ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

ธรรมที่เป็นบริขารแห่งสมาธิ๑- ๗ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
อสัทธรรม๒- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ ๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย ๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม ๗. เป็นผู้มีปัญญาทราม
สัทธรรม๓- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ ๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นพหูสูต @เชิงอรรถ : @ บริขารแห่งสมาธิ หมายถึงองค์ประกอบแห่งมรรคสมาธิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๒) @และดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๕/๖๘-๖๙ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๓/๑๘๓ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๙๔/๑๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง ๗. เป็นผู้มีปัญญา
สัปปุริสธรรม๑- ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นธัมมัญญ (ผู้รู้จักเหตุ) ๒. เป็นอัตถัญญ (ผู้รู้จักผล) ๓. เป็นอัตตัญญ (ผู้รู้จักตน) ๔. เป็นมัตตัญญ (ผู้รู้จักประมาณ) ๕. เป็นกาลัญญ (ผู้รู้จักกาลเวลา) ๖. เป็นปริสัญญ (ผู้รู้จักชุมชน) ๗. เป็นปุคคลัญญ (ผู้รู้จักบุคคล)
[๓๓๑] นิททสวัตถุ๒- (เหตุให้ได้ชื่อว่าผู้มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี) ๗ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา๓- และไม่ปราศจาก ความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป๔- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก.(แปล) ๒๓/๖๘/๑๔๓ @ นิททสวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสะ” ซึ่งแปลว่า มีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี คำนี้เป็นคำที่พวก @เดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนด ๑๒ ปี ถ้าตายลงเมื่อถึง ๑๐ ปี เรียกผู้นั้นว่า @“นิททส” คือเมื่อมาเกิดอีก จะมีอายุไม่ถึง ๑๐ ปี และอาจไม่ถึง ๙ ปี - ๑ ปี แต่พระผู้มีพระภาคทรงใช้คำนี้ @หมายถึงพระขีณาสพในความหมายว่า “ไม่มีการเกิดอีก” ไม่ว่าจะเกิดมาเพียงวันเดียวหรือครู่เดียวโดย @มีเงื่อนไขว่า ผู้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยธรรม ๗ ประการ ส่วนเวลาประพฤติพรหมจรรย์มากน้อยไม่สำคัญ @(ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๘, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๔-๑๖๕) @ สมาทานสิกขา ในที่นี้หมายถึงการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาให้บริบูรณ์และถูกต้อง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) @ ไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป ในที่นี้หมายถึงกาลเวลาแห่งการบำเพ็ญที่เนื่องกัน @ไม่ขาดระยะ มิได้หมายถึงภพในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม๑- และไม่ปราศจาก ความรักในการใคร่ครวญธรรมต่อไป ๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก๒- และไม่ปราศจาก ความรักในการกำจัดความอยากต่อไป ๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และไม่ปราศจากความรักใน การหลีกเร้นต่อไป ๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และไม่ปราศจาก ความรักในการปรารภความเพียรต่อไป ๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๓- และไม่ปราศจาก ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป ๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ๔- และไม่ปราศจาก ความรักในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
สัญญา๕- ๗ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง) @เชิงอรรถ : @ การใคร่ครวญธรรม แปลจากบาลีว่า “ธมฺมนิสนฺติ” หมายถึงการเพ่งพินิจพิจารณาเห็นธรรมโดยเป็น @สภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คำว่า “ธมฺมนิสนฺติ” เป็นชื่อของวิปัสสนา (ที.ปา.อ. ๓๓๑/๒๓๙, @องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) @ การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณที่ @พิจารณาเห็นความดับ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๒) หรือด้วยอำนาจ @วิปัสสนาญาณมีวิราคานุปัสสนา เป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา ๓๓๑/๓๒๖) @ สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญา กล่าวคือสติและสัมปชัญญะ @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓) @ การแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า “ทิฏฐิปฏิเวธ” หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นด้วยมรรค) @กล่าวคือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๐/๑๖๕, องฺ.สตฺตก.ฏีกา ๓/๒๐/๑๙๓) @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๕๗/๑๒๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๓. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย) ๔. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ) ๕. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย) ๖. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต) ๗. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
พละ๑- ๗ ๑. สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) ๒. วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ๓. หิริพละ (กำลังคือหิริ) ๔. โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) ๕. สติพละ (กำลังคือสติ) ๖. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ๗. ปัญญาพละ (กำลังคือปัญญา)
๑๐
[๓๓๒] วิญญาณฐิติ๒- (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ) ๗ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพบางพวก๓- และวินิปาติกะบางพวก๔- นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๓/๔ @ ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒-๗๓ @ เทพบางพวก หมายถึงเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ ๖ คือ (๑) ชั้นจาตุมหาราช (๒) ชั้นดาวดึงส์ @(๓) ชั้นยามา (๔) ชั้นดุสิต (๕) ชั้นนิมมานรดี (๖) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. ๒/๑๒๗/๑๐๙) @ วินิปาติกะบางพวก หมายถึงพวกเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ ๔ เช่น ยักษิณีผู้เป็นมารดาของ @อุตตระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระ ยักษิณีผู้เป็นมารดาของผุสสะ ร่างกายของเปรตเหล่านี้แตกต่างกัน @คือ มีทั้งอ้วน ผอม เตี้ย สูง มีผิวขาว ผิวดำ ผิวสีทอง และสีนิล มีลักษณะ มีสัญญาต่างกัน ด้วยติเหตุกะ @ทุเหตุกะ และอเหตุกะ เหมือนของมนุษย์ เวมานิกเปรตเหล่านี้ไม่มีศักดิ์มาก เหมือนพวกเทพบางพวก @ได้รับทุกข์ในข้างแรม ได้รับสุขในข้างขึ้น แต่เวมานิกเปรตที่เป็นติเหตุกะสามารถบรรลุธรรมได้ เช่น @การบรรลุธรรมของยักษิณีผู้เป็นมารดาของปิยังกระเป็นต้น (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๔๔-๔๕/๑๘๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๒. มีสัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือพวกเทพ ชั้นพรหมกายิกา๑- (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน คือ พวก เทพชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน๒- โดยกำหนดว่า “อากาศ หาที่สุดมิได้” เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน๓- โดยกำหนดว่า “วิญญาณหาที่สุดมิได้” นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน๔- โดยกำหนดว่า “ไม่มีอะไร” นี้เป็นวิญญาณฐิติ ที่ ๗ @เชิงอรรถ : @ เทพชั้นพรหมกายิกา หมายถึงพรหมชั้นปฐมฌานภูมิ (ระดับปฐมฌาน) ๓ ชั้น คือ (๑) พรหมปาริสัชชา @(พวกบริษัทบริวารมหาพรหม) (๒) พรหมปโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม) (๓) มหาพรหมา (พวกท้าว @มหาพรหม) (ที.ม.อ. ๑๒๗/๑๐๙-๑๑๐) @ อากาสานัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดอากาศ คือช่องว่างอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้น @ที่ ๑ ของอรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ วิญญาณัญจายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดวิญญาณอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ เป็นขั้นที่ ๒ ของ @อรูปฌาน ๔ (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) @ อากิญจัญญายตนฌาน หมายถึงฌานที่กำหนดภาวะอันไม่มีอะไร (ความว่าง) เป็นอารมณ์ ฌานนี้เรียก @อีกอย่างหนึ่งว่า สัญญัคคะ (ที่สุดแห่งสัญญา) เพราะเป็นภาวะสุดท้ายของการมีสัญญา กล่าวคือผู้บรรลุ @อากิญจัญญายตนฌานแล้ว ชั้นต่อไปจะเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง เข้าถึงสัญญาเวทยิต- @นิโรธบ้าง (ที.สี.อ. ๔๑๔/๓๐๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๑๑
ทักขิเณยยบุคคล (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๗ ๑. อุภโตภาควิมุต๑- (ผู้หลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน) ๒. ปัญญาวิมุต๒- (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา) ๓. กายสักขี๓- (ผู้เป็นพยานในนามกายด้วยกาย) ๔. ทิฏฐิปัตตะ๔- (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ) ๕. สัทธาวิมุต๕- (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา) ๖. ธัมมานุสารี๖- (ผู้แล่นไปตามธรรม) ๗. สัทธานุสารี๗- (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)
๑๒
อนุสัย๘- (กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน) ๗ ๑. กามราคานุสัย (อนุสัยคือความกำหนัดในกาม) ๒. ปฏิฆานุสัย (อนุสัยคือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐานุสัย (อนุสัยคือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉานุสัย (อนุสัยคือความลังเลสงสัย) ๕. มานานุสัย (อนุสัยคือความถือตัว) ๖. ภวราคานุสัย (อนุสัยคือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชานุสัย (อนุสัยคือความไม่รู้แจ้ง) @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๔ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๖ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๑ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๕๐ หน้า ๑๑๒ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๑๑/๑๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๙/๖๐๕-๖๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๗

