ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๒. วิภัตติสูตร

บุคคลบางคนในโลกนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญา- ยตนฌานอยู่ในปัจจุบัน เขาชอบใจ พอใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นและถึง ความปลื้มใจกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเนวสัญญา- นาสัญญายตนฌานนั้น น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชอบอยู่กับ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้๑- สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
เจตนาสูตรที่ ๑ จบ
๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยการจำแนกปฏิสัมภิทา
[๑๗๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ท่าน ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญา แตกฉานในอรรถ๒-) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก ๓- แสดง๔- บัญญัติ๕- กำหนด๖- @เชิงอรรถ : @ ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ หมายถึงไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้มีขันธ์ ๕ ไม่เกิดในภพเบื้องต่ำ คือ เกิด @ในภพนั้นบ้าง เกิดในภพเบื้องสูงขึ้นไปบ้าง ปรินิพพานในภพชั้นนั้นนั่นแลบ้าง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๑/๓๙๕) @ อรรถ คือ ประโยชน์ ๕ ประการ ในที่นี้ โดยย่อ หมายถึงเหตุผลที่พึงถึงพึงบรรลุ โดยประเภท @หมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ปัจจัย นิพพาน เนื้อความที่ตรัสไว้ วิบาก (ผล) และกิริยา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ หมายถึงกล่าวคำเริ่มต้น แสดงคำเริ่มต้น (อง.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ หมายถึงการให้อุทเทส (คำเริ่มต้น) จบลง (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ หมายถึงการประกาศให้รู้ถึงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้โดยประการต่างๆ ตามที่ยกแสดงไว้ @ หมายถึงการให้เนื้อความนั้นดำเนินไปโดยประการต่างๆ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๒. วิภัตติสูตร

เปิดเผย๑- จำแนก๒- ทำให้ง่าย๓- ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัย หรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้ง ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธัมมปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้ง หลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำ ให้ง่ายซึ่งนิรุตติปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานใน ปฏิภาณ) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัยหรือ เคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรง ฉลาดดีในธรรมทั้งหลายประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
วิภัตติสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงการชี้แจงแสดงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้ โดยการวกกลับมาอธิบายซ้ำอีก @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ หมายถึงการจำแนกประเด็นที่เปิดแล้ว (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ หมายถึงการแสดงประเด็นที่จำแนกไว้ให้ชัดเจนด้วยการชี้เหตุและยกอุทาหรณ์ต่างๆ มาประกอบ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕-๓๙๖, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๔. อานันทสูตร

๓. มหาโกฏฐิตสูตร
ว่าด้วยพระมหาโกฏฐิตะ
[๑๗๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ๑- ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น๒- ยังมีอยู่หรือ๓-” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” ท่านพระมหาโกฏฐิตะถามว่า “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไป ไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ๔-” “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น ทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ๕-” “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ๖-” “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” @เชิงอรรถ : @ ผัสสายตนะ หมายถึงที่เกิดผัสสะ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๓/๓๙๖) @ หมายถึงกิเลสมีประมาณน้อยอย่างอื่นจากผัสสายตนะ ๖ นั้น (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๓/๓๙๖) @ ลักษณะการถามอย่างนี้จัดเป็นการถามอย่างสัสสตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าอัตตาและโลกเที่ยง) @(ดู ที.สี.(แปล) ๙/๓๐-๓๙/๑๑-๑๖) @ ลักษณะการถามแบบนี้จัดเป็นการถามอย่างอุจเฉทวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ) @(ดู ที.สี. (แปล) ๙/๘๔-๙๒/๓๔-๓๖) @ ลักษณะการถามแบบนี้จัดเป็นการถามอย่างเอกัจจสัสสตวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าบางอย่างเที่ยง) @(ดู ที.สี.(แปล) ๙/๓๘-๕๗/๑๖-๒๔) @ ลักษณะการถามแบบนี้ จัดเป็นการถามอย่างอมราวิกเขปวาทะ (ลัทธิที่พูดหลบเลี่ยง ไม่แน่นอนตายตัว) @(ดู ที.สี. (แปล) ๙/๖๑-๖๖/๒๔-๒๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๔. อานันทสูตร

ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ท่านตอบว่า ‘อย่ากล่าว อย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะ ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า อย่า กล่าวอย่างนั้น’ ก็คำที่ท่านกล่าวแล้วนี้จะทราบความหมายได้อย่างไร” ท่านพระสารีบุตรกล่าวตอบว่า “ผู้มีอายุ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือ ด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคล กล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่ และไม่มีอยู่หรือ ชื่อว่าคิดปรุงแต่สิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะ ผัสสายตนะ ๖ ประการ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็ มิใช่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง ผู้มีอายุ ปปัญจธรรม๑- (สิ่งที่คิด ปรุงแต่ง) ย่อมดำเนินไปตราบเท่าที่ผัสสายตนะ ๖ ดำเนินไป ผัสสายตนะ ๖ ก็ ดำเนินไปตราบเท่าที่ปปัญจธรรมดำเนินไป ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ ปปัญจธรรมจึงดับสนิท ระงับไป”
มหาโกฏฐิตสูตรที่ ๓ จบ
๔. อานันทสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์
[๑๗๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ ปปัญจธรรม ในที่นี้หมายถึงกิเลสที่ทำให้คิดปรุงแต่งยื้ดเยื้อ ได้แก่ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๓/๓๙๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๔. อานันทสูตร

“ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น ยังมีอยู่หรือ” ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” ท่านพระอานนท์ถามว่า “เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วย วิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ” “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น ทั้งมีอยู่ และไม่มีอยู่หรือ” “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” “ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่น มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ” “ผู้มีอายุ อย่ากล่าวอย่างนั้น” ท่านพระอานนท์กล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ท่านตอบว่า ‘อย่ากล่าว อย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะ ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่และไม่มีอยู่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่ากล่าวอย่างนั้น’ เมื่อผมถามว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการ ดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘อย่า กล่าวอย่างนั้น’ ผู้มีอายุ ก็คำที่ท่านกล่าวแล้วนี้จะทราบความหมายได้อย่างไร” ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า “ผู้มีอายุ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นยังมีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วย วิราคะ อะไรอื่นไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคล กล่าวว่า ‘เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นทั้งมีอยู่ และไม่มีอยู่หรือ’ ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง เมื่อบุคคลกล่าวว่า ‘เมื่อ ผัสสายตนะ ๖ ประการดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ อะไรอื่นมีอยู่ก็มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๖}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๕. อุปวาณสูตร

ชื่อว่าคิดปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ควรคิดปรุงแต่ง ท่านผู้มีอายุ ปปัญจธรรมย่อมดำเนินไป ตราบเท่าที่ผัสสายตนะ ๖ ประการดำเนินไป ผัสสายตนะ ๖ ประการก็ดำเนินไป ตราบเท่าที่ปปัญจธรรมดำเนินไป ผู้มีอายุ เพราะผัสสายตนะ ๖ ประการดับไป ไม่เหลือด้วยวิราคะ ปปัญจธรรมจึงดับสนิท ระงับไป”
อานันทสูตรที่ ๔ จบ
๕. อุปวาณสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะ
[๑๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาหรือ” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้” ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วย จรณะหรือ” “ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้” “ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะหรือ” “ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้” “ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะหรือ” “ผู้มีอายุ ไม่ใช่อย่างนี้” ท่านพระอุปวาณะกล่าวว่า “เมื่อผมถามว่า ‘ท่านสารีบุตร บุคคลทำที่สุด แห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาหรือ’ ท่านตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ เมื่อผมถามว่า “บุคคลทำ ที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยจรณะหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ เมื่อผมถามว่า ‘บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ เมื่อผมถามว่า ‘บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะหรือ’ ท่านก็ตอบว่า ‘ไม่ใช่อย่างนี้’ ผู้มีอายุ ก็บุคคลทำที่สุดแห่งทุกข์ได้อย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๗}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๖. อายาจนสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาแล้ว ก็จัก มีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยจรณะแล้ว ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา และจรณะแล้ว ก็จักมีความยึดมั่นถือมั่นทำที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าบุคคลจักทำที่สุดแห่ง ทุกข์ด้วยเหตุนอกจากวิชชาและจรณะแล้ว ปุถุชนก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะ ปุถุชนไม่มีวิชชาและจรณะ ผู้มีอายุ บุคคลผู้มีจรณะวิบัติย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความ เป็นจริง บุคคลผู้ประกอบด้วยจรณะย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตาม ความเป็นจริงย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”
อุปวาณสูตรที่ ๕ จบ
๖. อายาจนสูตร
ว่าด้วยความปรารถนาโดยชอบ
[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนา อย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็นเช่นกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด’ สารีบุตร และโมคคัลลานะนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เราเป็น เช่นกับภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณาเถิด’ ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณา นี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งภิกษุณีสาวิกาของเรา อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้เรา เป็นเช่นกับจิตตคหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด’ จิตตคหบดีและหัตถก- อุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานแห่งอุบาสกสาวกของเรา อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบพึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘ขอให้ เราเป็นเช่นกับอุบาสิกาขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตาเถิด’ อุบาสิกา ขุชชุตตราและอุบาสิกาเวฬุกัณฏกีนันทมาตานี้เป็นบรรทัดฐาน เป็นมาตรฐานของ อุบาสิกาสาวิกาของเรา”
อายาจนสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๘}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๗. ราหุลสูตร

