่อไป ๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจาก ความรักในการหลีกเร้นต่อไป ๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ ปราศจากความรักในการปรารภความเพียรต่อไป @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๔-๓๓๕ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๖๒๔/๑๘๙-๑๙๐ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๓-๓๓๔ ในเล่มนี้, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๒/๖๓-๖๔ @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๗ ประการ

๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเครื่องรักษาตน และ ไม่ปราศจากความรักในสติปัญญาเครื่องรักษาตนต่อไป ๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดทิฏฐิ และไม่ ปราศจากความรักในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรรู้ยิ่ง (ญ) ธรรม ๗ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ กำลังของพระขีณาสพ ๗ ได้แก่ ๑. สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพในพระธรรมวินัยนี้เห็น ว่าเป็นสภาวะไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ข้อที่สังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเป็นสภาวะ ไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของ ภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ ทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ๒. กามทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุม ถ่านเพลิงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่กาม ทั้งหลายเป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเห็นว่าเปรียบด้วยหลุมถ่าน เพลิงด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้ก็เป็นกำลังของ ภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะ ทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ๓. จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปในวิเวก โน้มไปใน วิเวก โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปในวิเวก โน้ม ไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญา ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๗ ประการ

๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ ข้อที่สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญา ความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ๕. อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อ ที่อินทรีย์ ๕ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็เป็น กำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความสิ้น อาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ๖. โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อ ที่โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว นี้ก็ เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพอาศัยปฏิญญาความ สิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ๗. อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้ว แม้ข้อที่อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญ อบรมดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพที่ภิกษุขีณาสพ อาศัยปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า “อาสวะของเรา สิ้นแล้ว” นี้ คือธรรม ๗ ประการที่ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๗๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
ภาณวารที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

ธรรม ๘ ประการ
[๓๕๘] ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๘ ประการที่ควรละ ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ คืออะไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ ครูที่เธออาศัยอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๑ เป็นไปเพื่อได้ อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๒. เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ มีความรักและความเคารพอย่างแรงกล้า ในพระศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีบางรูป ซึ่งตั้งอยู่ในฐานะ ครูที่เธออาศัยอยู่ เธอเข้าไปหาท่านเหล่านั้นตามเวลาอันควร สอบถามไต่สวนว่า “พระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความ ของพระพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ท่านเหล่านั้นจะเปิดเผย ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย จะทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

และบรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่างแก่เธอ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๒ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม- จริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็ม ที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๓. ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้รับความสงบเย็น ๒ ประการคือ (๑) ความสงบเย็นทางกาย (๒) ความสงบเย็นทางจิต นี้เป็น เหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๓ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยก- ปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง ปัญญาที่ได้แล้ว ๔. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์๑- เพียบพร้อม ด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๔ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหม- จริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๕. เป็นพหูสูต ทรงสุตะสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก ซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงาม ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ดีด้วยทิฏฐิ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๕ เป็นไปเพื่อได้อาทิ- พรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญ เต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว @เชิงอรรถ : @ สังวรในพระปาติโมกข์ มีอรรถาธิบายแต่ละคำดังนี้ สังวร หมายถึงการไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา @ปาติโมกข์ หมายถึงศีลสิกขาบทที่เป็นเหตุให้ผู้รักษาหลุดพ้นจากทุกข์ (ปาติ=รักษา+โมกขะ=ความหลุดพ้น) @(วิสุทฺธิ. ๑/๑๔/๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๖. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ทั้งหลายอยู่ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๖ เป็นไปเพื่อได้ อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ๗. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑- อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำ และคำที่พูดแม้นานได้ นี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยประการที่ ๗ เป็นไปเพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญา ที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญา ที่ได้แล้ว ๘. ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ‘รูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้ ความ ดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนาเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง เวทนาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้ สัญญา เป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง สัญญาเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นอย่างนี้ วิญญาณเป็น อย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับแห่ง วิญญาณเป็นอย่างนี้’ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๘ เป็นไป เพื่อได้อาทิพรหมจริยกปัญญาที่ยังไม่ได้ เพื่อภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งปัญญาที่ได้แล้ว นี้ คือธรรม ๘ ประการที่มีอุปการะมาก @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๓๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