๑๓
สังโยชน์๑- (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ ๑. อนุนยสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินดี๒-) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย) ๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว) ๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง)
๑๔
อธิกรณสมถธรรม๓- (ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์) ๗ เพื่อระงับ เพื่อดับอธิกรณ์๔- ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วๆ ๑. สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย๕- ๒. สงฆ์พึงให้สติวินัย๖- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘/๑๔ @ ความยินดี หมายถึงกามราคะ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๘/๑๖๐) @ ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๘๔/๑๗๙ @ อธิกรณ์ หมายถึงเรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ (๑) วิวาทาธิกรณ์ การถกเถียงกันเกี่ยวกับ @พระธรรมวินัย (๒) อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ (๓) อาปัตตาธิกรณ์ การต้อง @อาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวเองให้พ้นจากอาบัติ (๔) กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ @เช่น การให้อุปสมบท การให้ผ้ากฐิน เป็นต้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๕/๑๓) และดู วิ.จู. (แปล) ๖/๒๑๕/๓๓๐-๓๓๒ @๕-๖ สัมมุขาวินัย วิธีระงับอธิกรณ์ ในที่พร้อมหน้า คือต้องพร้อมทั้ง ๔ พร้อม คือ (๑) พร้อมหน้าสงฆ์ @ได้แก่ ภิกษุเข้าร่วม ประชุมครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้แต่ละกรณี (๒) พร้อมหน้าบุคคลได้แก่คู่กรณี @หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นอยู่พร้อมหน้า (๓) พร้อมหน้าวัตถุ ได้แก่ ยกเรื่องที่เกิดขึ้นนั้นมาวินิจฉัย @(๔) พร้อมหน้าธรรม ได้แก่ วินิจฉัยถูกต้องตามธรรมวินัย @สติวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยประกาศให้ทราบว่า พระอรหันต์เป็นพระอริยะ ผู้มีสติสมบูรณ์ @เป็นวิธีระงับโดยเอาสติเป็นหลักในกรณีที่มีผู้โจทพระอรหันต์ เป็นการบอกให้รู้ว่า ใครจะโจทพระอรหันต์ @ไม่ได้ (วิ.ม. (แปล) ๕/๔๐๐-๔๐๑/๒๘๘-๒๙๑) และดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๙๕-๓๒๘, @วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๓. สงฆ์พึงให้อมูฬหวินัย๑- ๔. สงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๒- ๕. สงฆ์พึงให้เยภุยยสิกา๓- ๖. สงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๔- ๗. สงฆ์พึงให้ติณวัตถารกะ๕- ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๗ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๗ จบ
ภาณวารที่ ๒ จบ
สังคีติหมวด ๘
[๓๓๓] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๘ ประการที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @๑-๕ อมูฬหวินัย หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้แก่ภิกษุที่หายเป็นบ้าแล้ว ในกรณีที่มีผู้ @โจทภิกษุด้วยอาบัติที่ต้องในขณะเป็นบ้า สงฆ์จะสวดประกาศสมมติเพื่อมิให้ใครๆ โจทเธอด้วยอาบัติ @ปฏิญญาตกรณะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยปรับอาบัติตามคำรับสารภาพของภิกษุผู้ต้องอาบัติ @เยภุยยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินตามเสียงข้างมาก สงฆ์จะใช้วิธีการนี้ในกรณีที่บุคคล @หลายฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน @ตัสสปาปิยสิกา หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด เมื่อสงฆ์พิจารณาตามหลักฐาน @พยานแล้ว เห็นว่ามีความผิดจริง แม้เธอจะไม่รับสารภาพก็ตาม @ติณวัตถารกะ หมายถึงวิธีระงับอธิกรณ์โดยให้ทั้ง ๒ ฝ่ายประนีประนอมกัน เปรียบเหมือนเอาหญ้า @กลบไว้ ไม่ต้องชำระสะสางความ วิธีนี้จะใช้ระงับอธิกรณ์ที่ยุ่งยาก เช่น กรณีพิพาทกันของภิกษุชาวกรุง @โกสัมพี (วิ.ม. ๕/๔๕๑-๔๕๒/๓๓๓-๓๓๕) และ ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) ๖/๑๘๕-๒๑๒/๒๙๕-๓๒๘, @วิ.ป. (แปล) ๘/๒๗๕/๓๗๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๓๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

