ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑๐. ยักขสังยุต]

๓. สูจิโลมสูตร

สูจิโลมยักษ์จึงทูลถามด้วยคาถานี้ว่า ราคะและโทสะมีอะไรเป็นเหตุ ความไม่ยินดี๑- ความยินดี๒- และความขนพองสยองเกล้า๓- เกิดจากอะไร ความตรึกในใจเกิดจากอะไร ย่อมผูกจิตไว้ได้เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ราคะและโทสะมีอัตภาพนี้เป็นเหตุ ความไม่ยินดี ความยินดี และความขนพองสยองเกล้าเกิดจากอัตภาพนี้ ความตรึกในใจเกิดจากอัตภาพนี้ ย่อมผูกจิตไว้เหมือนพวกเด็กผูกตีนกาไว้ ฉะนั้น อกุศลวิตกเป็นอันมาก เกิดจากความเยื่อใยคือตัณหา เกิดขึ้นในตนแล้วแผ่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย เหมือนย่านไทรเกิดจากลำต้นไทรแล้วแผ่ซ่านไปในป่า ฉะนั้น ชนเหล่าใดรู้อัตภาพนั้นว่าเกิดจากสิ่งใด ชนเหล่านั้นย่อมบรรเทาเหตุเกิดนั้นเสียได้ ยักษ์ ท่านจงฟัง ชนเหล่านั้นย่อมข้ามห้วงแห่งกิเลสนี้ ซึ่งข้ามได้ยาก อันตนไม่เคยข้ามเพื่อความไม่มีภพใหม่ต่อไป๔-
สูจิโลมสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ความไม่ยินดี หมายถึงความไม่ยินดีในเสนาสนะที่สงัดหรือกุศลธรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๒๗๓/๑๑๔) @ ความยินดี หมายถึงความยินดีในกามคุณ ๕ (ขุ.สุ.อ. ๒/๒๗๓/๑๑๔) @ ความขนพองสยองเกล้า หมายถึงความสะดุ้งกลัวแห่งจิตจนขนลุก (ขุ.สุ.อ. ๒/๒๗๓/๑๑๔) @ ดูเทียบ ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕/๒๑ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๔๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๔๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=9129&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=15&siri=237              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6655&Z=6691&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=807              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=15&item=807&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=15&item=807&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]