ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๘. นิกกัฏฐสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้มีกายและจิตออก
[๑๓๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้มีกายออก แต่มีจิตยังไม่ออก๑- ๒. บุคคลผู้มีกายยังไม่ออก แต่มีจิตออก ๓. บุคคลผู้มีกายยังไม่ออกและมีจิตยังไม่ออก ๔. บุคคลผู้มีกายออกและมีจิตออก บุคคลผู้มีกายออก แต่มีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่ง๒- และป่าทึบ๓- เธอตรึกถึงกามวิตก(ความตรึกในทางกาม)บ้าง พยาบาทวิตก (ความตรึกในทาง พยาบาท)บ้าง วิหิงสาวิตก (ความตรึกในทางเบียดเบียน)บ้าง บุคคลผู้มีกายออก แต่มีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างนี้แล @เชิงอรรถ : @ หมายถึงบุคคลมีกายออกจากบ้าน แม้อยู่ในป่าก็ยังคิดถึงบ้าน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๘/๓๘๑) @ ป่าโปร่ง (อรญฺญ) หมายถึงป่าอยู่นอกเสาหลักเมืองออกไปอย่างน้อยชั่ว ๕๐๐ ธนู (๒/๓๑/๓๐) @ ป่าทึบ (วนปตฺถ) หมายถึงป่าที่ไม่มีคนอยู่อาศัยเลยเขตหมู่บ้านไป (องฺ.ทุก.อ. ๒/๓๑/๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๐๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ปุคคลวรรค ๙. ธัมมกถิกสูตร

บุคคลผู้มีกายยังไม่ออก แต่มีจิตออก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ เลย แต่เธอตรึกถึงเนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม)บ้าง อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท)บ้าง อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน) บ้าง บุคคลผู้มีกายยังไม่ออก แต่มีจิตออก เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีกายยังไม่ออกและมีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ และเธอตรึกถึงกามวิตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง วิหิงสาวิตกบ้าง บุคคลผู้มีกายยัง ไม่ออกและมีจิตยังไม่ออก เป็นอย่างนี้แล บุคคลผู้มีกายออกและมีจิตออก เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ และเธอตรึกถึงเนกขัมมวิตกบ้าง อพยาบาทวิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง บุคคลผู้มี กายออกและมีจิตออก เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
นิกกัฏฐสูตรที่ ๘ จบ
๙. ธัมมกถิกสูตร
ว่าด้วยธรรมกถึก
[๑๓๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้ ธรรมกถึก ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อยและไม่มีประโยชน์ ทั้งหมู่ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรม- กถึกจำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้ ๒. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมน้อย แต่มีประโยชน์ และ หมู่ผู้ฟังก็ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึก จำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๕๖/๑๘๗-๑๘๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๐๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

๔. ปุคคลวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๓. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมาก แต่ไม่มีประโยชน์ และ หมู่ผู้ฟังก็ไม่ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึก จำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้ ๔. ธรรมกถึกบางรูปในธรรมวินัยนี้กล่าวธรรมมากและมีประโยชน์ และ หมู่ผู้ฟังก็ฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ธรรมกถึก จำพวกนี้นับว่าเป็นธรรมกถึกสำหรับหมู่ผู้ฟังประเภทนี้ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้แล
ธัมมกถิกสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. วาทีสูตร
ว่าด้วยนักพูด
[๑๔๐] ภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ นักพูด ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. นักพูดที่จนด้านอรรถ แต่ไม่จนด้านพยัญชนะ ๒. นักพูดที่จนด้านพยัญชนะ แต่ไม่จนด้านอรรถ ๓. นักพูดที่จนทั้งด้านอรรถและด้านพยัญชนะ ๔. นักพูดที่ไม่จนทั้งด้านอรรถและด้านพยัญชนะ นักพูด ๔ จำพวกนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุ(นักพูด)ผู้ประกอบด้วยปฏิสัมภิทา ๔ ประการ จะพึงจนทั้งด้านอรรถหรือด้านพยัญชนะ
วาทีสูตรที่ ๑๐ จบ
ปุคคลวรรคที่ ๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังโยชนสูตร ๒. ปฏิภาณสูตร ๓. อุคฆฏิตัญญูสูตร ๔. อุฏฐานผลสูตร ๕. สาวัชชสูตร ๖. ปฐมสีลสูตร ๗. ทุติยสีลสูตร ๘. นิกกัฏฐสูตร ๙. ธัมมกถิกสูตร ๑๐. วาทีสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๐๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๐๖-๒๐๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=6125&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=130              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3712&Z=3834&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=131              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=131&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=131&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]