ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๕. สหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุบวชใหม่ จบ
เรื่องสามเณรราหุล
[๕๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี ตามพระอัธยาศัยแล้ว ได้เสด็จจาริกไปทางกรุงโกสัมพี เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงโกสัมพี ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ พทริการาม เขตกรุงโกสัมพีนั้น ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านราหุล๑- ดังนี้ว่า “ท่าน พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ สิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ท่านราหุล ท่านจงหาที่นอน” คืนนั้น ท่านราหุลหาที่นอนไม่ได้จึงไปนอนในวัจกุฎี๒- ครั้นเวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคทรงตื่นบรรทมเสด็จไปวัจกุฎี ครั้นถึงแล้วจึง ทรงพระกาสะ แม้ท่านราหุลก็กระแอมรับ “ใครอยู่ในที่นี่” “ข้าพระพุทธเจ้าราหุล พระพุทธเจ้าข้า” “ราหุล เธอมานอนที่นี่ทำไม” ทีนั้น ท่านราหุลจึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ได้ ๒-๓ คืน” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ พระราหุลยังบวชเป็นสามเณรอยู่ @ “วัจกุฎี” คือห้องสุขา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๕. สหเสยยสิกขาบท บทภาชนีย์

พระอนุบัญญัติ
[๕๑] อนึ่ง ภิกษุใดนอนร่วมกันกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องสามเณรราหุล จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคทรง ประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า อนุปสัมบัน คือ ยกเว้นภิกษุ นอกนั้นชื่อว่าอนุปสัมบัน คำว่า เกิน ๒-๓ คืน คือ มากกว่า ๒-๓ คืน คำว่า ร่วมกัน คือ ด้วยกัน ที่ชื่อว่า ที่นอน ได้แก่ ที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด มีเครื่องบังทั้งหมด หรือ มีเครื่องมุงส่วนมาก มีเครื่องบังส่วนมาก คำว่า นอน ความว่า เมื่อดวงอาทิตย์อัสดงในวันที่ ๔ เมื่ออนุปสัมบันนอน ภิกษุก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เมื่อภิกษุนอนอนุปสัมบันก็นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือทั้งภิกษุและอนุปสัมบันนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุลุกขึ้นแล้วกลับไปนอนอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๓] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๕. สหเสยยสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ที่นอนมีเครื่องมุงครึ่งเดียว มีเครื่องบังครึ่งเดียว ต้องอาบัติทุกกฏ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ต้องอาบัติทุกกฏ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน นอนร่วมกันเกิน ๒-๓ คืน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๔] ๑. ภิกษุนอนพัก ๒-๓ คืน ๒. ภิกษุพักต่ำกว่า ๒-๓ คืน ๓. ภิกษุพัก ๒ คืน พอคืนที่ ๓ ออกไปก่อนอรุณขึ้นแล้วกลับเข้ามา ๔. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องมุงทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องบังทั้งหมด ๕. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนมีเครื่องบังทั้งหมด แต่ไม่มีเครื่องมุงทั้งหมด ๖. ภิกษุนอนร่วมกันในที่นอนไม่มีเครื่องมุงส่วนมาก ไม่มีเครื่องบังส่วนมาก ๗. ภิกษุนั่งในเมื่ออนุปสัมบันนอน ๘. ภิกษุนอน อนุปสัมบันนั่ง ๙. ภิกษุนั่งและอนุปสัมบันก็นั่ง ๑๐. ภิกษุวิกลจริต ๑๑. ภิกษุต้นบัญญัติ
สหเสยยสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๓๘-๒๔๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=6110&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=41              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=7166&Z=7249&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=289              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=289&items=5              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=289&items=5              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]