ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๐. มณิจูฬกสูตร

๑๐. มณิจูฬกสูตร
ว่าด้วยผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะ
[๓๖๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อ กระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในพระราชวัง ได้สนทนากันขึ้นว่า “ทองและเงินสมควรแก่สมณศากยบุตรหรือ สมณศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ” สมัยนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้นขณะนั้นได้กล่าวกับบริษัท นั้นดังนี้ว่า “นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้ว มณีและทอง ปราศจากทองและเงิน”
ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะสามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้
ต่อมา ผู้ใหญ่บ้านชื่อมณิจูฬกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าราชบริพารนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายใน พระราชวังนี้ได้สนทนากันขึ้นว่า ‘ทองและเงินควรแก่สมณศากยบุตรหรือ สมณ- ศากยบุตรยินดีทองและเงินได้หรือ รับทองและเงินได้หรือ’ เมื่อบริษัทนั้นกล่าว อย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับบริษัทนั้นดังนี้ว่า ‘นายอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่ รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถให้บริษัทนั้นยินยอมได้ ข้าพระ องค์เมื่อตอบอย่างนี้ ชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่ พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่างสมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้าง หรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ผู้ใหญ่บ้าน เมื่อท่านตอบอย่างนี้ ชื่อว่า พูดตรงตามคำที่เราพูดไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๔๑๕}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๘. คามณิสังยุต]

๑๑. คันธภกสูตร

สมเหตุสมผล ไม่มีที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้ เพราะว่าทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน ไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วมณีและทอง ปราศจากทองและเงิน ผู้ใหญ่บ้าน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด กามคุณ ๕ ก็ควรแก่ผู้นั้น กามคุณ ๕ ควรแก่ผู้ใด (ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น) ผู้ใหญ่บ้าน เราให้เข้าใจเรื่องนี้โดยส่วน เดียวว่า ‘ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร’ อนึ่ง เรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึง แสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ’ แต่เราไม่กล่าวเลยว่า ‘พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยประการใดๆ”
มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๔๑๕-๔๑๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=11634&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=276              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=8228&Z=8262&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=623              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=623&items=4              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=623&items=4              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]