ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๖๙] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์๑- ๒. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๖) [๑๗๐] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๒. ความรู้จักประมาณในการบริโภค ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๗) [๑๗๑] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ปฏิสังขานพละ (กำลังคือการพิจารณา) ๒. ภาวนาพละ (กำลังคือการเจริญ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๘) [๑๗๒] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สติพละ (กำลังคือสติ) ๒. สมาธิพละ (กำลังคือสมาธิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๙) [๑๗๓] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สมถะ๒- (การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) ๒. วิปัสสนา๓- (ความเห็นแจ้ง) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐) @เชิงอรรถ : @ อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอายตนะภายใน ๖ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๒๓๐/๒๘๐) @ สมถะ หมายถึงสภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๓/๗๑) @ วิปัสสนา หมายถึงปัญญาที่กำหนดรู้สังขาร (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๓/๗๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๗๔] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สีลวิบัติ (ความวิบัติแห่งศีล) ๒. ทิฏฐิวิบัติ (ความวิบัติแห่งทิฏฐิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑) [๑๗๕] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๒. ทิฏฐิสัมปทา๑- (ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๒) [๑๗๖] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล) ๒. ทิฏฐิวิสุทธิ๒- (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๓) [๑๗๗] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ทิฏฐิวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) ๒. ปธาน (ความเพียร) ที่สมควรแก่สัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๔) @เชิงอรรถ : @ ทิฏฐิสัมปทา ในที่นี้หมายถึงความถึงพร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิ ๕ ประการ คือ (๑) กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ @(๒) ฌานสัมมาทิฏฐิ (๓) วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ (๔) มัคคสัมมาทิฏฐิ (๕) ผลสัมมาทิฏฐิ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๕/๗๑) @ ทิฏฐิวิสุทธิ ในที่นี้หมายถึงสัมมาทิฏฐิในอริยมรรค ๔ ที่ให้เกิดความบริสุทธิ์ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๑๗๖/๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. สมาปัตติวรรค

[๑๗๘] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย ๒. ความไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๕) [๑๗๙] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความหลงลืมสติ ๒. ความไม่มีสัมปชัญญะ ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๖) [๑๘๐] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. สติ ๒. สัมปชัญญะ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๗)
สมาปัตติวรรคที่ ๕ จบ
ตติยปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๒๙}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๒๗-๑๒๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=3458&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=20&siri=43              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2461&Z=2507&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=408              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=20&item=408&items=17              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=20&item=408&items=17              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]