ธรรมหมวดละ ๘ ประการ คืออะไร คือ
มิจฉัตตะ๑- (ความเป็นธรรมที่ผิด) ๘ ๑. มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) ๒. มิจฉาสังกัปปะ (ดำริผิด) ๓. มิจฉาวาจา (เจรจาผิด) ๔. มิจฉากัมมันตะ (กระทำผิด) ๕. มิจฉาอาชีวะ (เลี้ยงชีพผิด) ๖. มิจฉาวายามะ (พยายามผิด) ๗. มิจฉาสติ (ระลึกผิด) ๘. มิจฉาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นผิด)
สัมมัตตะ๒- (ความเป็นธรรมที่ถูก) ๘ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๒/๒๘๒ @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓๓/๒๘๒-๒๘๓ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

ทักขิเณยยบุคคล๑- (บุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา) ๘ ๑. พระโสดาบัน ๒. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ๓. พระสกทาคามี ๔. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล ๕. พระอนาคามี ๖. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล ๗. พระอรหันต์ ๘. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล
[๓๓๔] กุสีตวัตถุ๒- (เหตุแห่งความเกียจคร้าน) ๘ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องทำงาน เมื่อเราทำงานอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา ทำงานอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอน เสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง เมื่อ เราเดินทางอยู่ กายจักเมื่อยล้า อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๙/๔๔๘-๔๔๙, อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๒๐๗/๒๒๙ @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๐/๔๐๐-๔๐๒, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๕๓/๖๑๐-๖๑๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา เดินทางอยู่ กายเมื่อยล้าแล้ว อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึง นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔ ๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ก็ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเมื่อยล้าแล้ว ไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว กายของเรานั้นหนัก ไม่ควรแก่ การงาน จะเหมือนถั่วราชมาสชุ่มด้วยน้ำ อย่ากระนั้นเลย เรา จะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีต วัตถุประการ ที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมี อาพาธ ขึ้นเล็กน้อยแล้ว มีข้ออ้างที่จะนอนได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น กุสีตวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน กายของเรายัง อ่อนแอไม่ควรแก่การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะนอน’ เธอจึงนอนเสีย ไม่ปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ ประการที่ ๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

