ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรละ (ง) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม คืออะไร คือ อกุศลกรรมบถ๑- (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่ ๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายเสื่อม (จ) ธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ คืออะไร คือ กุศลกรรมบถ๒- (ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐ ได้แก่ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐ @ ดูเทียบข้อ ๓๔๗ หน้า ๓๖๒-๓๖๓ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐-๓๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อนภิชฌา (ความไม่โลภอยากได้ของของเขา) ๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) ๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่เป็นไปในฝ่ายคุณวิเศษ (ฉ) ธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก คืออะไร คือ อริยวาส๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ได้แก่ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก ๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ ๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๓-๓๖๕ ในเล่มนี้, องฺ.ทสก. (แปล) ๑๙-๒๐/๓๘-๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้ ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม) ได้ เป็นผู้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ได้ ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้อง โผฏฐัพพะทางกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็น ผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑- พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒- อันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ อันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๔ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้ ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่าง นี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริใน พยาบาท(การคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอัน ไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ฯลฯ เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละ ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่แทงตลอดได้ยาก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

(ช) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น คืออะไร คือ สัญญา๑- ๑๐ ได้แก่ ๑. อสุภสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๒. มรณสัญญา (ความกำหนดหมายความตายที่จะมาถึงเป็น ธรรมดา) ๓. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นปฏิกูล ในอาหาร) ๔. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่ เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง) ๕. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๖. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ใน ความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๗. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน ความเป็นทุกข์) ๘. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป- ธรรมทั้งหลาย) ๙. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียด ประณีต) ๑๐. นิโรธสัญญา (ความกำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียด ประณีต) นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรให้เกิดขึ้น (ฌ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ นิชชรวัตถุ (ธรรมที่ทำให้เสื่อม) ๑๐ ได้แก่ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ของผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๖/๑๒๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ของผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- สังกัปปะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ของผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาวาจา เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ของผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- กัมมันตะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ของผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- อาชีวะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ของผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- วายามะเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อม ถึงความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ของผู้มีสัมมาสติ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสติเป็น ปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด) ของผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาสมาธิ เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญ เต็มที่เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

ธรรม ๑๐ ประการ

๙. มิจฉาญาณะ (รู้ผิด) ของผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉาญาณะ เป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความ เจริญเต็มที่เพราะสัมมาญาณะเป็นปัจจัย ๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้นผิด) ของผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมไป คือ บาปอกุศลธรรมเป็นอเนกของบุคคลที่เกิดเพราะมิจฉา- วิมุตติเป็นปัจจัยย่อมเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึง ความเจริญเต็มที่เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรรู้ยิ่ง (ญ) ธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร คือ อเสขธรรม๑- ๑๐ ได้แก่ ๑. สัมมาทิฏฐิ๒- ที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ ๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ ๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ ๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ ๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ ๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ ๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ ๙. สัมมาญาณะ๓- ที่เป็นอเสขะ ๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ นี้ คือธรรม ๑๐ ประการที่ควรทำให้แจ้ง @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๕ ในเล่มนี้ และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๔๘ หน้า ๓๖๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๑. ทสุตตรสูตร]

วรรคนี้มี ๑๑ พระสูตรได้แก่

ธรรม ๑๐๐ ประการนี้ เป็นของจริง เป็นของแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็น อย่างอื่น ที่พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยประการฉะนี้” เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของ ท่านพระสารีบุตรแล้วแล
ทสุตตรสูตรที่ ๑๑ จบ
ปาฏิกวรรค จบ
วรรคนี้มี ๑๑ พระสูตร ได้แก่
๑. ปาฏิกสูตร ๒. อุทุมพริกสูตร ๓. จักกวัตติสูตร ๔. อัคคัญญสูตร ๕. สัมปสาทนียสูตร ๖. ปาสาทิกสูตร ๗. ลักขณสูตร ๘. สิงคาลกสูตร ๙. อาฏานาฏิยสูตร ๑๐. สังคีติสูตร ๑๑. ทสุตตรสูตร
ปาฏิกวรรค จบ
ทีฆนิกายทั้งหมดมี ๓๔ สูตร จัดเป็น ๓ วรรค
จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๔๓๘}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๔๓๑-๔๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=12440&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=11              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7016&Z=8138&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=364              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=364&items=112              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=364&items=112              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]