ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

ธรรม ๕ ประการมีผลเป็น ๒ อย่าง
[๔๒๘] ภารทวาชะ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่ กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด คือ แม้คนอยู่ หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน ท่านเข้าใจ ความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมหา มูลมิได้ มิใช่หรือ” กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในข้อนี้พราหมณ์ทั้งหลายมิใช่ เล่าเรียนกันมาด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่เล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา” “ภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้อ้างถึงความเชื่อ บัดนี้ท่านอ้างถึงการฟังตาม กันมา ธรรม ๕ ประการนี้มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ศรัทธา (ความเชื่อ) ๒. รุจิ (ความชอบใจ) ๓. อนุสสวะ (การฟังตามกันมา) ๔. อาการปริวิตก (ความตรึกตามอาการ) ๕. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้) ธรรม ๕ ประการนี้แล มีผลเป็น ๒ อย่างในปัจจุบัน คือ สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีแต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่เชื่อกันด้วยดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี สิ่งที่ชอบใจจริงๆ ฯลฯ สิ่งที่ฟังตามกันมาอย่างดี ฯลฯ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๓๘}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

สิ่งที่ตรึกไว้อย่างดี ฯลฯ สิ่งที่พินิจไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่ได้พินิจ ไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี ภารทวาชะ คนผู้ฉลาดเมื่อจะตามรักษาสัจจะ ไม่ควรจะตกลงใจในข้อนั้นอย่าง เด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”
ตรัสตอบถึงการรักษาสัจจะ
[๔๒๙] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ด้วยข้อปฏิบัติประมาณ เท่าไร การรักษาสัจจะจึงมีได้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติประมาณเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการรักษาสัจจะ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ถ้าบุรุษมีศรัทธา กล่าวว่า ‘เรามี ศรัทธาอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่ามีความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรักษาสัจจะย่อมมีได้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน ถ้าบุรุษมีความชอบใจ ฯลฯ ถ้าบุรุษมีการฟังตามกันมา ฯลฯ ถ้าบุรุษมีความตรึกตามอาการ ฯลฯ ถ้าบุรุษมีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตน เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรามี ความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตนอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึง ความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้การรักษาสัจจะย่อมมีได้ บุคคลชื่อว่า รักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะด้วยข้อ ปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๓๙}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

ตรัสตอบถึงการรู้สัจจะ
[๔๓๐] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรักษาสัจจะย่อมมี ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเรา ทั้งหลายย่อมหวังการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อ ปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถาม ท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้าน หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดีก็ดี บุตรของคหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว ใคร่ครวญในธรรม ๓ ประการ คือ (๑) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ(ความโลภ) (๒) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ(การประทุษร้าย) (๓) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด โมหะ(ความหลง) ว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ หรือไม่หนอ (เพราะว่า) ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้นได้หรือหนอ’ เมื่อเขาพิจารณาถึงภิกษุนั้นอยู่ จึงรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด โลภะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าว ว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์ แก่สิ่งนั้น อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่โลภ ท่านผู้นี้แสดงธรรม อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนโลภจะแสดงได้ง่าย’ [๔๓๑] เมื่อใดเขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะแล้ว เมื่อนั้นเขาพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

เป็นเหตุให้เกิดโทสะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น เหตุให้เกิดโทสะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูก ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อ ไม่เห็นก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่ประทุษร้าย ท่านผู้นี้แสดง ธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนประทุษร้ายจะแสดงได้ง่าย’ [๔๓๒] เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ เมื่อนั้นเขาย่อมพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่ เป็นเหตุให้เกิดโมหะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น เหตุให้เกิดโมหะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมรู้ ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่ เป็นเหตุให้เกิดโมหะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็น ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่หลง ท่านผู้นี้แสดงธรรม อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนหลงจะแสดงได้ง่าย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่าเธอบริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุ ให้เกิดโมหะ เมื่อนั้น เขาสร้างศรัทธาในภิกษุนั้นอย่างมั่นคง จึงเกิดศรัทธาแล้ว เข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้ว ฟังธรรม๑- อยู่ ย่อมทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่งพินิจ เมื่อธรรมควร แก่การเพ่งพินิจมีอยู่ ฉันทะ๒- ย่อมเกิด เกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะ แล้วย่อมพิจารณา ครั้นพิจารณาแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เธอตั้งความเพียรแล้ว ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้แจ้งด้วยกาย และเห็นชัดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะจึงมีได้ ด้วยข้อปฏิบัติเพียง เท่านี้แล บุคคลย่อมรู้สัจจะได้ และเราย่อมบัญญัติการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง เท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว”
ตรัสตอบถึงการบรรลุสัจจะ
[๔๓๓] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วย ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลาย ย่อมหวังการรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อ ปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูล ถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ การปฏิบัติ เจริญ ทำให้มากซึ่ง ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การบรรลุสัจจะ ย่อมมีได้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการ บรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้” @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงเทศนาธรรม (ม.ม.อ. ๒/๔๓๒/๓๐๖) @ ฉันทะ ในที่นี้หมายถึงความพอใจด้วยความปรารถนาจะทำให้ยิ่งขึ้นอีก (ม.ม.อ. ๒/๔๓๒/๓๐๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

