ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
๗. สุทธิกสูตร
ว่าด้วยสุทธิกภารทวาชพราหมณ์
[๑๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น สุทธิกภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า พราหมณ์บางคนในโลกแม้เป็นผู้มีศีล บำเพ็ญตบะอยู่ ก็ยังหมดจดไม่ได้ พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเท่านั้น จึงจะหมดจดได้ ส่วนหมู่สัตว์อื่นนอกจากนี้จะหมดจดไม่ได้เลย @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๓ หน้า ๒๖-๒๗ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๒๗๒}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๗. พราหมณสังยุต]

๑. อรหันตวรรค ๘. อัคคิกสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พราหมณ์ ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน อาศัยการโกหกเลี้ยงชีพ ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์ ส่วนกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล และคนเทขยะ ผู้ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ มีความบากบั่นอยู่เป็นนิตย์ ย่อมถึงความหมดจดอย่างยิ่งได้ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุทธิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดม ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ” อนึ่ง ท่านพระสุทธิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ ทั้งหลาย
สุทธิกสูตรที่ ๗ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๗๒-๒๗๓. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=7342&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=193              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5354&Z=5374&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=648              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=648&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=648&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]