ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๒. อาปัตติภยสูตร

เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ จักพร้อมใจกันทำลายเราเสีย แต่ถ้า แตกแยกกันจักทำลายเราไม่ได้’ ภิกษุผู้เลวทรามเมื่อเล็งเห็นอำนาจ ประโยชน์ที่ ๓ นี้ จึงยินดีการทำลายสงฆ์ ๔. ภิกษุผู้เลวทรามปรารถนาลาภสักการะและชื่อเสียง เธอคิดกังวล อย่างนี้ว่า ‘ถ้าพวกภิกษุจักรู้ว่า เราปรารถนาลาภสักการะและ ชื่อเสียง จักพร้อมใจกันไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา เรา แต่ถ้าแตกแยกกันจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา’ ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ที่ ๔ นี้ จึงยินดีการ ทำลายสงฆ์ อานนท์ ภิกษุผู้เลวทราม เมื่อเล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้แล จึงยินดีการทำลายสงฆ์”
สังฆเภทกสูตรที่ ๑ จบ
๒. อาปัตติภยสูตร
ว่าด้วยอาปัตติภัย
[๒๔๔] ภิกษุทั้งหลาย อาปัตติภัย (ภัยที่เกิดจากการต้องอาบัติ) ๔ ประการนี้ อาปัตติภัย ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติปาราชิกทั้งหลายว่า เป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น พึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติปาราชิกก็จักไม่ต้อง หรือผู้ต้องแล้ว จักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑-’ เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับ โจรผู้ประพฤติชั่วได้แล้วแสดงแก่พระราชาด้วยกราบทูลว่า ‘ขอเดชะ ชายผู้นี้เป็นโจรผู้ประพฤติชั่วต่อพระองค์ ขอพระองค์จงลงพระ ราชอาญาแก่เขา’ พระราชาจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงไป จงใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนี้เอาแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนผม @เชิงอรรถ : @ ทำคืนตามสมควรแก่ธรรม หมายถึงสละความเป็นพระภิกษุตามสมควรแก่โทษคืออาบัติปาราชิก @หรือดำรงอยู่ในภูมิสามเณร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๔/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๒. อาปัตติภยสูตร

นำตระเวนไปตามถนนและตรอกพร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดัง น่ากลัว นำออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้ แห่งพระนคร’ พวกราชบุรุษใช้เชือกเหนียวมัดบุรุษนั้นเอาแขนไพล่ หลังอย่างแน่นหนาแล้วโกนผม นำตระเวนไปตามถนนและตรอก พร้อมกับแกว่งบัณเฑาะว์เสียงดังน่ากลัว นำออกทางประตูด้าน ทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร ในที่นั้นมีชายคน หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ชายผู้นี้ ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน จนต้องถูกตัดศีรษะ พวกราชบุรุษจึงจับ ใช้เชือกเหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างแน่นหนา โกนผม นำตระเวน ไปตามถนนและตรอกพร้อมกับ แกว่งบัณเฑาะว์เสียงดังน่ากลัว นำออกทางประตูด้านทิศใต้แล้วตัดศีรษะทางด้านทิศใต้แห่งพระนคร เขาไม่ควรทำกรรมชั่วร้ายเช่นนี้จนต้องถูกตัดศีรษะเลย’ ๒. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหลาย ว่าเป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณี นั้นพึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสก็จักไม่ต้อง หรือผู้ ต้องแล้วจักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑-’ เปรียบเหมือนชายนุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอ เข้าไปในกลุ่มชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควร แก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้า จะทำสิ่งนั้น’ ในที่นั้น มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าว อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชายผู้นี้ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสากไว้ที่คอ เข้าไปในกลุ่มชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า @เชิงอรรถ : @ หมายถึงเข้าอยู่ประพฤติวุฏฐานวิธี คือ ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ ในที่นี้หมายเอาอาบัติ @สังฆาทิเสส มีทั้งหมด ๔ อย่าง คือ ปริวาส มานัติ อัพภาน และปฏิกัสสนา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๔/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๒. อาปัตติภยสูตร

