ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

อีกประการหนึ่ง เพราะกามเป็นเหตุ เพราะกามเป็นต้นเหตุ เพราะกามเป็น เหตุเกิด เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลาย ชนทั้งหลายประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว หลังจากตาย แล้วย่อมไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าเป็นโทษแห่งกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่จะพึงเห็นได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเหตุ มีกามเป็นเหตุเกิด เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นแล
ลัทธิของนิครนถ์
[๑๗๙] มหานามะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ณ ตำบลกาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ นิครนถ์เป็นจำนวนมากถือการยืนเป็น วัตร ปฏิเสธการนั่ง เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความพยายาม ครั้งนั้น เราออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปหานิครนถ์เหล่านั้นจนถึงตำบล กาฬศิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ แล้วได้กล่าวกับนิครนถ์เหล่านั้นว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลาย ไฉนเล่า ท่านทั้งหลายจึงถือการยืนเป็นวัตร ปฏิเสธการนั่ง เสวยทุกขเวทนาอัน แรงกล้า เผ็ดร้อน ซึ่งเกิดจากความพยายาม’ เมื่อเรากล่าวอย่างนั้นแล้ว นิครนถ์ เหล่านั้นได้กล่าวกับเราว่า ‘ท่านผู้มีอายุ นิครนถ์ นาฏบุตรเป็นสัพพัญญู(ผู้รู้ทุกสิ่ง) เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญญาญาณทัสสนะ อย่างเบ็ดเสร็จว่า ‘เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะได้ปรากฏต่อเนื่องตลอดไป’๑- นิครนถ์ นาฏบุตรนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลายผู้เจริญ บาปกรรมที่พวกท่านทำแล้วในกาลก่อนมีอยู่ พวกท่านจงสลัดบาปกรรมนั้นด้วยปฏิปทาที่ทำได้ยากอันเผ็ดร้อนนี้ ข้อที่ท่านทั้งหลาย สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ในกาลบัดนี้นั้น เป็นการไม่กระทำบาปกรรม ต่อไป เพราะกรรมเก่าสิ้นสุดไปเพราะตบะ (การบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก) เพราะไม่ทำ กรรมใหม่ จึงไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ(แห่งกรรม)ต่อไป เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจแห่งกรรม ต่อไป กรรมจึงสิ้นไป เพราะกรรมสิ้นไป ทุกข์จึงสิ้นไป เพราะทุกข์สิ้นไป เวทนาจึง สิ้นไป เพราะเวทนาสิ้นไป ทุกข์ทั้งปวงจึงจักเป็นอันสลายไป คำที่นิครนถ์ นาฏบุตร กล่าวแล้วนั้นถูกใจและชอบใจเราทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงมีใจยินดี’ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.นวก. (แปล) ๒๓/๓๘/๕๑๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

[๑๘๐] มหานามะ เมื่อพวกนิครนถ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกับนิครนถ์ เหล่านั้นว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลาย พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้มีแล้ว มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’ ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรมไว้ มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’ ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้ทำบาปกรรม เช่นนี้บ้างๆ’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’ ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้ไหมว่า ‘เมื่อก่อน ทุกข์เท่านี้เราสลัดได้แล้ว ทุกข์เท่านี้เราพึงสลัดเสีย หรือเมื่อเราสลัดทุกข์เท่านี้ได้แล้ว ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์ ได้ทั้งหมด’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’ ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านรู้จักการละอกุศลธรรมทั้งหลาย การบำเพ็ญกุศล- ธรรมทั้งหลายในปัจจุบันหรือ’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’ ตถาคตถามว่า ‘ท่านนิครนถ์ทั้งหลาย ได้ยินมาว่า พวกท่านไม่รู้ว่า ‘เมื่อก่อน เราทั้งหลายได้มีแล้ว มิใช่ไม่ได้มีแล้ว’ ไม่รู้ว่า ‘เมื่อก่อน เราได้ทำบาปกรรมไว้ มิใช่ไม่ได้ทำไว้’ ไม่รู้ว่า ‘เราได้ทำบาปกรรมเช่นนี้บ้างๆ’ ไม่รู้ว่า ‘ทุกข์เท่านี้เรา สลัดได้แล้ว ทุกข์เท่านี้เราพึงสลัดเสีย หรือเมื่อเราสลัดทุกข์เท่านี้ได้แล้ว ก็จักเป็น อันสลัดทุกข์ได้ทั้งหมด’ ไม่รู้จักการละอกุศลธรรมทั้งหลาย การบำเพ็ญกุศลธรรม ทั้งหลายในปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่บวชในพวกนิครนถ์ก็เฉพาะแต่พวกคนโหดร้าย มีมือเปื้อนเลือด ทำกรรมชั่วช้า กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์ในโลก’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