๗. ราหุลสูตร
ว่าด้วยพระราหุล
[๑๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ราหุล ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) ทั้งภายในและภายนอกเป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุเท่านั้น พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในอาโปธาตุ เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในเตโชธาตุ วาโยธาตุ (ธาตุลม) ทั้งภายในและภายนอกก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น พึงเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เพราะเห็นธรรมชาตินั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในวาโยธาตุ ราหุล เพราะพิจารณาเห็นว่า ในธาตุ ๔ นี้ ไม่มีอัตตา ไม่เกี่ยวกับอัตตา ภิกษุนี้ชื่อว่าตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะ ละมานะได้โดยชอบ”
ราหุลสูตรที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๙}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๘. ชัมพาลีสูตร

๘. ชัมพาลีสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เปรียบด้วยบ่อน้ำใหญ่
[๑๗๘] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ๑- เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ จิตย่อม ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นไม่พึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย บุรุษใช้มือที่เปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของเธอพึงเกี่ยวจับติด กับกิ่งไม้นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอัน สงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอ มนสิการถึงสักกายนิโรธ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปใน สักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลไม่พึงได้รับ สักกายนิโรธ ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ จิต ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็น เช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงได้รับสักกายนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย บุรุษใช้ มือที่สะอาดจับกิ่งไม้ มือของเธอไม่พึงเกี่ยวจับติดกิ่งไม้นั้นฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง หนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการถึงสักกาย- นิโรธ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลพึงได้รับสักกายนิโรธ @เชิงอรรถ : @ สักกายนิโรธ หมายถึงความดับสักกายะคือวัฏฏะ ๓ คือ กิเลสวัฏฏะ กัมมวัฏฏะ และวิปากวัฏฏะ @อันได้แก่พระนิพพาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๘/๓๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๐}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๘. ชัมพาลีสูตร

๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลาย อวิชชา จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปใน การทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นไม่พึงได้รับการ ทำลายอวิชชา ภิกษุทั้งหลาย บ่อน้ำใหญ่มีอายุหลายปี บุรุษ ปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นเสียและเปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็ ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนั้น บ่อน้ำใหญ่นั้นก็ไม่พึงมี น้ำล้นขอบออกไปได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโต- วิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลาย อวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น ไม่น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็น เช่นนั้น ภิกษุนั้นแลไม่พึงได้รับการทำลายอวิชชา ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลาย อวิชชา จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปในการทำลาย อวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงได้รับการทำลายอวิชชา ภิกษุทั้งหลาย บ่อน้ำใหญ่มีอายุหลายปี บุรุษเปิดทางไหลเข้า ของบ่อน้ำนั้นและปิดทางไหลออกไว้ ทั้งฝนก็ตกเพิ่มตามฤดูกาล เมื่อเป็นเช่นนั้น บ่อน้ำใหญ่นั้นพึงมีน้ำล้นขอบออกไปได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง หนึ่งอยู่ เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึง การทำลายอวิชชา จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น น้อมไปใน การทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นแลพึงได้รับการทำลาย อวิชชา ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ชัมพาลีสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๑}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๙. นิพพานสูตร

๙. นิพพานสูตร
ว่าด้วยนิพพาน
[๑๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่นิพพาน ในปัจจุบัน” ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นหานภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายเสื่อม)’ ไม่ทราบชัด ตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นฐิติภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายดำรง)’ ไม่ทราบชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นวิเสสภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายวิเศษ)’ ไม่ทราบชัดตามความ เป็นจริงว่า ‘นี้เป็นนิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายชำแรกกิเลส)’ ท่านอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่นิพพานในปัจจุบัน” ท่านพระอานนท์ถามว่า “ท่านสารีบุตร อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวก ในโลกนี้นิพพานในปัจจุบัน” พระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ทราบชัดตาม ความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นหานภาคิยสัญญา’ ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็น ฐิติภาคิยสัญญา’ ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นวิเสสภาคิยสัญญา’ ทราบ ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นนิพเพธภาคิยสัญญา’ ท่านอานนท์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้นิพพานในปัจจุบัน”
นิพพานสูตรที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๑๐. มหาปเทสสูตร