ได้กระทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลาย พอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสากเช่นนั้นเลย’ ๓. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติปาจิตตีย์ทั้งหลายว่า เป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น พึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติปาจิตตีย์ก็จักไม่ต้อง หรือผู้ต้อง แล้วจักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑-’ เปรียบเหมือนชายผู้นุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยห่อขี้ม้าไว้ที่คอ เข้าไปในกลุ่มชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การ ห้อยห่อขี้ม้า ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำ สิ่งนั้น’ ในที่นั้น มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควร กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชายผู้นี้ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่ การห้อยห่อขี้ม้า เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยห่อขี้ม้าไว้ที่คอ เข้า ไปในกลุ่มชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้ม้า ท่านทั้งหลาย พอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรทำกรรม ชั่ว ควรแก่การห้อยห่อขี้ม้าเช่นนั้นเลย’ ๔. ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูปเข้าไปตั้งสัญญาในอาบัติปาฏิเทสนียะ ทั้งหลายว่าเป็นภัยอย่างแรงกล้า การเข้าไปตั้งสัญญาของภิกษุ หรือภิกษุณีนั้นพึงหวังได้ว่า ‘ผู้ยังไม่ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะก็จัก ไม่ต้อง หรือ ผู้ต้องแล้วจักทำคืนตามสมควรแก่ธรรม๑-’ เปรียบ เหมือนชายผู้นุ่ง ผ้าดำ สยายผม เข้าไปในกลุ่มชนแล้วพึงกล่าว อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงแสดงอาบัติหรือปลงอาบัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๔/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๓. สิกขานิสังสสูตร

สิ่งนั้น’ ในที่นั้น มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ชายผู้นี้ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน เขานุ่งผ้าดำ สยายผม เข้าไปในกลุ่มชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้ง หลาย ข้าพเจ้า ได้ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้ง หลายพอใจให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควร ทำกรรมชั่ว น่าติเตียน ควรตำหนิเช่นนั้นเลย’ ภิกษุทั้งหลาย อาปัตติภัย ๔ ประการนี้แล
อาปัตติภยสูตรที่ ๒ จบ
๓. สิกขานิสังสสูตร
ว่าด้วยพรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์
[๒๔๕] ภิกษุทั้งหลาย เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างไร คือ อภิสมาจาริกสิกขา๑- เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อ ความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้ว อภิสมาจาริกสิกขาเราบัญญัติแล้วแก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของคนที่เลื่อมใสแล้วด้วยโดยวิธีใดๆ สาวกนั้นไม่ทำสิกขานั้น ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย โดยวิธีนั้นๆ @เชิงอรรถ : @ อภิสมาจาริกสิกขา คือ หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทและความเป็นอยู่ @ที่ดีงามสำหรับชักนำความประพฤติความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ให้ดีงามมีคุณค่าน่าเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ในที่นี้ @หมายถึง อุตตมสมาจาริกสิกขา คือ มารยาทชั้นสูง เป็นชื่อของศีลบัญญัติ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๕/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๓. สิกขานิสังสสูตร

