ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๓. ปฐมรูปารามสูตร

๓. ปฐมรูปารามสูตร
ว่าด้วยผู้ยินดีในรูป สูตรที่ ๑
[๑๓๖] “ภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในรูป รื่นรมย์ ในรูป เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายจึงอยู่เป็นทุกข์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ยินดีในสัททะ รื่นรมย์ในสัททะ เพลิดเพลิน ในสัททะ เพราะสัททะแปรผัน คลายไป และดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจึง อยู่เป็นทุกข์ ยินดีในคันธะ ... ยินดีในรส ... ยินดีในโผฏฐัพพะ ... ยินดีในธรรมารมณ์ รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป พวกเทวดาและมนุษย์จึงอยู่เป็นทุกข์ ภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในรูป ไม่รื่นรมย์ในรูป ไม่เพลิดเพลินในรูป เพราะรูปแปรผัน คลายไป และดับไป ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ เครื่องสลัดออกจากสัททะ ... คันธะ ... รส ... โผฏฐัพพะ ... รู้แจ้งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ ไม่รื่นรมย์ในธรรมารมณ์ ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรผัน คลายไป และดับไป ตถาคตจึงอยู่เป็นสุข” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “รูป สัททะ คันธะ รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ล้วนน่าปรารถนา น่าใคร่ และน่าพอใจ ที่กล่าวกันว่า มีอยู่ประมาณเท่าใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๗๑}

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

๓. ตติยปัณณาสก์ ๔. เทวทหวรรค ๓. ปฐมรูปารามสูตร

รูปเป็นต้นเหล่านั้นแลเป็นสิ่งที่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลกสมมติว่าเป็นสุข ถ้ารูปเป็นต้นเหล่านั้นดับในที่ใด ที่นั้น เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นก็สมมติกันว่าเป็นทุกข์ ส่วนอริยบุคคลทั้งหลายเห็นการดับสักกายะว่าเป็นสุข การเห็นของอริยบุคคลทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้ ย่อมขัดแย้งกับชาวโลกทั้งปวง บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข อริยบุคคลทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์ บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์ อริยบุคคลทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข เธอจงเห็นธรรมที่รู้ได้ยาก คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งในนิพพานนี้ ความมืดปรากฏแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์คือกิเลสหุ้มห่อไว้ (เหมือน) ความมืดปรากฏแก่บุคคลผู้ไม่เห็นฉะนั้น แต่นิพพานย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่สัตบุรุษ เหมือนแสงสว่างปรากฏแก่บุคคลผู้เห็นอยู่ฉะนั้น ชนทั้งหลายผู้แสวงหาทาง ไม่ฉลาดในธรรม ย่อมไม่รู้แจ้ง (นิพพาน) ที่อยู่ใกล้ บุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ แล่นไปตามกระแส (ตัณหา) ในภพ ถูกบ่วงมารคล้องไว้ จะไม่รู้ธรรมนี้ได้ง่าย เว้นอริยบุคคลทั้งหลายแล้ว ใครเล่าควรจะตรัสรู้บท๑- ที่อริยบุคคลทั้งหลายตรัสรู้ชอบแล้วไม่มีอาสวะปรินิพพาน”
ปฐมรูปารามสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ บท ในที่นี้หมายถึงพระนิพพาน (สํ.สฬา.อ. ๓/๑๓๖/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๑๗๒}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๑๗๑-๑๗๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=4822&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=18&siri=116              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=3277&Z=3317&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=216              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=18&item=216&items=2              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=18&item=216&items=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]