[๓๓๕] อารัมภวัตถุ๑- (เหตุแห่งการปรารภความเพียร) ๘ ๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีงานที่ต้องทำ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจัก ต้องทำงาน เมื่อเราทำงาน การจะใส่ใจคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภ ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อ ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๑ ๒. ภิกษุทำงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราได้ทำงานแล้ว เมื่อเรา ทำงานอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอ จึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๒ ๓. ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักต้องเดินทาง การที่ เราเดินทางอยู่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มิใช่ทำ ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๓ ๔. ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเดินทางแล้ว เมื่อเรา เดินทางอยู่ ก็ไม่สามารถที่จะใส่ใจคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๔ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๘๐/๔๐๒-๔๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๕. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ กายของเรานั้นเบา ควรแก่ การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง’ เธอจึงเริ่มปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๕ ๖. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือ ประณีตบริบูรณ์เพียงพอตามต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เรา เที่ยวบิณฑบาตตามหมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต บริบูรณ์เพียงพอตามต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่ การงาน อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำ ให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๖ ๗. ภิกษุเกิดมีอาพาธขึ้นเล็กน้อย เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราเกิดมีอาพาธ ขึ้นเล็กน้อยแล้ว เป็นไปได้ที่อาพาธของเราจะพึงรุนแรงขึ้น อย่ากระนั้น เลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัมภวัตถุประการที่ ๗ ๘. ภิกษุหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เธอมีความคิดอย่าง นี้ว่า ‘เราหายอาพาธแล้ว แต่หายอาพาธยังไม่นาน เป็นไปได้ที่อาพาธ ของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น อย่ากระนั้นเลย เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง’ เธอจึงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็น อารัมภวัตถุประการที่ ๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

[๓๓๖] ทานวัตถุ๑- (เหตุแห่งการให้ทาน) ๘ ๑. ให้ทานเพราะประสบเข้า๒- ๒. ให้ทานเพราะกลัว๓- ๓. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาได้ให้แก่เราแล้ว’ ๔. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เขาจักให้แก่เรา’ ๕. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘การให้ทานเป็นการดี’ ๖. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เราหุงหากินเองได้ ชนเหล่านี้หุงหากินเองไม่ได้ การที่เราหุงหากินเองได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้ผู้หุงหากินเองไม่ได้ ไม่ควร’ ๗. ให้ทานเพราะคิดว่า ‘เมื่อเราให้ทานนี้ กิตติศัพท์อันงาม ย่อมขจรไป’ ๘. ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต๔-
[๓๓๗] ทานุปปัตติ๕- (ผลที่เกิดจากการให้ทาน) ๘ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวกขัตติย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๓๑/๒๘๗ @ ให้ทานเพราะประสบเข้า หมายถึงเมื่อพบว่าเขามาหา ให้รอสักครู่ก็สามารถให้ทานได้ ไม่รู้สึกหนักใจที่ @จะถวายทาน (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓) @ ให้ทานเพราะกลัว ในที่นี้หมายถึงให้ทาน เพราะกลัวตำหนิติเตียน หรือกลัวอบายภูมิ @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓) @ ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญ @สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน @ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๑/๒๕๓) @ ดูเทียบ องฺ.อฏฐก. (แปล) ๒๓/๓๕/๒๙๒-๒๙๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจาก ตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น๑- ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะ เป็นผู้บริสุทธิ์ ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นจาตุ- มหาราช มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับ พวกเทพชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ เป็นผู้บริสุทธิ์ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ฯลฯ ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นยามา ฯลฯ’ @เชิงอรรถ : @ เกิดในที่นั้น หมายถึงเกิดในสถานที่ที่ตนปรารถนาไว้ขณะทำบุญ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๕/๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นดุสิต ฯลฯ’ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น นิมมานรดี ฯลฯ’ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตอยู่ จิตของเขานั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อ เกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะ เป็นผู้บริสุทธิ์ ๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทพชั้นพรหม- กายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทพชั้น พรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขา นั้นน้อมไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ข้อนั้นแล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้ ปราศจากราคะ ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนปณิธาน ของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

บริษัท๑- (ชุมนุม) ๘ ๑. ขัตติยบริษัท (ชุมนุมกษัตริย์) ๒. พราหมณบริษัท (ชุมนุมพราหมณ์) ๓. คหบดีบริษัท (ชุมนุมคหบดี) ๔. สมณบริษัท (ชุมนุมสมณะ) ๕. จาตุมหาราชบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นจาตุมหาราช) ๖. ดาวดึงสบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นดาวดึงส์) ๗. มารบริษัท (ชุมนุมเทพชั้นนิมมานรดี) ๘. พรหมบริษัท (ชุมนุมพรหม)
โลกธรรม๒- ๘ ๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ ๕. นินทา ๖. สรรเสริญ ๗. สุข ๘. ทุกข์
๑๐
[๓๓๘] อภิภายตนะ๓- (อายตนะที่ยอดเยี่ยมด้วยกำลังฌาน) ๘ ๑. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน๔- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มี สีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๖๙/๓๗๑-๓๗๒, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๒/๑๑๘-๑๑๙ @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๕/๒๐๒-๒๐๓ @ อภิภายตนะ หมายถึงเหตุครอบงำ เหตุที่มีอิทธิพล ได้แก่ฌาน หรือฌานที่เป็นเหตุครอบงำนิวรณ์ ๕ และ @อารมณ์ทั้งหลาย คำว่า อภิภายตนะ มาจากคำว่า อภิภู + อายตนะ ที่ชื่อว่า อภิภู เพราะครอบงำอารมณ์ @และชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่เกิดความสุขอันวิเศษแก่พระโยคีทั้งหลาย แต่ในที่นี้หมายถึงมนายตนะ @และธัมมายตนะ (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๖๑-๖๕/๓๐๒) และ @ดูเทียบ องฺ.ทสก.(แปล) ๒๔/๒๙/๗๑-๗๓ @ มีรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายในโดยการบริกรรมรูปภายใน (ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๔, @องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