อีกอย่างหนึ่ง อาทิพรหมจริยกสิกขา๑- เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลายเพื่อความ สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ อาทิพรหมจริยกสิกขาเราบัญญัติแล้วแก่สาวก ทั้งหลายเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใดๆ สาวกนั้นไม่ทำ สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลายโดยวิธีนั้นๆ พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ เป็นอย่างนี้แล พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างไร คือ ธรรมทั้งหลาย๒- เราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้น ไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายเพื่อ ความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใดๆ ธรรมทั้งหลายนั้นสาวกพิจารณา ด้วยปัญญาโดยวิธีนั้นๆ พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอด เป็นอย่างนี้แล พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างไร คือ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้เพื่อความสิ้นไปแห่ง ทุกข์โดยชอบทุกประการ ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความ สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบทุกประการโดยวิธีใดๆ ธรรมทั้งหลายนั้นเป็นธรรมอันวิมุตติ ถูกต้องแล้วโดยวิธีนั้นๆ พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น เป็นอย่างนี้แล พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างไร คือ สติภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วยปัญญาในฐานะ นั้นๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักบำเพ็ญอาทิพรหมจริยกสิกขาที่ยัง ไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์อาทิพรหมจริยกสิกขาที่บริบูรณ์แล้วด้วย ปัญญาในฐานะนั้นๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักพิจารณาธรรมที่เรา @เชิงอรรถ : @ อาทิพรหมจริยกสิกขา คือ หลักการศึกษาอบรมในฝ่ายบทบัญญัติหรือข้อปฏิบัติเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ @ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นพุทธอาณาเพื่อป้องกันความประพฤติเสียหายและวางโทษแก่ภิกษุผู้ล่วง @ละเมิดโดยปรับอาบัติหนักบ้าง เบาบ้าง ในที่นี้หมายถึง มหาศีล ๔ (ปาราชิก ๔) @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๕/๔๔๔) @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงสัจธรรม(อริยสัจ) ๔ ประการ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๕/๔๔๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๔. เสยยาสูตร

ไม่ได้พิจารณาด้วยปัญญา หรือจักอนุเคราะห์ธรรมที่เราพิจารณาแล้วด้วยปัญญาใน ฐานะนั้นๆ’ บ้าง สติที่ภิกษุตั้งไว้ดีภายในว่า ‘เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูกต้อง ด้วยวิมุตติ หรือจักอนุเคราะห์ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้นๆ’ บ้าง พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตย เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า ‘เราประพฤติพรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย‘ เรากล่าวเพราะอาศัยเหตุนี้
สิกขานิสังสสูตรที่ ๓ จบ
๔. เสยยาสูตร
ว่าด้วยการนอน
[๒๔๖] ภิกษุทั้งหลาย การนอน ๔ ประการนี้ การนอน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. นอนอย่างคนตาย๑- ๒. นอนอย่างคนบริโภคกาม ๓. นอนอย่างราชสีห์ ๔. นอนอย่างตถาคต นอนอย่างคนตาย เป็นอย่างไร คือ ส่วนมากคนตายนอนหงาย นี้เรียกว่า นอนอย่างคนตาย นอนอย่างคนบริโภคกาม เป็นอย่างไร คือ ส่วนมากคนบริโภคกามย่อมนอนตะแคงซ้าย นี้เรียกว่า นอนอย่างคน บริโภคกาม นอนอย่างราชสีห์ เป็นอย่างไร คือ พญาราชสีห์ย่อมสำเร็จการนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า สอดหาง เข้าในระหว่างโคนขา มันตื่นขึ้นยืดกายส่วนหน้าแล้วเหลียวดูกายส่วนหลัง ถ้ามัน เห็นกายผิดแปลกหรือไม่ปกติอย่างไรไป มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น แต่ถ้าไม่เห็น อะไรผิดปกติ มันย่อมดีใจ นี้เรียกว่า นอนอย่างราชสีห์ @เชิงอรรถ : @ อีกประการหนึ่ง หมายถึงเปรต เพราะเปรตมีเนื้อและเลือดน้อย เกี่ยวพันกันด้วยโครงกระดูก จึงไม่อาจ @ที่จะนอนตะแคงได้ ดังนั้น จึงต้องนอนหงาย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๔๖/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๖.ปัญญาวุฑฒิสูตร