(ข) ธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร คือ อริยมรรคมีองค์๑- ๘ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรเจริญ (ค) ธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ โลกธรรม๒- ๘ ได้แก่ ๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๘ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ มิจฉัตตธรรม๓- (ธรรมที่ผิด) ๘ ได้แก่ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๓ หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๗ หน้า ๓๔๘ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๓๓ หน้า ๓๔๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ กุสีตวัตถุ๑- (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ได้แก่ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความ เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเราทำงาน กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้อง เดินทาง เมื่อเราเดินทาง กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๔ หน้า ๓๔๑-๓๔๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเราเดินทาง กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้ โภชนะเศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กาย ของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน จะเป็นเหมือนถั่วราชมาส ชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิด มีอาพาธขึ้นเล็กน้อย มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กาย ของเรานั้นยังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน มีข้ออ้างที่จะนอนได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๐๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน‘เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ ประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม (จ) ธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ อารัมภวัตถุ๑- (เหตุแห่งการปรารภความเพียร) ๘ ได้แก่ ๑. ภิกษุในพระในธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้น เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราทำงานแล้ว เมื่อเราทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระ พุทธเจ้าทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความ เพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง‘เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุ ประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๕ หน้า ๓๔๓-๓๔๔ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง การที่เราเดินทางอยู่ จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการ ที่ ๓ ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้เดินทางแล้ว เมื่อเดินทางอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้ แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการ ที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของ เรานั้นเบา ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภ ความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้โภชนะ เศร้าหมองหรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกาย ของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภ ความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิด มีอาพาธขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรง ขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิด อย่างนี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็น ไปได้ที่อาพาธของเราจะกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึง ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ (ฉ) ธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร คือ กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑- ได้แก่ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และทรงแสดงธรรม๒- ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน๓- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๒ หน้า ๓๕๕ ในเล่มนี้, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๙/๒๗๔-๒๗๖ @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจจะ ๔ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) @ ปรินิพพาน ในที่นี้หมายถึงความดับกิเลส (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงนรก นี้เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรม ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒ ๓. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรม ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงเปรตวิสัย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะ อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ๔. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้เข้าถึงเทพนิกาย๑- ที่มีอายุยืนชั้นใดชั้นหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ๕. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว และทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็น ผู้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท อยู่ในพวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาผ่านไปมา นี้ก็ เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๔๒ หน้า ๓๕๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๖. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นมิจฉา- ทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชา แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี และทำชั่วก็ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ก็ไม่มีในโลกนี้’ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖ ๗. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมี ปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ๑- ไม่สามารถจะรู้เนื้อความ แห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ๘. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก และไม่ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะ กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และเป็นผู้มีปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็น คนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็ เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่แทงตลอดได้ยาก @เชิงอรรถ : @ เป็นคนเซอะ แปลจากบาลีว่า ‘เอฬมูโค’ อรรถกถาอธิบายไขความว่า ‘ปคฺฆริตเขฬมูโค’ แปลว่า ‘เป็นใบ้มี @น้ำลายไหล’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๑๒/๔๘) หมายถึงใช้ปากพูดได้บ้าง พูดไม่ชัด (สํ.ม.อ. ๓/๒๒๕-๒๓๑/๒๒๓) @แต่ในอภิธานปฺปทีปิกาฏีกา อธิบายว่า หมายถึงผู้ไม่ฉลาดพูดไม่ฉลาดฟัง และไม่ฉลาดในภาษาที่จะพูด @(วตฺตุ โสตุญฺจ อกุสโล, วจเน จ อกุสโล) ท่านแยกอธิบายไว้ว่า เอโฬ หมายถึง พธิโร (คนหูหนวก) มูโค @หมายถึง อวจโน (พูดไม่ได้) หรือหมายถึงคนโอ้อวด (สเฐปิ เอฬมูโค) (อภิธา : ฏีกา คาถา ๗๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