๑๐. มหาปเทสสูตร๑-
ว่าด้วยมหาปเทส
[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์๒- โภคนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส๓- ๔ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสเรื่องว่า “ภิกษุทั้งหลาย มหาปเทส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้สดับรับ มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้าน คำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี๔- แล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าได้ สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็น วินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึง @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ม. ๑๐/๑๘๘/๑๐๙ @ หมายถึงสถานที่เป็นที่อยู่ของอานันทยักษ์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๐/๔๐๒) @ มหาปเทส ในที่นี้หมายถึงข้ออ้างที่สำคัญเพื่อสอบเทียบดู (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๐/๔๐๒) @ พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี หมายถึงการเรียนที่สามารถเข้าใจ รู้ว่าตรงนี้แสดงบาลีไว้ ตรงนี้ @แสดงอรรถาธิบายไว้ ตรงนี้แสดงอนุสนธิไว้ ตรงนี้แสดงเบื้องต้นและเบื้องปลายไว้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๐/๔๐๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๑๐. มหาปเทสสูตร

คัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำ มหาปเทสประการที่ ๑ นี้ไว้ ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์ อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับรับ มาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดู ในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบ เข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของพระ ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และ สงฆ์นั้นรับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้น สงฆ์อยู่พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับ รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็น สัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำ กล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึง สอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบ ลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็น ดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แน่นอน และสงฆ์นั้นรับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทส ประการที่ ๒ นี้ไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๔}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค ๑๐. มหาปเทสสูตร

๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้ เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์๑- ทรงธรรม๒- ทรงวินัย๓- ทรงมาติกา๔- ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระ เหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์’ เธอ ทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึง เรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดู ในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้นรับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมี ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมาก เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรง ธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้า พระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึง เรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้วพึงสอบดูในสูตร เทียบดูใน วินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าใน วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระเหล่านั้น รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๓ นี้ไว้ ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุผู้ เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรง @เชิงอรรถ : @ คัมภีร์ หมายถึงนิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย @(องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) @ ธรรม หมายถึงพระสุตตันตปิฎก หรือหมายถึงธรรมทั้งหลายที่มาในอภิธรรมอันต่างกันโดยประเภท มี @กองแห่งกุศลธรรมเป็นต้นก็รวมลงในพระสุตตันตปิฎกด้วย (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘, องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๒๐/๑๑๓) @ วินัย หมายถึงพระวินัยปิฎก (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) @ มาติกา หมายถึงมาติกา ๒ คือ ภิกขุวิภังค์ และภิกขุณีวิภังค์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๐/๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

๓. สัญเจตนิยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูป นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุศาสน์’ เธอทั้งหลายยังไม่ พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบทและ พยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้นสอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้มิใช่ดำรัสของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น รับมาผิด’ เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ในอาวาสชื่อโน้นมี ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะหน้าพระเถระ รูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นสัตถุสาสน์’ เธอทั้งหลาย ยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว พึงสอบดูในสูตร เทียบดูในวินัย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าใน วินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า ‘นี้เป็นดำรัสของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่นอน และพระเถระรูปนั้น รับมาด้วยดี’ เธอทั้งหลายพึงจำมหาปเทสประการที่ ๔ นี้ไว้ ภิกษุทั้งหลาย มหาปเทส ๔ ประการนี้แล”
มหาปเทสสูตรที่ ๑๐ จบ
สัญเจตนิยวรรคที่ ๓ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เจตนาสูตร ๒. วิภัตติสูตร ๓. มหาโกฏฐิตสูตร ๔. อานันทสูตร ๕. อุปวาณสูตร ๖. อายาจนสูตร ๗. ราหุลสูตร ๘. ชัมพาลีสูตร ๙. นิพพานสูตร ๑๐. มหาปเทสสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๔๒-๒๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=7199&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=134              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5], [6].              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4300&Z=4616&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=171              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=21&item=171&items=10              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=21&item=171&items=10              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]