ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๓. อสุภสูตร

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอ จึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุ บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ภิกษุเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปป- พละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๒๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๔. ปฐมขมสูตร

ไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ นี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุ คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
อสุภสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปฐมขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๑
[๑๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน) ๒. ขมา ปฏิปทา๑- (ข้อปฏิบัติที่อดทน) ๓. ทมา ปฏิปทา๒- (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ) ๔. สมา ปฏิปทา๓- (ข้อปฏิบัติที่ระงับ) อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้ ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่เถียงโต้ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา @เชิงอรรถ : @ ขมา ปฏิปทา หมายถึงอธิวาสิกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่อดกลั้นอดทน) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) @ ทมา ปฏิปทา หมายถึงอินทริยทมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ข่มอินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย @และใจ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) @ สมา ปฏิปทา หมายถึงอกุสลวิตักกวูปสมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเพื่อระงับอกุศลวิตก) @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๕. ทุติยขมสูตร

ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ๑- ไม่แยกถือ๒- ย่อม ปฏิบัติเพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศล- ธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม จักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะ ทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อความ สำรวมในมนินทรีย์ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า ทมา ปฏิปทา สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
ปฐมขมสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทุติยขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๒
[๑๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อักขมา ปฏิปทา ๒. ขมา ปฏิปทา ๓. ทมา ปฏิปทา ๔. สมา ปฏิปทา @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๔ (สังวรสูตร) หน้า ๒๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๑๔ (สังวรสูตร) หน้า ๒๕ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๕. ทุติยขมสูตร

อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้ไม่อดกลั้นเวทนาทั้งหลาย อันมีในร่างกาย ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก ชีวิต นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว กระหาย ต่อการถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรงต่างๆ เป็นผู้อดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกาย ที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นทุกข์ กล้าแข็ง เจ็บปวด เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พราก ชีวิต นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา ทมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เห็นรูปทางตาแล้วไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติ เพื่อความสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรม คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงทางหู ... ดมกลิ่นทางจมูก ... ลิ้มรสทางลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ... รู้ธรรมารมณ์ทางใจแล้ว ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วก็จะเป็นเหตุให้ถูกบาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จึงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ นี้เรียกว่า ทมา ปฏิปทา สมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ยินดีกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ บรรเทา ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี ไม่ยินดีพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดี วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ... ไม่ยินดีบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สงบ ทำให้หมดสิ้นไป ทำให้ถึงความไม่มี นี้เรียกว่า สมา ปฏิปทา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
ทุติยขมสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๗. มหาโมคคัลลานสูตร

๖. อุภยสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง ๒ ส่วน
[๑๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า) ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า) ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว) บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน คือ ต่ำเพราะการปฏิบัติลำบากและต่ำเพราะ รู้ได้ช้า ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน คือ ประณีตเพราะปฏิบัติสะดวกและ ประณีตเพราะรู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
อุภยสูตรที่ ๖ จบ
๗. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระมหาโมคคัลลานะหลุดพ้น
[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๘. สารีปุตตสูตร

ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑- จิตของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ
๘. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระสารีบุตรหลุดพ้น
[๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงการบรรลุอรหัตตมรรคของท่านพระมหาโมคคัลลานะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๗/๓๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๙. สสังขารสูตร

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑- จิตของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
สารีปุตตสูตรที่ ๘ จบ
๙. สสังขารสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
[๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายี๒- ในปัจจุบัน ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว @เชิงอรรถ : @ หมายถึงการบรรลุอรหัตตมรรคของท่านพระสารีบุตร เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๘/๓๙๐) @ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามี ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานล้วนๆ จนกิเลสสิ้นไปชื่อว่า @ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๙/๓๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๙. สสังขารสูตร

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายี๑- ในปัจจุบัน ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญา (ความจำ ได้หมายรู้)ว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณา เห็นความไม่เที่ยงในสงสารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีอยู่ภายใน เธอเข้า ไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏ แก่กล้า เธอจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีใน ปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในสงสารทั้งปวงอยู่ และเธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึง เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป @เชิงอรรถ : @ อสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามี ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้ฌานก่อน (สมถยานิกะ) แล้ว @จึงเจริญวิปัสสนา ชื่อว่าปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๙/๓๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค ๑๐.ยุคนัทธสูตร

ก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑- เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน เป็นอย่างนี้แล บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่เพราะปีติจาง คลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่๑- เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ นี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการ นี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ย่อม ปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี หลังจากตายแล้ว บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สสังขารสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ยุคนัทธสูตร
ว่าด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป
[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุงโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุ อรหัตตผล ในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ ประการโดยประการทั้งปวง หรือมรรคใด มรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้ ผู้ใดก็ตาม จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุอรหัตตผลในสำนักของ เราด้วยมรรค ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดูข้อความเต็มในข้อ ๑๖๓ (อสุภสูตร) หน้า ๒๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๒. ปฏิปทาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญวิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า เมื่อเธอเจริญ วิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้ มากซึ่งมรรค เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม ละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป ๒. ภิกษุเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะอันมี วิปัสสนานำหน้า มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป ๓. ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอเจริญสมถะและ วิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อม ละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป ๔. ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจะในธรรมกั้นไว้ในเวลาที่จิตตั้งมั่น สงบภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคก็เกิดขึ้นแก่เธอ เธอ เสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นสุดไป ผู้มีอายุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีเปิดเผยการบรรลุ อรหัตตผลในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ ประการโดยประการทั้งปวง หรือมรรคใด มรรคหนึ่งบรรดามรรค ๔ ประการนี้
ยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ จบ
ปฏิปทาวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถารสูตร ๓. อสุภสูตร ๔. ปฐมขมสูตร ๕. ทุติยขมสูตร ๖. อุภยสูตร ๗. มหาโมคคัลลานสูตร ๘. สารีปุตตสูตร ๙. สสังขารสูตร ๑๐. ยุคนัทธสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๘}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๒๙-๒๓๘. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=6804&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=133              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=161              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=161&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=161&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]