ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุผู้ได้รับแต่งตั้งแล้วนั้นพึงถามภิกษุณีทั้งหลายว่า “น้องหญิงทั้งหลาย พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ” ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า” พึงถามว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ครุธรรม ๘ ข้อยังจำกันได้อยู่หรือ” ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “ยังจำกันได้อยู่ เจ้าข้า” พึงกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย ธรรมนี่เป็นโอวาท” แล้วพึงมอบหมาย ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “จำกันไม่ได้ เจ้าข้า” พึงสวดครุธรรมดังนี้ว่า
ครุธรรม ๘ ข้อ
๑. ภิกษุณีถึงจะบวชได้ ๑๐๐ พรรษา ก็ต้องทำการกราบไหว้ ต้อนรับ ทำ อัญชลีกรรม ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชแม้ในวันนั้น ธรรมข้อนี้ภิกษุณี พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึง สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๓. ภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่าง คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจากภิกษุ สงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๔. ภิกษุณีจำพรรษาแล้วพึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยสถาน ๓ คือ ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้นึกสงสัย ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๕. ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้วพึงประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๖. ภิกษุณีพึงแสวงหาการอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายให้แก่สิกขมานาที่ศึกษา ธรรม ๖ ข้อตลอด ๒ ปีแล้ว ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่ากรณีใดๆ ธรรมข้อนี้ภิกษุณี พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วงละเมิดจนตลอดชีวิต ๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ แต่ไม่ห้ามภิกษุสั่งสอน ภิกษุณี ธรรมข้อนี้ภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงล่วง ละเมิดจนตลอดชีวิต ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนธรรมอื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าพวกภิกษุณีตอบว่า “พวกดิฉันยังไม่พร้อมเพรียงกัน เจ้าข้า” ภิกษุผู้ได้รับ แต่งตั้งแล้ว สั่งสอนครุธรรม ๘ ข้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ให้โอวาท สั่งสอนธรรม อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ
บทภาชนีย์
[๑๕๐] กรรม๑- ที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุ สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ กรรม คือการแต่งตั้งภิกษุสั่งสอนภิกษุณี (วิ.อ. ๒/๑๕๐/๓๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุ สำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุ สำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้วสั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ [๑๕๑] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณี สงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติ ทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญ ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์ยังไม่ พร้อมเพรียงกัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๑. โอวาทสิกขาบท อนาปัตติวาร

กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุไม่แน่ใจ ภิกษุณีสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญ ว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ฯลฯ ภิกษุสำคัญว่า พร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่พร้อมเพรียงกัน สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ สั่งสอน ต้องอาบัติทุกกฏ กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสงฆ์พร้อม เพรียงกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าพร้อมเพรียงกันแล้ว สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๕๒] ๑. ภิกษุให้อุทเทส ๒. ภิกษุให้ปริปุจฉา๑- ๓. ภิกษุที่ภิกษุณีกล่าวขอว่า “นิมนต์พระคุณเจ้าสวดเถิด” สวดอยู่ ๔. ภิกษุถามปัญหา ๕. ภิกษุถูกถามปัญหาแล้วตอบปัญหา ๖. ภิกษุสั่งสอนผู้อื่นแต่มีภิกษุณีฟังอยู่ด้วย ๗. ภิกษุสั่งสอนสิกขมานา ๘. ภิกษุสั่งสอนสามเณรี ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
โอวาทสิกขาบทที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ ให้อุทเทส คือ สอนพระบาลีครุธรรม ๘ ให้ปริปุจฉา คือ สอนคำอธิบายพระบาลีครุธรรม ๘ @(วิ.อ. ๒/๑๕๒/๓๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๒๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๒๒-๓๒๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=8259&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=2&siri=57              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=2&A=9268&Z=9507&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=406              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=406&items=18              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=406&items=18              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]