บุคคลผู้อยู่เป็นสุข
พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม บุคคลมิใช่จะพึงประสบความสุขได้ ด้วยความสุข แต่จะพึงประสบความสุขได้ด้วยความทุกข์ ถ้าบุคคลจักประสบความ สุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธก็คงจะประสบความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธจะอยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม’ ตถาคตถามว่า ‘นิครนถ์ทั้งหลายกล่าววาจาหุนหันไม่ทันพิจารณาอย่างแน่แท้ ว่า ‘บุคคลมิใช่จะพึงประสบความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะพึงประสบความสุขได้ ด้วยความทุกข์ ถ้าบุคคลจักประสบความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพแคว้นมคธก็คงจะประสบความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้น มคธจะอยู่เป็นสุขยิ่งกว่าท่านพระโคดม’ แต่ว่าเราเท่านั้นที่พวกท่านควรซักถามในเนื้อ ความนั้นว่า ‘บรรดาท่านทั้งหลาย ใครเล่าหนออยู่เป็นสุขกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพแคว้นมคธ หรือท่านพระโคดมเอง’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘พวกข้าพเจ้ากล่าววาจาหุนหันไม่ทันพิจารณาอย่างแน่ แท้ว่า ‘บุคคลมิใช่จะพึงประสบความสุขได้ด้วยความสุข แต่จะพึงประสบความสุข ได้ด้วยความทุกข์ ถ้าบุคคลจักประสบความสุขได้ด้วยความสุข พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพแคว้นมคธก็คงจะประสบความสุข เพราะพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้น มคธจะอยู่เป็นสุขกว่าท่านพระโคดม’ ขอโอกาสหยุดเรื่องนี้ไว้เพียงเท่านี้ แม้บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจะถามท่านพระโคดมบ้างว่า ‘บรรดาท่านทั้งหลาย ใครเล่าหนออยู่ เป็นสุขกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ หรือท่านพระโคดมเอง’ ตถาคตถามว่า ‘ถ้าอย่างนั้น ในเนื้อความข้อนั้น เราจักถามพวกท่านนั่นแลว่า ‘พวกท่านเข้าใจอย่างใด ควรตอบอย่างนั้น พวกท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธไม่ทรงเคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่มีพระดำรัส สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วันหรือ’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๒. สีหนาทวรรค]

๔. จูฬทุกขักขันธสูตร

พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’ ตถาคตถามว่า ‘พวกท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพแคว้นมคธไม่ทรงเคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่มีพระดำรัส สามารถเสวยสุข โดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๖ คืน ๖ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธไม่ทรง เคลื่อนไหวพระวรกาย ไม่มีพระดำรัส สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๑ คืน ๑ วันได้หรือ’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘ท่านพระโคดม ข้อนี้มิได้เป็นดังนั้น’ ตถาคตถามว่า ‘เราไม่เคลื่อนไหวกาย ไม่พูด สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียว อยู่ตลอด ๑ คืน ๑ วัน ... ๒ คืน ๒ วัน ... ๓ คืน ๓ วัน ... ๔ คืน ๔ วัน ... ๕ คืน ๕ วัน ... ๖ คืน ๖ วัน เราไม่เคลื่อนไหวกาย ไม่พูด สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวอยู่ตลอด ๗ คืน ๗ วัน พวกท่านเข้าใจความข้อ นั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าจะอยู่เป็นสุขกว่ากัน พระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพแคว้นมคธหรือเราเอง’ พวกนิครนถ์ตอบว่า ‘เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมเท่านั้น อยู่เป็นสุขกว่า พระเจ้าพิมพิสารจอมทัพแคว้นมคธ” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะทรงมีใจ ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
จูฬทุกขักขันธสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๑๘๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=5209&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=3014&Z=3184&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=209              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=209&items=12              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=209&items=12              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]