ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยโทษ
[๒๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุ ๒ รูปได้โต้เถียงกัน ในการ โต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ครั้งนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินนั้นขอโทษ ในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมาก พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ภิกษุ ๒ รูปโต้เถียงกัน ในการโต้เถียงกันนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดล่วงเกิน ลำดับนั้น ภิกษุผู้พูดล่วงเกินขอโทษในที่อยู่ของภิกษุนั้น แต่ภิกษุนั้นไม่ยกโทษให้ พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คือ ๑. ผู้ไม่เห็นโทษว่าเป็นโทษ ๒. ผู้ไม่ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ คือ ๑. ผู้เห็นโทษว่าเป็นโทษ ๒. ผู้ยกโทษให้ตามสมควรแก่ธรรมเมื่อผู้อื่นขอโทษ บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๙๔}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๑. สักกสังยุต]

๓. ตติยวรรค ๕. อักโกธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงยังเทพชั้น ดาวดึงส์ให้พลอยยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า ขอความโกรธจงตกอยู่ในอำนาจของท่านทั้งหลาย ขอความเสื่อมคลายในมิตตธรรมอย่าได้มีแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ติเตียนผู้ที่ไม่ควรติเตียน๑- และอย่าได้พูดคำส่อเสียดเลย ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”
อัจจยสูตรที่ ๔ จบ
๕. อักโกธสูตร
ว่าด้วยความไม่โกรธ
[๒๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพเมื่อจะทรงทำให้เทพ ชั้นดาวดึงส์ยินดี ณ เทวสภาชื่อสุธรรมา จึงได้ตรัสคาถานี้ในเวลานั้นว่า ความโกรธอย่าได้ครอบงำท่านทั้งหลาย และท่านทั้งหลายอย่าได้โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ ความไม่โกรธและความไม่เบียดเบียน๒- ย่อมมีในท่านผู้ประเสริฐทุกเมื่อ ความโกรธเป็นดุจภูเขา ย่ำยีคนเลว ฉะนี้แล”
อักโกธสูตรที่ ๕ จบ
วรรคที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ผู้ที่ไม่ควรติเตียน ในที่นี้หมายถึงพระขีณาสพ (สํ.ส.อ. ๑/๒๗๐/๓๓๘) @ ความไม่โกรธ ในที่นี้หมายถึงเมตตาและบุพภาคแห่งเมตตา ความไม่เบียดเบียน หมายถึงกรุณาและบุพภาค @แห่งกรุณา (สํ.ส.อ. ๑/๒๗๑/๓๓๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๙๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๙๔-๓๙๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=10645&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=270              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7732&Z=7758&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=952              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=952&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=952&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]