๒. บุคคลหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดี หรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒ ๓. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน๑- เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดเล็ก มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓ ๔. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกขนาดใหญ่ มีสีสันดีหรือไม่ดี ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ๕. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสี เขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม เปรียบเหมือนดอกผักตบที่เขียว มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้า ในเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เขียว มีสีเขียว เปรียบ ด้วยของเขียว มีสีเขียวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๕ ๖. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่เหลือง มีสี เหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม เปรียบเหมือนดอก กรรณิการ์ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้าน ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ฉันใด บุคคล หนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก ที่เหลือง มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีสีเหลืองเข้ม ครอบงำรูป @เชิงอรรถ : @ มีอรูปสัญญาภายใน หมายถึงมีความหมายรู้รูปภายใน คือ เว้นจากสัญญาโดยการบริกรรมรูปภายใน @(ที.ม.อ. ๑๗๓/๑๖๕, องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๔๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๘

เหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะ ประการที่ ๖ ๗. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม เปรียบเหมือนดอกชบาที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง พาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วย ของแดง มีสีแดงเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะประการที่ ๗ ๘. บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม เปรียบเหมือนดาวประกายพรึกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด หรือเปรียบเหมือน ผ้าเมืองพาราณสี อันมีเนื้อละเอียดทั้ง ๒ ด้านที่ขาว มีสีขาว เปรียบ ด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ฉันใด บุคคลหนึ่งมีอรูปสัญญาภายในก็ฉันนั้น เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้ เป็นอภิภายตนะประการที่ ๘
๑๑
[๓๓๙] วิโมกข์๑- (ความหลุดพ้น) ๘ ๑. บุคคลผู้มีรูป๒- เห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๑ ๒. บุคคลผู้มีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๒ @เชิงอรรถ : @ วิโมกข์ แปลว่า ความหลุดพ้น หมายถึงภาวะที่จิตหลุดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งไปในอารมณ์นั้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๖/๒๗๒) ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๗๔/๑๒๒ @ มีรูป ในที่นี้หมายถึงได้รูปฌานที่เกิดจากการทำบริกรรมในรูปภายในตน เช่นทำบริกรรมผม เหงื่อ เนื้อ @เลือด กระดูก ฟัน เล็บ โดยวิธีการบริกรรมเป็นสีต่างๆ มีสีเขียว เหลือง แดง เป็นต้น @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๖๕/๒๗๐, ๖๖/๒๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๓. บุคคลเป็นผู้น้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๓ ๔. บุคคลบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๔ ๕. บุคคลล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญ- จายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ ประการที่ ๕ ๖. บุคคลล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖ ๗. บุคคลล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ ๘. บุคคลล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๘ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๘ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๘ จบ
สังคีติหมวด ๙
[๓๔๐] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๙ ประการที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว มีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

ธรรมหมวดละ ๙ ประการ คืออะไร คือ
อาฆาตวัตถุ๑- (เหตุผูกอาฆาต) ๙ ๑. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์๒- แก่เรา’ ๒. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’ ๓. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา’ ๔. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา’ ๕. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา’ ๖. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรา’ ๗. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ ๘. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ ๙. บุคคลย่อมผูกอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ วิ.ป. (แปล) ๘/๓๘๐/๕๕๘-๕๕๙, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๗๙/๑๗๗, อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๗/๖๑๙ @ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความพินาศ เสียหาย ไม่เจริญ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๘๘-๘๙/๑๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