(ช) ธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร คือ ความตรึกของมหาบุรุษ ๘ ได้แก่ ๑. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มักน้อย ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก ๒. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๓. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สงัด ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีใน การคลุกคลี ๔. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของ บุคคลผู้เกียจคร้าน ๕. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้หลงสติ ๖. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีใจ ไม่ตั้งมั่น ๗. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มี ปัญญาทราม ๘. นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม๑- ผู้พอใจใน นิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม ผู้พอใจในปปัญจธรรม นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น (ฌ) ธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ อภิภายตนะ๒- ๘ ได้แก่ ๑. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ขนาด เล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ ๒. ภิกษุรูปหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาด ใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่าง นี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ นิปปปัญจธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ปราศจากสิ่งปรุงแต่ง คือ มานะ ตัณหา และทิฏฐิ @(ที.ปา.อ. ๓๕๘/๒๖๔) @ ดูเทียบข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๔๘-๓๕๐ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๓/๑๒๐, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๙/๗๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑- เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญา อย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบ เหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสี เขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมี เนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มี สัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕ ๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบ เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วย ของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญา ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๖ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๓๘ หน้า ๓๔๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือน ดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสีอันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดง เข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือน ดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาว เข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อ ละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสี ขาวเข้ม แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรรู้ยิ่ง (ญ) ธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ วิโมกข์๑- ๘ ได้แก่ ๑. บุคคลผู้มีรูป เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๒ ๓. บุคคลผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ เท่านั้น นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๓๙ หน้า ๓๕๐-๓๕๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๘ ประการ

๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหา ที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็น วิโมกข์ประการที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ นี้ คือธรรม ๘ ประการที่ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๘๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
ธรรม ๙ ประการ
[๓๕๙] ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๙ ประการที่ควรละ ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ ธรรมมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ ได้แก่ ๑. บุคคลมนสิการโดยแยบคาย ปราโมทย์ย่อมเกิด ๒. เมื่อมีปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

๓. เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ๔. ผู้มีกายสงบ ย่อมได้รับสุข ๕. เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ๖. เมื่อจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ๗. เมื่อรู้ เมื่อเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายได้เอง ๘. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ๙. เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น นี้ คือธรรม ๙ ประการที่มีอุปการะมาก (ข) ธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร คือ องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ ได้แก่ ๑. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือสีลวิสุทธิ (ความหมดจด แห่งศีล) ๒. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือจิตตวิสุทธิ (ความหมดจด แห่งจิต) ๓. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจด แห่งทิฏฐิ) ๔. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือกังขาวิตรณวิสุทธิ (ความ หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) ๕. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือมัคคามัคคญาณทัสสน- วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง) ๖. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นทางดำเนิน) ๗. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือญาณทัสสนวิสุทธิ (ความ หมดจดแห่งญาณทัสสนะ) ๘. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือปัญญาวิสุทธิ (ความ หมดจดแห่งปัญญา) ๙. องค์ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือวิมุตติวิสุทธิ (ความหมดจด แห่งความหลุดพ้น) นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรเจริญ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๑๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

(ค) ธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ สัตตาวาส๑- ๙ ได้แก่ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑ ๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดใน ปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวกเทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้น อสัญญีสัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุด มิได้’ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๗ ๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๘ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๑ หน้า ๓๕๔-๓๕๕ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๒๗/๗๒-๗๓, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๔/๖๗-๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙ นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๙ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ๑- ๙ ได้แก่ ๑. เพราะอาศัยตัณหา ปริเยสนา (การแสวงหา) จึงเป็นไป ๒. เพราะอาศัยปริเยสนา ลาภะ(การได้) จึงเป็นไป ๓. เพราะอาศัยลาภะ วินิจฉยะ (การกำหนด) จึงเป็นไป ๔. เพราะอาศัยวินิจฉยะ ฉันทราคะ (ความกำหนดด้วยอำนาจความ พอใจ) จึงเป็นไป ๕. เพราะอาศัยฉันทราคะ อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) จึงเป็นไป ๖. เพราะอาศัยอัชโฌสานะ ปริคคหะ (การยึดถือครอบครอง) จึงเป็นไป ๗. เพราะอาศัยปริคคหะ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จึงเป็นไป ๘. เพราะอาศัยมัจฉริยะ อารักขะ (ความหวงกั้น) จึงเป็นไป ๙. เพราะอาศัยอารักขะเป็นเหตุ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนก ที่เกิดขึ้น จากการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวขึ้นเสียงว่า ‘มึง มึง’ และการพูดเท็จ จึง เป็นไป๒- นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรละ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๐๓/๖๑, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๔๘๐-๔๘๑ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๐๓/๖๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