นอนอย่างตถาคต เป็นอย่างไร คือ ตถาคตในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ๑- บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า นอนอย่างตถาคต ภิกษุทั้งหลาย การนอน ๔ ประการนี้แล
เสยยาสูตรที่ ๔ จบ
๕. ถูปารหสูตร
ว่าด้วยถูปารหบุคคล
[๒๔๗] ภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล๒- ๔ จำพวกนี้ ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคล ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคล ๓. สาวกของพระตถาคต เป็นถูปารหบุคคล ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นถูปารหบุคคล ภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกนี้แล
ถูปารหสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปัญญาวุฑฒิสูตร
ว่าด้วยความเจริญด้วยปัญญา
[๒๔๘] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา ธรรม ๔ ประการ๓- อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๑๖๓ (อสุภสูตร) หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้ @ ถูปารหบุคคล หมายถึงผู้ควรแก่สถูป คือ หลังจากตายแล้วเป็นผู้ที่อนุชนควรเก็บส่วนที่เหลือไว้ในสถูป @เพื่อบูชา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๖/๕๘, ดู ที.ม. ๑๐/๒๐๖/๑๒๕) @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๘. ปฐมโวหารสูตร

๑. สัปปุริสสังเสวะ (การคบหาสัตบุรุษ) ๒. สัทธัมมัสสวนะ (การฟังสัทธรรม) ๓. โยนิโสมนสิการ (การมนสิการโดยแยบคาย) ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม) ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญา
ปัญญาวุฑฒิสูตรที่ ๖ จบ
๗. พหุการสูตร
ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมาก
[๒๔๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการย่อมมีอุปการะมากแก่มนุษย์ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สัปปุริสสังเสวะ ๒. สัทธัมมัสสวนะ ๓. โยนิโสมนสิการ ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมมีอุปการะมากแก่มนุษย์
พหุการสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปฐมโวหารสูตร๑-
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๑
[๒๕๐] ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร๒- ๔ ประการนี้ อนริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
ปฐมโวหารสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๒๑๗ (ปฐมโวหารปถสูตร) หน้า ๓๓๕ และข้อ ๒๒๗ (ปฐมโวหารปถสูตร) หน้า ๓๔๑ ในเล่มนี้ @ อนริยโวหาร ในที่นี้หมายถึงถ้อยคำของเหล่าชนผู้ไม่ใช่พระอริยะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๕๐/๔๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค ๑๐. ตติยโวหารสูตร

๙. ทุติยโวหารสูตร๑-
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๒
[๒๕๑] ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้ อริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
ทุติยโวหารสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ตติยโวหารสูตร๒-
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๓
[๒๕๒] ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๔ ประการนี้ อนริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
ตติยโวหารสูตรที่ ๑๐ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๒๑๗ (ปฐมโวหารปถสูตร) หน้า ๓๓๕ และข้อ ๒๒๗ (ปฐมโวหารปถสูตร) หน้า ๓๔๒ ในเล่มนี้ @ ดูข้อ ๒๑๘ (ทุติยโวหารปถสูตร) หน้า ๓๓๖ และข้อ ๒๒๘ (ทุติยโวหารปถสูตร) หน้า ๓๔๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๖๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

๕. อาปัตติภยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑๑. จตุตถโวหารสูตร๑-
ว่าด้วยโวหาร สูตรที่ ๔
[๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้ อริยโวหาร ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. การกล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๒. การกล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๓. การกล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๔. การกล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้แล
จตุตถโวหารที่ ๑๑ จบ
อาปัตติภยวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังฆเภทกสูตร ๒. อาปัตติภยสูตร ๓. สิกขานิสังสสูตร ๔. เสยยาสูตร ๕. ถูปารหสูตร ๖. ปัญญาวุฑฒิสูตร ๗. พหุการสูตร ๘. ปฐมโวหารสูตร ๙. ทุติยโวหารสูตร ๑๐. ตติยโวหารสูตร ๑๑. จตุตถโวหารสูตร
ปัญจมปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
@เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๒๑๘ (ทุติยโวหารปถสูตร) หน้า ๓๓๖ และข้อ ๒๒๘ (ทุติยโวหารปถสูตร) หน้า ๓๔๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๗๐}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๖๑-๓๗๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=10762&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=141              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6387&Z=6568&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=243              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=243&items=11              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=243&items=11              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]