ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

๒. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ๑- สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรม ทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมี ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทง ตลอดดีด้วยทิฏฐิ ๓. เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร๒- ๔. เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันมีในจิต เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก๓- @เชิงอรรถ : @ ทรงสุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คือ @สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร มงคลสูตร รตนสูตร นาฬกสูตร @ตุวัฏฏกสูตร ในสุตตนิบาต และพุทธพจน์อื่นๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ @เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะสคาถวรรคในสังยุตตนิกาย @เวยยากรณะ ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถาและพุทธพจน์อื่นที่ไม่จัดเข้า @ในองค์ ๘ ที่เหลือ @คาถา ได้แก่ ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร @อุทาน ได้แก่ พระสูตร ๘๒ สูตรที่เกี่ยวด้วยคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วย @โสมนัสญาณ @อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ตรัสโดยนัยว่า วุตฺตมิทํ ภควตา เป็นต้น @ชาตกะ ได้แก่ ชาดก ๕๕๐ เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น @อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏทั้งหมด ที่ตรัสโดยนัยว่า @“ภิกษุทั้งหลาย ข้ออัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ อย่างนี้ หาได้ในอานนท์” ดังนี้เป็นต้น @เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม-ตอบ ซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้ และความพอใจ เช่น จูฬเวทัลลสูตร @มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สักกปัญหสูตร สังขารภาชนียสูตร และ @มหาปุณณมสูตร (ม.มู.อ. ๒/๒๓๘/๑๓, ม.มู.อ. ๒/๓๓๓/๑๕๙) @ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร คือ เภสัช ๕ ชนิด ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย @(วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนี้มีประโยชน์ ๒ อย่างคือ @(๑) เป็นสิ่งสัปปายะสำหรับภิกษุผู้เจ็บไข้ จัดว่าเป็นบริขารคือบริวารของชีวิต ดุจกำแพงล้อมพระ @นครเพราะคอยป้องกันรักษาไม่ให้อาพาธที่จะบั่นทอนชีวิตได้ช่องเกิดขึ้นและเป็นสัมภาระของชีวิต คือ @คอยประคับประคองชีวิตให้ดำรงอยู่นาน (วิ.อ. ๒/๒๙๐/๔๐-๔๑, ม.มู.อ. ๑/๑๙๑/๓๙๗, @ม.มู.ฏีกา ๑/๒๓/๒๑๓) @(๒) เป็นเครื่องป้องกันโรค บำบัดโรคที่ให้เกิดทุกขเวทนา เนื่องจากธาตุกำเริบให้หายไป @(สารตฺถ.ฏีกา ๒/๒๙๐/๓๙๓) @ ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๒๒/๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๐}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

๕. แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้น หรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่ แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศ เหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมี ฤทธานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้๑- ๖. ได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ (๑) เสียงทิพย์ (๒) เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ๗. กำหนดรู้จิตของสัตว์อื่นด้วยจิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีราคะ’ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’ จิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโทสะ’ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’ จิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโมหะ’ หรือจิต ปราศจากโมหะก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’ จิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหดหู่’ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’ จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะก็รู้ชัดว่า ‘จิต ไม่เป็นมหัคคตะ’ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’ หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’ จิตเป็น สมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ชัดว่า ‘จิต ไม่เป็นสมาธิ’ จิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้นแล้ว’ หรือจิต ไม่หลุดพ้นแล้วก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้นแล้ว’ ๘. ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ ๑ ชาติบ้าง ๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง ๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๔๘๔/๒๑๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๑}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็น อันมากบ้าง ว่า ‘ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีตระกูล มีวรรณะ มีอาหาร เสวยสุขทุกข์ และมีอายุอย่างนั้นๆ จุติจากภพนั้นจึง มาเกิดในภพนี้’ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะ ทั่วไป และชีวประวัติอย่างนี้ ๙. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม๑- ๑๐. ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งเองซึ่งเจโตวิมุตติ๒- ปัญญาวิมุตติ๓- อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จึงเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน พราหมณ์ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑๐ ประการนี้ อันพระผู้มี พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสบอกไว้ บรรดาอาตมภาพทั้งหลาย รูปใดมีธรรมเหล่านี้ ในบัดนี้ อาตมภาพทั้งหลายย่อม สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วเข้าไปอาศัยรูปนั้นอยู่” [๘๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ มหา อำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ได้เรียกอุปนันทเสนาบดีมาพูดว่า “เสนาบดี ท่าน เข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ พระคุณเจ้าเหล่านี้สักการะธรรมที่ควรสักการะ เคารพธรรมที่ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชาอยู่อย่างนี้ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.สี. (แปล) ๙/๔๗๕-๔๗๘/๒๐๘-๒๑๑ @ เจโตวิมุตติ หมายถึงสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ที่ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะพ้นจากราคะ (ที่เป็น @ปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา ๑/๖๙/๓๓๔) ใน @ที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีสมถกัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗, ดูเทียบ องฺ.ทุก.อ. @๒/๘๘/๖๒) @ ปัญญาวิมุตติ หมายถึงปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผลนั้น ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจาก @อวิชชา (ที่เป็นปฏิปักขธรรมโดยตรง แต่มิได้หมายความว่าจะระงับบาปธรรมอื่นไม่ได้ ดู ม.มู.ฏีกา @๑/๖๙/๓๓๔) ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยมีวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นพื้นฐาน (ม.มู.อ. ๑/๖๙/๑๗๗ @ดูเทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๘๘/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๒}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

