ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “พึงมีได้ ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่มี ความคิดอย่างนี้ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ ย่อมได้ยิน ตถาคตหรือสาวกของตถาคตแสดงธรรม เพื่อถอนทิฏฐิ ทิฏฐิฏฐาน ความตั้งมั่น แห่งทิฏฐิ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิ ความยึดมั่น และอนุสัยกิเลสทั้งปวง เพื่อระงับ สังขารทั้งปวง เพื่อสลัดทิ้งอุปธิทั้งปวง เพื่อความสิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับสนิท และเพื่อนิพพาน เขาไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘เราจักขาดสูญ แน่แท้ จักพินาศแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้’ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ละเหี่ยใจ ไม่พิไรรำพัน ไม่ร้องไห้สะอึกสะอื้น ไม่ถึงความมืดมน เมื่อไม่มีสิ่งภายใน ความไม่ สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ [๒๔๓] ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะพึงหวงแหนสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่งเป็น ของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่ อย่างนั้น เธอทั้งหลายเห็นสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มี ความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้นหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นสิ่งที่ควรหวงแหนซึ่ง เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรผันเป็นธรรมดา พึงดำรงอยู่เทียบเท่า สิ่งคงที่อย่างนั้น เธอทั้งหลายจะพึงเข้าไปยึดถืออัตตวาทุปาทาน๑- ซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) และอุปายาส(ความคับแค้นใจ) จะไม่พึงเกิดขึ้น เธอทั้งหลายเห็น อัตตวาทุปาทานซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะไม่พึงเกิดขึ้นหรือไม่” “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ อัตตวาทุปาทาน หมายถึงสักกายทิฏฐิ ๒๐ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๓/๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๕๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

“ดีละ ถึงเราก็ยังไม่พิจารณาเห็นอัตตวาทุปาทานซึ่งเมื่อบุคคลยึดมั่นอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้น เธอทั้งหลายจะพึงอาศัยทิฏฐินิสสัย๑- ซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้น เธอทั้งหลายเห็นทิฏฐินิสสัยซึ่งเมื่อ บุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะไม่พึงเกิดขึ้นหรือไม่” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ไม่เห็น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ดีละ แม้เราก็ยังไม่พิจารณาเห็น ทิฏฐินิสสัยซึ่งเมื่อบุคคลอาศัยอยู่ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะไม่พึงเกิดขึ้น”
อนัตตลักษณะ
[๒๔๔] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเรา’ ก็จะพึงมีใช่ไหม” ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “เมื่อสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตามีอยู่ ความยึดถือว่า ‘อัตตาของเรา’ จะพึงมีใช่ไหม” “ใช่ พระพุทธเจ้าข้า” “เมื่อหาไม่พบอัตตาและสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาโดยความเป็นจริงโดยความแน่แท้ ทิฏฐิที่ว่า ‘นั้นโลก นั้นอัตตา เรานั้นตายแล้วจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มี ความแปรผันเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เทียบเท่าสิ่งคงที่อย่างนั้น’ นี้มิเป็นพาลธรรม (ธรรมของคนโง่) สมบูรณ์แบบละหรือ” “ทำไมจะไม่เป็นอย่างนั้น นั้นเป็นพาลธรรมสมบูรณ์แบบทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐินิสสัย หมายถึงทิฏฐิ ๖๒ ประการ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๓/๑๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

“เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข” “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” “เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยง หรือไม่เที่ยง” “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” “สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ หรือเป็นสุข” “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” “สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่าง หนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม เธอทั้งหลายควรเห็นรูปทั้งปวงตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตา ของเรา’ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใด เหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม เธอทั้งหลายควรเห็นวิญญาณทั้งปวงตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

