ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๘. เวสารัชชสูตร

๘. เวสารัชชสูตร
ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า
[๘] ภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ (ญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า) ๔ ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ปฏิญญา(ยืนยัน)ฐานะที่องอาจ๑- บันลือสีหนาท๒- ประกาศ พรหมจักร๓- ในบริษัท๔- เวสารัชชญาณของตถาคต ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านปฏิญญา ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านก็ยังไม่รู้” เราเมื่อไม่ เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่ ๒. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านปฏิญญา ว่าเป็นพระขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านก็ยังไม่สิ้นไป” เราเมื่อไม่ เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่ @เชิงอรรถ : @ ฐานะที่องอาจ หมายถึงฐานะประเสริฐที่สุด ที่สูงสุด หรือฐานะของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุดในกาลก่อน @อนึ่ง คำว่า อาสภะ มาจากคำว่า อุสภะ เป็นชื่อโคจ่าฝูงของโคจำนวนมากตั้ง ๑๐๐ ตัว ๑,๐๐๐ ตัว @๑๐๐ คอก ๑,๐๐๐ คอก มีสีขาว น่าดู มีกำลัง สามารถนำภาระหนักยิ่งไปได้ ยืนหยัดด้วยเท้าทั้ง ๔ @ไม่หวั่นไหวต่อเสียงฟ้าร้องตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ตถาคตเปรียบเหมือนโคอุสภะ ประทับยืนข่มบริษัททั้ง ๘ ได้อย่าง @มั่นคงด้วยพระบาท (ฐานะ) คือ เวสารัชชญาณ ๔ ประการ ไม่มีปัจจามิตรใดในโลกและเทวโลกที่สามารถ @ทำให้พระองค์หวั่นไหวได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘/๒๘๓, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๖) @ บันลือสีหนาท หมายถึงตรัสพระวาจาด้วยท่าทีองอาจดังพญาราชสีห์ ไม่ทรงหวั่นเกรงผู้ใด เพราะทรง @มั่นพระทัยในศีล สมาธิ ปัญญาของพระองค์ (ที.สี.ฏีกา ๔๐๓/๔๓๒) @ พรหมจักร หมายถึงธรรมจักรอันประเสริฐ ยอดเยี่ยม บริสุทธิ์ มี ๒ อย่าง คือ (๑) ปฏิเวธญาณ @ได้แก่ ญาณที่แสดงถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า (๒)เทสนาญาณได้แก่ ญาณที่แสดงถึงพระ @มหากรุณาคุณของพระพุทธเจ้า ญาณทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า โอรสญาณ (ญาณส่วนพระองค์) มีเฉพาะพระพุทธเจ้า @ทั้งหลายเท่านั้น ไม่มีแก่คนทั่วไป (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘/๒๘๔-๒๘๕, องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๗) @ บริษัท คือ หมู่, คณะ, ที่ประชุม ในที่นี้หมายถึงบริษัททั้ง ๘ คือ (๑) ขัตติยบริษัท (๒) พราหมณบริษัท @(๓) คหบดีบริษัท (๔) สมณบริษัท (๕) จาตุมหาราชบริษัท (๖) ตาวตึงสบริษัท(สวรรค์ชั้นที่ ๒ แห่ง @สวรรค์ ๖ ชั้น) (๗) มารบริษัท (๘) พรหมบริษัท (องฺ.ทสก.อ. ๓/๒๑/๓๒๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๑. ภัณฑคามวรรค ๘. เวสารัชชสูตร

๓. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘อันตรายิก- ธรรม๑- ที่ท่านกล่าวไว้ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้เสพได้จริง” เราเมื่อไม่ เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่ ๔. เราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า “สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจักทักท้วงเราด้วยคำพูดที่มีเหตุผลในธรรมนั้นว่า ‘ท่านแสดงธรรม เพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่สำเร็จเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่ผู้ทำตามได้จริง” เราเมื่อไม่เห็นนิมิตแม้นี้จึงถึงความเกษม ไม่มีความกลัว แกล้วกล้าอยู่ ภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ ๔ ประการนี้แลที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้ ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท วาทะเหล่าใดที่สมณะหรือพราหมณ์ ตระเตรียมไว้แพร่หลาย วาทะเหล่านั้นมาถึงตถาคตผู้แกล้วกล้า ผู้ล่วงวาทะได้ย่อมไม่มีผล๒- สัตว์ทั้งหลายย่อมนมัสการตถาคต ผู้เพียบพร้อมด้วยโลกุตตรธรรมทั้งหมด ผู้ประกาศธรรมจักรครอบคลุมทั้งหมด ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทุกจำพวก ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพเช่นนั้น
เวสารัชชสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ อันตรายิกธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบรรลุมรรคผล ได้แก่ อาบัติ ๗ กอง ซึ่งเป็นโทษ @สำหรับปรับภิกษุผู้ล่วงละเมิดโดยที่สุดแม้ทุกกฏหรือทุพภาสิต ในที่นี้หมายเอาเมถุนธรรม @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘/๒๘๖) @ ย่อมไม่มีผล ในที่นี้หมายถึงความแตกหัก พินาศไป (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๘/๒๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๓-๑๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=352&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=178&Z=207&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=8              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=8&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=8&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]