เอาเถิด พระคุณเจ้าเหล่านี้ ย่อมสักการะธรรมที่ควรสักการะ เคารพธรรมที่ ควรเคารพ นับถือธรรมที่ควรนับถือ บูชาธรรมที่ควรบูชา เพราะถ้าพระคุณเจ้า เหล่านั้นไม่พึงสักการะ ไม่พึงเคารพ ไม่พึงนับถือ ไม่พึงบูชาธรรมนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ในบัดนี้ พระคุณเจ้าเหล่านั้นจะพึงสักการะ พึงเคารพ พึงนับถือ พึงบูชา แล้ว เข้าไปอาศัยธรรมอะไรอยู่ได้” ครั้งนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ถามท่านพระ อานนท์ว่า “ก็เวลานี้ ท่านพระอานนท์พักอยู่ที่ไหน” ท่านพระอานนท์ตอบว่า “เวลานี้ อาตมภาพพักอยู่ที่พระเวฬุวัน” “ท่านพระอานนท์ ก็พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่ หลีกเร้นหรือ” “ถูกแล้ว พราหมณ์ พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่ หลีกเร้น ก็เพราะมีผู้รักษาคุ้มครองเช่นท่าน” “ท่านพระอานนท์ แท้จริง พระเวฬุวันเป็นที่รื่นรมย์ มีเสียงน้อย มีเสียง อึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น ก็เพราะมีพระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นผู้มีฌาน และเป็นผู้เข้า ฌานอยู่ประจำต่างหาก ท่านพระอานนท์ กระผมจะขอเล่าถวาย สมัยหนึ่ง พระโคดมผู้เจริญพระ องค์นั้นประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล กระผมเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นถึงที่ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่า มหาวัน ณ ที่นั้น พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย พระองค์เป็นผู้มีฌาน และเป็นผู้เข้าฌานอยู่ประจำ และตรัสสรรเสริญฌานทั้งปวงหรือ” [๘๔] “พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๓}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ๑. มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัด ตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑- กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคล นั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำกามราคะเท่านั้นไว้ภายใน ๒. มีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำพยาบาทเท่านั้นไว้ภายใน ๓. มีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว บุคคลนั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำถีนมิทธะเท่านั้นไว้ภายใน ๔. มีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด ขึ้นแล้ว๒- บุคคลนั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำ อุทธัจจกุกกุจจะเท่านั้นไว้ภายใน ๕. มีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว๒- บุคคลนั้นจึงเพ่ง หมกมุ่น จดจ่อ จินตนาการ ทำวิจิกิจฉาเท่านั้นไว้ภายใน พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้ @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่สลัด มี ๓ ประการ คือ (๑) ธรรมที่สลัดด้วยการข่มไว้ หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภกัมมัฏฐาน @เป็นอารมณ์ (๒) ธรรมที่สลัดด้วยองค์นั้น หมายถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (๓) ธรรมที่สลัดด้วยการถอนขึ้น @หมายถึงอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๓-๗๔) @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๙๓/๓๒๔-๓๒๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๔}

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๑. เทวทหวรรค]

๘. โคปกโมคคัลลานสูตร

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตก วิจาร สงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... อยู่ พราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้” “ท่านพระอานนท์ ได้ยินว่า พระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นทรงติเตียนฌานที่ ควรติเตียน ทรงสรรเสริญฌานที่ควรสรรเสริญ ถ้าเช่นนั้น บัดนี้ กระผมขอลากลับ เพราะมีกิจ มีหน้าที่ที่จะต้องทำอีกมาก” “พราหมณ์ ท่านจงรู้กาลอันควรไป ณ บัดนี้เถิด” ลำดับนั้น วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ ชื่นชมยินดี ภาษิตของท่านพระอานนท์ ลุกจากที่นั่งแล้วจากไป ครั้งนั้นแล เมื่อวัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ จากไปแล้ว ไม่นาน โคปกโมคคัลลานพราหมณ์ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ว่า “ท่านพระ อานนท์ยังมิได้ตอบปัญหาที่กระผมทั้งหลายถามเลย” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “พราหมณ์ เราได้กล่าวแล้วมิใช่หรือว่า ‘ไม่มีภิกษุ แม้สักรูปหนึ่งที่ประกอบด้วยธรรมครบถ้วนทุกข้อทุกประการ ที่พระผู้มีพระภาค ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบพร้อมแล้ว เพราะ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงยังมรรคที่ไม่อุบัติให้อุบัติ ทรงยังมรรคที่ยัง ไม่เกิดให้เกิด ตรัสบอกมรรคที่ไม่มีใครบอกได้ ทรงทราบชัดมรรค ทรงรู้แจ้ง มรรค ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวกทั้งหลายในบัดนี้เป็นผู้ดำเนินตามมรรคใน ภายหลังจึงประกอบพร้อมอยู่”
โคปกโมคคัลลานสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๙๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๙๐-๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=2663&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=14&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=1735&Z=1979&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=105              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=14&item=105&items=15              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=14&item=105&items=15              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]