ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์ ] ๒. สุขวรรค

[๖๘] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่มีอาสวะ๑- ๒. สุขที่ไม่มีอาสวะ๒- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีอาสวะเป็นเลิศ (๔) [๖๙] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่อิงอามิส๓- ๒. สุขที่ไม่อิงอามิส๔- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่อิงอามิสเป็นเลิศ (๕) [๗๐] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขของพระอริยะ๕- ๒. สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ๖- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยะเป็นเลิศ (๖) [๗๑] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขทางกาย ๒. สุขทางใจ สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อยางนี้ สุขทางใจเป็นเลิศ (๗) @เชิงอรรถ : @ สุขที่มีอาสวะ หมายถึงสุขที่นับเนื่องในวัฏฏะที่เป็นปัจจัยแก่อาสวะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๘/๖๐) @ สุขที่ไม่มีอาสวะ หมายถึงสุขที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ที่ไม่เป็นปัจจัยแก่อาสวะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๘/๖๐) @ สุขที่อิงอามิส หมายถึงสุขอาศัยเหยื่อล่อ เป็นสุขที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ทำให้สัตว์อยู่ในวงจรแห่งวัฏฏะ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๙/๖๑) @ สุขที่ไม่อิงอามิส หมายถึงสุขที่ไม่ต้องอาศัยเหยื่อล่อ เป็นสุขที่ไม่ทำใจให้เศร้าหมองพ้นจากวงจรแห่ง @วัฏฏะ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๖๙/๖๑) @ สุขของพระอริยะ หมายถึงสุขที่ไม่ใช่ของปุถุชน เป็นสุขของพระอริยบุคคล ๘ จำพวก @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๐/๖๑) @ สุขของผู้ไม่ใช่พระอริยะ หมายถึงสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยบุคคล (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๐/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๒. สุขวรรค

[๗๒] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่มีปีติ๑- ๒. สุขที่ไม่มีปีติ๒- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีปีติเป็นเลิศ (๘) [๗๓] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่เกิดจากความยินดี๓- ๒. สุขที่เกิดจากอุเบกขา๔- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากอุเบกขาเป็นเลิศ (๙) [๗๔] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมาธิสุข๕- ๒. อสมาธิสุข๖- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สมาธิสุขเป็นเลิศ (๑๐) [๗๕] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์๗- ๒. สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์๘- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็น อารมณ์เป็นเลิศ (๑๑) @เชิงอรรถ : @ สุขที่มีปีติ หมายถึงสุขในปฐมฌานและทุติยฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๒/๖๑) @ สุขที่ไม่มีปีติ หมายถึงสุขในตติยฌานและจตุตถฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๒/๖๑) @ สุขที่เกิดจากความยินดี หมายถึงสุขในฌาน ๓ (ปฐมฌาน, ทุติยฌาน, ตติยฌาน) (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓/๖๑) @ สุขที่เกิดจากอุเบกขา หมายถึงสุขในจตุตถฌาน (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓/๖๑) @ สมาธิสุข หมายถึงสุขที่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๔/๖๑) @ อสมาธิสุข หมายถึงสุขที่ยังไม่ถึงขั้นอัปปนาสมาธิหรืออุปจารสมาธิ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๔/๖๑) @ สุขที่เกิดจากฌานมีปีติเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๒ มีปีติเป็นอารมณ์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๕/๖๑) @ สุขที่เกิดจากฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๒ ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๕/๖๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๓. สนิมิตตวรรค

[๗๖] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์๑- ๒. สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์๒- สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็น อารมณ์เป็นเลิศ (๑๒) [๗๗] สุข ๒ อย่างนี้ สุข ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สุขที่มีรูปฌานเป็นอารมณ์ ๒. สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์ สุข ๒ อย่างนี้แล บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีอรูปฌานเป็นอารมณ์เป็นเลิศ (๑๓)
สุขวรรคที่ ๒ จบ
๓. สนิมิตตวรรค
หมวดว่าด้วยเหตุแห่งบาปอกุศล
[๗๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิต๓- จึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิต ไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสียได้อย่างนี้ ธรรม ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี (๑) @เชิงอรรถ : @ สุขที่เกิดจากฌานมีความยินดีเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌาน ๓ (ปฐมฌาน, @ทุติยฌาน, ตติยฌาน) มีความยินดีเป็นอารมณ์ (เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓-๗๕/๖๑) @ สุขที่เกิดจากฌานมีอุเบกขาเป็นอารมณ์ หมายถึงสุขที่เกิดแก่ผู้พิจารณาฌานที่ ๔ มีอุเบกขาเป็น @อารมณ์ (เทียบ องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๓-๗๕/๖๑) @ นิมิต หมายถึงเหตุ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๗๘-๗๙/๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๕}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๐๓-๑๐๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=2808&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=35              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2088&Z=2132&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=309              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=309&items=13              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=309&items=13              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]