อาฆาตปฏิวินยะ๑- (อุบายเป็นเครื่องกำจัดอาฆาต) ๙ ๑. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน๒-’ ๒. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๓. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา การ ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๔. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็น ทีรักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๕. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รัก ที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๖. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่ รักที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบ พอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๗. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ที่ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ ๘. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่ เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙ @ ดูประกอบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๐/๑๗๘-๑๗๙ ซึ่งมีสำนวนบาลีต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ ในเล่ม ๒๔ @ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจริ, ตํ กุเตตฺถ ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ. แต่ในที่นี้ใช้ว่า “อนตฺถํ เม อจรีติ ตํ กุเตตฺถ @ลพฺภา”ติ อาฆาตํ ปฏิวิเนติ. {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๙. บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตว่า ‘ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่ รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา การทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรานั้น จะหาได้ในผู้นี้แต่ที่ไหน’
[๓๔๑] สัตตาวาส๑- (ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์) ๙ ๑. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์ เทพ บางพวก และวินิปาติกะบางพวก นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๑ ๒. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ ชั้นพรหมกายิกา (เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม) เกิดในปฐมฌาน นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๒ ๓. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวกเทพ ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๓ ๔. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน คือ พวก เทพชั้นสุภกิณหะ (เทพผู้เต็มไปด้วยความงดงาม) นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๔ ๕. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีสัญญา ไม่เสวยอารมณ์ คือ พวกเทพชั้นอสัญญี- สัตตพรหม นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๕ ๖. มีสัตว์ทั้งหลายผู้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศ หาที่สุดมิได้’ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต- สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๖ ๗. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ วิญญาณัญจาญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ นี้เป็น สัตตาวาสที่ ๗ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ข้อ ๓๕๙ หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้, ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๒๗/๗๒, องฺ.สตฺตก. (แปล) ๒๓/๔๔/๖๗-๖๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๘. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ อากิญจัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๘ ๙. มีสัตว์ทั้งหลายผู้ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน นี้เป็นสัตตาวาสที่ ๙
[๓๔๒] กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์๑- ๙ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ ทรงแสดงธรรม๒- ที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรก นี้เป็น กาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑ ๒. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้แล้ว และ ทรงแสดงธรรมที่นำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการ ตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศไว้แล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงกำเนิด สัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่ ๒ ๓. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเปรตวิสัย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๓ ๔. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงอสุรกาย นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔ ๕. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงเทพนิกาย๓- ที่มีอายุยืนชั้นใด ชั้นหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติ พรหมจรรย์ข้อที่ ๕ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) ๒๓/๒๙/๒๗๔-๒๗๖ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๓๒๒ หน้า ๓๑๓ ในเล่มนี้ @ เทพนิกาย ในที่นี้หมายถึงเทพที่เป็นอสัญญีสัตว์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๙/๒๔๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

๖. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับไปเกิดในปัจจันตชนบท อยู่ใน พวกมิลักขะผู้ไม่รู้เดียงสา ที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ผ่านไปมา นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหม- จรรย์ข้อที่ ๖ ๗. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็น มิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ‘ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ โอปปาติกสัตว์๑- ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งโลกนี้และโลก หน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ ก็ไม่มีในโลก นี้ก็เป็นกาล ที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗ ๘. พระตถาคต ฯลฯ แต่บุคคลนี้เป็นผู้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคน มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นคนเซอะ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่ง สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘ ๙. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก และไม่ทรง แสดงธรรมที่นำความสงบมาให้เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ ที่พระสุคตทรงประกาศแล้ว ถึงบุคคลนี้จะกลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท และเป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เขลา ไม่เป็นคนเซอะ สามารถรู้เนื้อความแห่ง สุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาลที่ไม่ใช่ขณะ ไม่ใช่สมัย เพื่อจะอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๙ @เชิงอรรถ : @ โอปปาติกสัตว์ คือสัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ @เช่น เทวดาและสัตว์นรก (ที.สี.อ. ๑/๑๗๑/๑๔๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๖}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๙

[๓๔๓] อนุปุพพวิหารธรรม๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ตามลำดับ) ๙ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะ ที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจาก สมาธิอยู่ ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ ๔. เพราะละสุขและทุกข์ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ๕. บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญาโดย ประการทั้งปวง ๖. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่ ๗. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน- ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ ๘. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานา- สัญญายตนฌานอยู่ ๙. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิต- นิโรธอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๒/๔๙๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๗}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