ตรัสตอบถึงธรรมมีอุปการะมาก
[๔๓๔] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเรา ทั้งหลายย่อมหวังการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้หรือ ธรรมมีอุปการะมาก แก่การบรรลุสัจจะเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะ มากแก่การบรรลุสัจจะ” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่ การบรรลุสัจจะ ถ้าบุคคลไม่ตั้งความเพียรนั้นไว้ ก็จะไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะ เขาตั้งความเพียรไว้จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การ บรรลุสัจจะ” “ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร พระพุทธเจ้าข้า” “ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความเพียร ถ้าบุคคลไม่พิจารณาปัญญา เครื่องพิจารณานั้นก็จะพึงตั้งความเพียรนี้ไว้ไม่ได้ แต่เพราะเขาพิจารณาจึงตั้งความเพียร ไว้ได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร” “ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูล ถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา พระพุทธเจ้าข้า” “ความอุตสาหะมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าบุคคลไม่อุตสาหะ ก็จะพึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะเขาอุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึง มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา” “ธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ พระพุทธเจ้าข้า” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

“ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้าฉันทะไม่เกิด บุคคลก็จะไม่พึง อุตสาหะ แต่เพราะฉันทะเกิด เขาจึงอุตสาหะ ฉะนั้น ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ ความอุตสาหะ” “ธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดม ถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ พระพุทธเจ้าข้า” “ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ ถ้าธรรม ทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่งพินิจ ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลายควรแก่การ เพ่งพินิจ ฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมจึงมีอุปการะมาก แก่ฉันทะ” “ธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจ แห่งธรรม พระพุทธเจ้าข้า” “ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การ เพ่งพินิจแห่งธรรม ถ้าบุคคลไม่ไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายก็จะไม่พึงควรแก่ การเพ่งพินิจ แต่เพราะเขาไตร่ตรองเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่การเพ่งพินิจ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความจึงมีอุปการะมากแก่ความควรแก่การเพ่งพินิจ แห่งธรรม” “ธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ พระพุทธเจ้าข้า” “การทรงจำธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ ถ้าบุคคล ไม่ทรงจำธรรมนั้น ก็จะพึงไตร่ตรองเนื้อความนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาทรงจำธรรมไว้ได้ จึงไตร่ตรองเนื้อความได้ ฉะนั้น การทรงจำธรรมจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่อง ไตร่ตรองเนื้อความ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

“ธรรมมีอุปการะแก่การทรงจำธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่านพระ โคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม พระพุทธเจ้าข้า” “การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม ถ้าบุคคลไม่ฟังธรรมนั้น ก็จะ พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาฟังธรรมจึงทรงจำธรรมไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรม จึงมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม” “ธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม พระพุทธเจ้าข้า” “การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม ถ้าบุคคลไม่เงี่ยโสตลง ก็จะพึง ฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเขาเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้ ฉะนั้น การเงี่ยโสตลงจึงมี อุปการะมากแก่การฟังธรรม” “ธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถามท่าน พระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง พระพุทธเจ้าข้า” “การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง ถ้าบุคคลไม่เข้าไปนั่งใกล้ ก็จะพึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเขาเข้าไปนั่งใกล้จึงเงี่ยโสตลงได้ ฉะนั้น การเข้าไป นั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง” “ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็นอย่างไร ข้าพระองค์ขอทูลถาม ท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ พระพุทธเจ้าข้า” “การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้ ถ้าบุคคลไม่เข้าไปหา ก็จะ พึงนั่งใกล้ไม่ได้ เพราะเขาเข้าไปหาจึงนั่งใกล้ได้ ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะ มากแก่การเข้าไปนั่งใกล้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๕}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๕. จังกีสูตร

“ท่านพระโคดม ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็นอย่างไร ข้าพระองค์ ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา” “ภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้าศรัทธาไม่เกิด บุคคล ก็จะไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะศรัทธาเกิด เขาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น ศรัทธาจึงมีอุปการะ มากแก่การเข้าไปหา” [๔๓๕] กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดม ถึงการรักษาสัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบการรักษาสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบ นั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ ท่านพระโคดมได้ตรัสตอบ การรู้สัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมก็ได้ ตรัสตอบการบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่มชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะแล้ว และข้อที่ตรัส ตอบนั้น ข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัส ตอบนั้น ข้าพระองค์ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงปัญหาข้อใดๆ ท่านพระโคดมก็ได้ตรัสตอบ ปัญหาข้อนั้นๆ แล้ว และข้อที่ตรัสตอบนั้นข้าพระองค์ชอบใจและถูกใจนัก และ ข้าพระองค์ก็ชื่นชมด้วยข้อที่ตรัสตอบนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๖}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [๕. พราหมณวรรค]

๖. เอสุการีสูตร

ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า ‘พวกสมณะโล้นเหล่านี้ เป็นสามัญชน เกิดจากพระบาทของพระพรหมเป็นกัณหชาติ๑- (วรรณะศูทร) เป็นใครกัน และจะรู้ทั่วถึงธรรมได้อย่างไร ท่านพระโคดมได้ทรงทำให้ข้าพระองค์เกิดความรัก สมณะในหมู่สมณะ ให้เกิดความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ และให้เกิดความเคารพ สมณะในหมู่สมณะแล้วหนอ’ ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล
จังกีสูตรที่ ๕ จบ
๖. เอสุการีสูตร
ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อเอสุการี
[๔๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อเอสุการีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว ได้นั่ง ณ ที่สมควร
การบำเรอ ๔ ประเภท
เอสุการีพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ ทั้งหลายบัญญัติการบำเรอไว้ ๔ ประเภท คือ ๑. บัญญัติการบำเรอพราหมณ์ ๒. บัญญัติการบำเรอกษัตริย์ ๓. บัญญัติการบำเรอแพศย์ ๔. บัญญัติการบำเรอศูทร @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๐๐ (อปัณณกสูตร) หน้า ๑๐๖ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๓ หน้า : ๕๔๗}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๕๓๘-๕๔๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=13&A=15194&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=13&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=10194&Z=10534&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=13&item=646&items=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=13&item=646&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu13

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]