การละสังโยชน์
[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม เบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑- ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว๒- ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป‘๓- ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ถอนลิ่ม ได้แล้วบ้าง เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้วบ้าง เป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้วบ้าง เป็นผู้ไม่มีบานประตูบ้าง เป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ปราศจากสังโยชน์(กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ)แล้วบ้าง ภิกษุเป็นผู้ถอนลิ่มได้แล้ว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอวิชชาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้น ตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ถอนลิ่มได้แล้ว เป็นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้ว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละสังขารคือชาติ๔- ซึ่งก่อภพใหม่ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้แล้ว เป็นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้ว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละตัณหาได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือน ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ถอนเสาระเนียดได้แล้ว เป็นอย่างนี้ @เชิงอรรถ : @๑-๓ ดูเชิงอรรถที่ ๑-๓ ข้อ ๕๔ (ภยเภรวสูตร) หน้า ๔๓ ในเล่มนี้ @ สังขารคือชาติ หมายถึงกัมมาภิสังขาร อันเป็นปัจจัยแห่งขันธ์ที่เกิดในภพใหม่ เพราะเกิดและท่องเที่ยวไป @ในชาติต่างๆ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ๑- ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตู เป็นอย่างนี้ ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ปราศจาก สังโยชน์แล้ว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ(การถือตัว) ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดราก ถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ ลดธงคือมานะลงแล้ว ปลงภาระได้แล้ว ปราศจากสังโยชน์แล้ว เป็นอย่างนี้
การไม่ยึดถือ
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายพร้อมทั้งพระอินทร์ พรหม และ มารเสาะหาภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่พบว่า ‘วิญญาณของตถาคต๒- อาศัยสิ่งนี้’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวว่า ‘ในปัจจุบัน ใครๆ จะไม่พึง พบตถาคต’ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้กล่าวอย่างนี้ ผู้บอกอย่างนี้ด้วย คำเท็จซึ่งเลื่อนลอย ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติ @เชิงอรรถ : @ โอรัมภาคิยสังโยชน์ หมายถึงสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ [คือ (๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นอัตตา @(๒) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและวัตร (๔) กามราคะ ความติดใจ @ในกามคุณ (๕) ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ อันเป็นเหตุให้เกิดในกามภพ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๕/๒๒) @ คำว่า ตถาคต ในข้อนี้มีความหมาย ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ ตถาคต ในคำว่า ‘วิญญาณของตถาคตอาศัยสิ่งนี้’ @หมายถึงสัตว์ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระขีณาสพผู้ไม่มีปฏิสนธิปรินิพพานแล้ว นัยที่ ๒ ตถาคต @ในคำว่า ‘ถ้าบุคคลเหล่าอื่นด่าบริภาษ ... กระทบกระทั่งตถาคต ...’ หมายถึงพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- @สัมพุทธเจ้า ผู้สิ้นอาสวะ ทรงมุ่งใช้เพื่อตรัสเรียกแทนพระองค์เอง แต่เมื่อว่าโดยสภาวธรรมแล้ว ทั้ง ๒ นัย @นั้นมีความหมายเดียวกัน คือสภาวะที่สิ้นอาสวะ และปรินิพพาน จิตของผู้สิ้นอาสวะปรินิพพานแล้ว @เทวดา มาร พรหม ไม่สามารถจะค้นพบได้ ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ‘อาศัยอารมณ์อะไรเป็นไป’ @(ม.มู.ฏีกา ๒/๒๔๖/๑๒๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีภพของสัตว์ผู้มีอยู่’ ถึงเราจะกล่าวหรือ ไม่กล่าวก็ตาม สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ยังกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จซึ่งเลื่อนลอย ไม่มีจริง ไม่เป็นจริงว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัด ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีภพของสัตว์ผู้มีอยู่’ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้ เรา บัญญัติทุกข์และความดับทุกข์ ถ้าบุคคลเหล่าอื่นด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียน และกระทบ กระทั่งตถาคตในเรื่องการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาต ไม่เสียใจ ไม่มีจิตคิดร้ายเพราะการด่าเป็นต้นนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาตถาคตในเรื่องการประกาศ สัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่เสียใจ ไม่มีความลำพองใจ เพราะสักการะเป็นต้นนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาตถาคตในเรื่องการประกาศ สัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้เพราะสักการะเป็นต้นนั้นว่า ‘บุคคล กระทำสักการะเห็นปานนี้ในขันธปัญจก(ขันธ์ ๕) ที่เรากำหนดรู้แล้วในกาลก่อน’ เพราะเหตุนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงด่า บริภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียน และกระทบกระทั่งเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็ไม่ควรทำความอาฆาต ไม่ควรทำ ความเสียใจ ไม่ควรทำจิตคิดร้ายเพราะการด่าเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้น ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายก็ไม่ควรทำความยินดี ไม่ควรทำความดีใจ ไม่ควรทำความ ลำพองใจเพราะสักการะเป็นต้นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบุคคลเหล่าอื่นจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ และบูชาเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรคิดอย่างนี้เพราะสักการะเป็นต้นนั้นว่า ‘บุคคลกระทำ สักการะเห็นปานนี้ในขันธปัญจกที่เราทั้งหลายกำหนดรู้แล้วในกาลก่อน’ [๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละสิ่งนั้น สิ่งนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายจงละรูปนั้น รูปนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุขสิ้นกาลนาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

เวทนาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละเวทนานั้น เวทนานั้นซึ่งเธอ ทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน สัญญาไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสัญญานั้น สัญญานั้นซึ่งเธอ ทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสังขารเหล่านั้น สังขาร เหล่านั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณนั้น ซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ชนจะพึงนำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในพระเชตวันนี้ไปเผาหรือกระทำตามความปรารถนา เธอทั้งหลาย จะพึงคิดอย่างนี้บ้างหรือไม่ว่า ‘ชนนำเราทั้งหลายไปเผาหรือกระทำตามความปรารถนา” “ไม่เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า” “ข้อนั้นเพราะเหตุไร” “เพราะว่า นั่นไม่ใช่อัตตา หรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าข้า” “อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงละสิ่งนั้น สิ่งนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้น กาลนาน อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูป นั้น รูปนั้นซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขารทั้งหลาย ฯลฯ วิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้น วิญญาณนั้น ซึ่งเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๒. อลคัททูปมสูตร

ลำดับพระอริยบุคคล
[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว๑- ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มี วัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ๒- ปรินิพพานในพรหมโลกนั้น ไม่ต้อง กลับมาจากโลกนั้นอีก ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ ๓ ประการได้แล้ว มีราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราว เดียวเท่านั้น จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็น ธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสังโยชน์ ๓ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็นธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว ภิกษุเหล่าใดเป็นธัมมานุสารี๓- สัทธานุสารี๔- ภิกษุ เหล่านั้นทั้งหมดจะตรัสรู้ในภายหน้า ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ซึ่งเป็น @เชิงอรรถ : @ แปลตามนัยอรรถกถา ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖ @ ดูเชิงอรรถที่ ๓ ข้อ ๖๗ (อากังเขยยสูตร) หน้า ๕๙ ในเล่มนี้ @ ธัมมานุสารี ในที่นี้หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีปัญญาแก่กล้า @บรรลุผลแล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ (ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) @ สัทธานุสารี หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาแก่กล้า บรรลุผล @แล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต (ม.มู.อ. ๒/๒๔๘/๒๖-๗, องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๒ หน้า : ๒๖๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๓. โอปัมมวรรค]

๓. วัมมิกสูตร

ธรรมง่าย เปิดเผย ปรากฏ ไม่มีเงื่อนปมแล้ว บุคคลเหล่าใดมีเพียงความเชื่อและ ความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดจะได้ไปสวรรค์ในภายหน้า” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
อลคัททูปมสูตรที่ ๒ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๒ หน้าที่ ๒๕๙-๒๖๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=12&A=7409&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=12&siri=22              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4443&Z=4845&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=12&item=274&items=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=12&item=274&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu12

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]