[๓๔๔] อนุปุพพนิโรธ๑- (ความดับไปตามลำดับ) ๙ ๑. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป ๒. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป ๓. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป ๔. ลมหายใจเข้า ลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป ๕. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป ๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌานดับไป ๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌานดับไป ๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดับไป ๙. สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ๒- ดับไป ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๙ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
สังคีติหมวด ๙ จบ
สังคีติหมวด ๑๐
[๓๔๕] ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดย ชอบแล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๑/๔๙๓ @ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงสมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนามี ๒ คือ อสัญญาสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ @ที่เป็นอสัญญาสมาบัติมีแก่ปุถุชน ที่เป็นนิโรธสมาบัติ มีเฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญ @ในสมาบัติ ๘ แล้วเท่านั้น จึงจะเข้าได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. ๗๓๕/๒๘๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๘}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ คืออะไร คือ
นาถกรณธรรม๑- (ธรรมเครื่องกระทำที่พึ่ง) ๑๐ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ (มารยาท)และโคจร(การเที่ยวไป) มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการ สังวรในพระปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัย ในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นนาถ- กรณธรรม ๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมทั้งหลายที่มี ความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ถ้วน แล้วทรงจำไว้ได้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ๒- แม้การที่ ภิกษุเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๓. เป็นผู้มีมิตรดี๓- มีสหายดี๔- มีเพื่อนดี๕- แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๔. เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗/๓๑-๓๓ @ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิหมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, @องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๒/๓๐๐) @ มิตรดี หมายถึงมิตรที่มีคุณธรรม คือ ศีล เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ สหายดี หมายถึงเพื่อนร่วมงานที่ดี (องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ เพื่อนดี หมายถึงเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนม รู้ใจกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๕๙}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ธรรมเป็นเครื่องทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับฟังคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้ ก็เป็นนาถกรณธรรม ๕. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและ งานต่ำ๑- ของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง พิจารณาอันเป็นอุบายในการงานที่จะต้องช่วยกันทำนั้น สามารถทำได้ สามารถจัดได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่จะ ต้องช่วยกันทำทั้งงานสูงและงานต่ำของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ฯลฯ สามารถทำได้ สามารถจัดได้ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๖. เป็นผู้ใคร่ธรรม๒- เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความ ปราโมทย์อย่างยิ่งในพระอภิธรรม๓- ในพระอภิวินัย๔- แม้การที่ภิกษุเป็น ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้ฟังและผู้แสดงธรรมอันเป็นที่พอใจ มีความปราโมทย์ อย่างยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๗. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชช- บริขารตามแต่จะได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารตามแต่จะได้ นี้ก็เป็นนาถ- กรณธรรม ๘. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด มีความ เข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรม เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม @เชิงอรรถ : @ งานสูง หมายถึงงานย้อมจีวร หรืองานโบกทาพระเจดีย์ ตลอดถึงงานที่จะต้องช่วยกันทำที่โรงอุโบสถ @เรือนพระเจดีย์ เรือนต้นโพธิ์ เป็นต้น งานต่ำ หมายถึงงานเล็กน้อย มีล้างเท้า และนวดเท้า เป็นต้น @(ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๖, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ ผู้ใคร่ธรรม ในที่นี้หมายถึงรักพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๒) @ พระอภิธรรม หมายถึงสัตตัปปกรณธรรม คือพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ หรืออีกนัยหนึ่ง คือ มรรค ๔ และ @ผล ๔ (ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓) @ พระอภิวินัย หมายถึงขันธกบริวาร หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึงธรรมที่เป็นเครื่องระงับกิเลส @(ที.ปา.อ. ๓๔๕/๒๔๗, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๗/๓๒๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๐}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๙. เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน๑- อย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึงสิ่งที่ทำและ คำที่พูดแม้นาน นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม ๑๐. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความ เกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้การที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา เห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้น ทุกข์โดยชอบ นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม
[๓๔๖] กสิณายตนะ๒- (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์) ๑๐ ๑. บุคคลหนึ่งจำปฐวีกสิณ (กสิณคือดิน)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ ๒. บุคคลหนึ่งจำอาโปกสิณ (กสิณคือน้ำ)ได้ ... ๓. บุคคลหนึ่งจำเตโชกสิณ (กสิณคือไฟ)ได้ ... ๔. บุคคลหนึ่งจำวาโยกสิณ (กสิณคือลม)ได้ ... ๕. บุคคลหนึ่งจำนีลกสิณ (กสิณคือสีเขียว)ได้ ... ๖. บุคคลหนึ่งจำปีตกสิณ (กสิณคือสีเหลือง)ได้ ... ๗. บุคคลหนึ่งจำโลหิตกสิณ (กสิณคือสีแดง)ได้ ... ๘. บุคคลหนึ่งจำโอทาตกสิณ (กสิณคือสีขาว)ได้ ... @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๓๓๑ หน้า ๓๑๓ ในเล่มนี้ @ บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ หมายถึงที่เกิดหรือที่เป็นไปแห่งธรรมทั้งหลายโดยบริกรรมกสิณ @เป็นอารมณ์ คำว่า กสิณ หมายถึงวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงใจให้เป็นสมาธิ (ที.ปา.อ. ๓๔๖/๒๔๗, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๕/๓๓๓, องฺ.ทสก.ฏีกา ๓/๒๕/๓๙๕) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๕/๕๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๙. บุคคลหนึ่งจำอากาสกสิณ (กสิณคือความว่าง)ได้ ... ๑๐. บุคคลหนึ่งจำวิญญาณกสิณ (กสิณคือวิญญาณ)ได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
[๓๔๗] อกุศลกรรมบถ๑- (ทางแห่งอกุศลกรรม) ๑๐ ๑. ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ๓. กาเมสุมิจฉาจาร (การประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาท (การพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาวาจา (การพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสวาจา (การพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปะ (การพูดเพ้อเจ้อ) ๘. อภิชฌา (ความเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. พยาบาท (ความคิดร้าย) ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
กุศลกรรมบถ๒- (ทางแห่งกุศลกรรม) ๑๐ ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์) ๒. อทินนาทานา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์) ๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) ๔. มุสาวาทา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ) ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดส่อเสียด) ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ) ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี (เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ) @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐ @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๗๘/๓๓๐-๓๓๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๘. อนภิชฌา (ความไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา) ๙. อพยาบาท (ความไม่คิดร้าย) ๑๐. สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
[๓๔๘] อริยวาส๑- (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ) ๑๐ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ ๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ ๓. เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก ๔. เป็นผู้มีอปัสเสนธรรม (ธรรมเป็นดุจพนักพิง) ๔ ประการ ๕. เป็นผู้มีปัจเจกสัจจะ๒- อันบรรเทาได้ ๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ๗. เป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว ๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี ๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละกามฉันทะ(ความพอใจในกาม) ได้ เป็นผู้ ละพยาบาท (ความคิดร้าย) ได้ เป็นผู้ละถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)ได้ เป็นผู้ ละอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) ได้ เป็นผู้ละวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย) ได้ ภิกษุเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้ เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๐/๓๙-๔๒ @ ปัจเจกสัจจะ หมายถึงความเห็นส่วนตัวของแต่ละคนที่แตกต่างกันไปโดยยึดถือว่า “ความเห็นนี้เท่านั้นจริง @ความเห็นนี้เท่านั้นจริง” (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๑, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๐/๓๒๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรส ทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่ เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยใจที่รักษาด้วยสติ ภิกษุเป็นผู้มี ธรรมเป็นเครื่องรักษาอย่างเอก เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาแล้วเสพอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว อดกลั้น อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นอย่างหนึ่ง๑- ภิกษุเป็น ผู้มีอปัสเสนธรรม ๔ ประการ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างไร คือ ปัจเจกสัจจะเป็นอันมากของสมณพราหมณ์จำนวนมากที่มีอยู่ทั้งหมด ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุเป็นผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละการแสวงหากามได้ ละการแสวงหาภพได้ ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ ภิกษุเป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละความดำริในกามได้ เป็นผู้ละความดำริ ในพยาบาทได้ เป็นผู้ละความดำริในวิหิงสาได้ ภิกษุเป็นผู้มีความดำริอันไม่ขุ่นมัว เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ พิจารณาแล้วเสพ หมายถึงพิจารณาแล้วใช้สอยปัจจัย ๔ มีจีวร เป็นต้น พิจารณาแล้วอดกลั้น หมายถึง @พิจารณาแล้วอดกลั้นต่อความหนาว เป็นต้น พิจารณาแล้วบรรเทา หมายถึงพิจารณาแล้วบรรเทา @อกุศลวิตก มีกามวิตก (ความตรึกในทางกาม) เป็นต้น พิจารณาแล้วเว้น หมายถึงพิจารณาแล้วเว้นช้าง @ดุร้าย หรือคนพาล เป็นต้น (ที.ปา.อ. ๓๐๘/๒๐๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว จึงบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นจากราคะ มีจิตหลุดพ้นจาก โทสะ มีจิตหลุดพ้นจากโมหะ ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า ‘ราคะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โทสะเราละได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ รู้ชัดว่า ‘โมหะเราละได้ เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้’ ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นได้ดี เป็นอย่างนี้แล
อเสขธรรม๑- (ธรรมที่เป็นอเสขะ) ๑๐ ๑. สัมมาทิฏฐิ๒- ที่เป็นอเสขะ ๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นอเสขะ ๓. สัมมาวาจาที่เป็นอเสขะ @เชิงอรรถ : @ อเสขธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นผลและธรรมที่สัมปยุตด้วยธรรมเป็นผลนั้น เป็นธรรมระดับโลกุตตระของ @พระอเสขะ คือพระอรหันตขีณาสพ (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, ที.ปา.ฏีกา ๓๔๘/๓๔๙, @องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๒/๓๒๐, ๓/๑๑๒/๓๗๔) และดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๑๑/๒๕๖ @ สัมมาทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่เห็นอารมณ์ของตนถูกต้อง (ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [๑๐. สังคีติสูตร]