(ง) ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ อาฆาตวัตถุ๑- (เหตุผูกอาฆาต) ๙ ได้แก่ ๑. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒- แก่เรา’ ๒. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’ ๓. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’ ๔. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คน ผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา’ ๕. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา’ ๖. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คน ผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา’ ๗. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ ๘. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ ๙. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ นี้ คือธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม (จ) ธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต๓- ๙ ได้แก่ ๑. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน‘๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๒ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๗๙/๑๗๗-๑๗๘ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๒ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๓ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๐ หน้า ๓๕๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

๒. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้ แต่ที่ไหน’ ๓. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๔. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๕. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๖. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๗. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน ผู้ที่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้ แต่ที่ไหน’ ๘. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้ แต่ที่ไหน’ ๙. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คน ผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้ แต่ที่ไหน’ นี้ คือธรรม ๙ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

(ฉ) ธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร คือ นานัตตะ (สภาวะที่ต่างกัน) ๙ ได้แก่ ๑. ความต่างกันแห่งธาตุ๑- ๒. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งผัสสะ จึงเกิดขึ้น ๓. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ความต่างกันแห่งเวทนา จึงเกิดขึ้น ๔. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งเวทนา ความต่างกันแห่งสัญญา จึงเกิดขึ้น ๕. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งสัญญา ความต่างกันแห่งความ ดำริจึงเกิดขึ้น ๖. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความดำริ ความต่างกันแห่ง ความพอใจจึงเกิดขึ้น ๗. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความพอใจ ความต่างกันแห่ง ความเร่าร้อนจึงเกิดขึ้น ๘. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งความเร่าร้อน ความต่างกันแห่ง การแสวงหาจึงเกิดขึ้น ๙. เพราะอาศัยความต่างกันแห่งการแสวงหา ความต่างกันแห่ง การได้จึงเกิดขึ้น นี้ คือธรรม ๙ ประการที่แทงตลอดได้ยาก (ช) ธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร คือ สัญญา๒- ๙ ได้แก่ ๑. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะต้องมาถึงเป็น ธรรมดา) @เชิงอรรถ : @ ธาตุ ในที่นี้หมายถึงธาตุ ๑๘ มีจักขุธาตุ เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๕๙/๒๖๕) @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๑๖/๔๖๔-๔๖๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความปฏิกูลในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่น่า เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความ ไม่เที่ยงแห่งสังขาร ) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน ความเป็นทุกข์) ๘. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป ธรรมทั้งหลาย) ๙. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น (ฌ) ธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ อนุปุพพวิหาร๑- ๙ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส ในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๓ หน้า ๓๕๗ ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๓/๔๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๙ ประการ

๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน แล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ ๕. บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ๖. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ๗. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญ- จัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ๘. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนว- สัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ๙. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรรู้ยิ่ง (ญ) ธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ อนุปุพพนิโรธ๑- ๙ ได้แก่ ๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป ๒. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป ๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป ๔. ลมหายใจเข้าลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป ๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป ๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานดับไป ๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๔ หน้า ๓๕๘ ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๑/๔๙๓-๔๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป ๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธดับไป นี้ คือธรรม ๙ ประการที่ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๙๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้
ธรรม ๑๐ ประการ
[๓๖๐] ธรรม ๑๐ ประการที่มีอุปการะมาก___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรเจริญ ธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม___ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่าย คุณวิเศษ ธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง___ธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง (ก) ธรรม ๑๐ ประการที่มีอุปการะมาก คืออะไร คือ นาถกรณธรรม๑- (ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อม ด้วยอาจาระ(มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัย ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้ เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายนี้เป็นนาถ- กรณธรรม @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๕ หน้า ๓๕๙-๓๖๑ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๓๑-๓๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและ พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ แม้การที่ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๓. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟัง คำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงาน สูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญา เป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกัน ทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงาน ต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็น เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็น ที่พอใจ มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชชบริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่ จะได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล- ธรรมทั้งหลายอยู่ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อ ละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความเข้มแข็ง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม ๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษา ตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม ๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึง ความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบ ด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่มีอุปการะมาก (ข) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรเจริญ คืออะไร คือ กสิณายตนะ๑- (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐ ได้แก่ ๑. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ ๒. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ... ๓. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ... ๔. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ... @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๖ หน้า ๓๖๑ ในเล่มนี้, และดูเทียบข้อ ๓๔๖ หน้า ๓๖๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๒๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๕. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ... ๖. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ... ๗. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ... ๘. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ... ๙. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ... ๑๐. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรเจริญ (ค) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้ คืออะไร คือ อายตนะ ๑๐ ได้แก่ ๑. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา) ๒. รูปายตนะ (อายตนะคือรูป) ๓. โสตายตนะ (อายตนะคือหู) ๔. สัททายตนะ (อายตนะคือเสียง) ๕. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก) ๖. คันธายตนะ (อายตนะคือกลิ่น) ๗. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น) ๘. รสายตนะ (อายตนะคือรส) ๙. กายายตนะ (อายตนะคือกาย) ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ (อายตนะคือโผฏฐัพพะ) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรกำหนดรู้ (ฆ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ คืออะไร คือ มิจฉัตตะ๑- (ความเป็นธรรมที่ผิด) ๑๐ ได้แก่ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๒/๒๘๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ อกุศลกรรมบถ๑- (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่ ๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม (จ) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ กุศลกรรมบถ๒- (ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐ @ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒-๓๖๓ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐-๓๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อนภิชฌา (ความไม่โลภอยากได้ของของเขา) ๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) ๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ (ฉ) ธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร คือ อริยวาส๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก ๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ ๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๓-๓๖๕ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๑๙-๒๐/๓๘-๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้ ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ได้ เป็นผู้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ได้ ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้อง โผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็น ผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑- พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒- อันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ อันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๔ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้ ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่าง นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริใน พยาบาท(การคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอัน ไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละ ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

(ช) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร คือ สัญญา๑- ๑๐ ได้แก่ ๑. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะมาถึงเป็น ธรรมดา) ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นปฏิกูล ในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่ เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ใน ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน ความเป็นทุกข์) ๘. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป- ธรรมทั้งหลาย) ๙. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียด ประณีต) ๑๐. นิโรธสัญญา (ความกำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียด ประณีต) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น (ฌ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ นิชชรวัตถุ (ธรรมที่ทำให้เสื่อม) ๑๐ ได้แก่ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ของผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ของผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- สังกัปปะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ของผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาวาจา เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ของผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- กัมมันตะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ของผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- อาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ของผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- วายามะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ของผู้มีสัมมาสติ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสติเป็น ปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ของผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสมาธิ เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญ เต็มที่เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ของผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาญาณะ เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) ของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- วิมุตติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง (ญ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ อเสขธรรม๑- ๑๐ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ๒- ที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ ๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ ๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ ๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ ๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ ๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ ๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ ๙. สัมมาญาณะ๓- ที่เป็นอเสขะ ๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๕ ในเล่มนี้ และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

วรรคนี้มี ๑๑ พระสูตรได้แก่

ธรรม ๑๐๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้” เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ ท่านพระสารีบุตรแล้วแล
ทสุตตรสูตรที่ ๑๑ จบ
ปาฏิกวรรค จบ
วรรคนี้มี ๑๑ พระสูตร ได้แก่
๑. ปาฏิกสูตร ๒. อุทุมพริกสูตร ๓. จักกวัตติสูตร ๔. อัคคัญญสูตร ๕. สัมปสาทนียสูตร ๖. ปาสาทิกสูตร ๗. ลักขณสูตร ๘. สิงคาลกสูตร ๙. อาฏานาฏิยสูตร ๑๐. สังคีติสูตร ๑๑. ทสุตตรสูตร
ปาฏิกวรรค จบ
ทีฆนิกายทั้งหมดมี ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค
จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๘}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๙๘-๔๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=11440&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7016&Z=8138&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=364&items=112              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=364&items=112              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]