สังคีติหมวด ๑๐

๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นอเสขะ ๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นอเสขะ ๖. สัมมาวายามะที่เป็นอเสขะ ๗. สัมมาสติที่เป็นอเสขะ ๘. สัมมาสมาธิที่เป็นอเสขะ ๙. สัมมาญาณะ๑- ที่เป็นอเสขะ ๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นอเสขะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้แล คือธรรมหมวดละ ๑๐ ประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดนี้แหละพึงสังคายนา ไม่พึงวิวาทกันในธรรมนั้น เพื่อให้พรหมจรรย์นี้ ตั้งอยู่ได้นาน ดำรงอยู่ได้นาน ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย”
สังคีติหมวด ๑๐ จบ
[๓๔๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกับท่านพระสารีบุตร ดังนี้ว่า “ดีละ ดีละ ดีแท้ สารีบุตร ที่เธอกล่าวสังคีติปริยาย(แนวทางแห่งการ สังคายนา)แก่ภิกษุทั้งหลาย” ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมภาษิตของท่าน พระสารีบุตรแล้วแล
สังคีติสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ สัมมาญาณะ ในที่นี้หมายถึงปัญญาที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ของตนถูกต้อง ทั้งสัมมาทิฏฐิและสัมมาญาณะ @ในพระสูตรนี้หมายถึงปัญญาเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน @(ที.ปา.อ. ๓๔๘/๒๕๒, องฺ.ทสก.อ. ๓/๑๑๑/๓๗๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๓๖๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๑ หน้าที่ ๓๓๒-๓๖๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=11&A=9437&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=11&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6], [7], [8], [9], [10], [11], [12], [13].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=11&item=221&items=143              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=11&item=221&items=143              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu11

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]