ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. หิมวันตสูตร
ว่าด้วยขุนเขาหิมพานต์
[๒๔] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงทำลายขุนเขา หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาอันเลวทรามเลย ธรรม ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ๒- ๒. เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้๓- ๓. เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ๔- @เชิงอรรถ : @ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติ และมรณะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๓/๑๐๙) @ ฉลาดในการเข้าสมาธิ หมายถึงฉลาดเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) @ ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ หมายถึงสามารถรักษาสมาธิให้ดำรงอยู่ได้นาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) @ ฉลาดในการออกจากสมาธิ ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕๕}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๕. อนุสสติฏฐานสูตร

๔. เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ๑- ๕. เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ๒- ๖. เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ๓- ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขา หิมพานต์ได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงอวิชชาที่เลวทรามเลย
หิมวันตสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนุสสติฏฐานสูตร
ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๔-
[๒๕] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้ อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ระลึกถึงตถาคตว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มี พระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ สมัยใด อริยสาวก ระลึกถึงตถาคตแล้ว สมัยนั้น จิตของเธอย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความกำหนัด คำว่า ‘กำหนัด’ นี้เป็นชื่อของกามคุณ ๕ @เชิงอรรถ : @ ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ หมายถึงสามารถทำสมาธิจิตให้มีความร่าเริงได้(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) @ ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ @ธรรมที่เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า “นี้คืออารมณ์ที่เป็นนิมิต (เครื่องหมาย) สำหรับให้จิตกำหนด @นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์” (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙) @ ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิในชั้นปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ @จตุตถฌาน ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๑๐) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๙ (อนุสสติฏฐานสูตร) หน้า ๔๒๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๕๖}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๕๕-๔๕๖. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=12780&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=275              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=7377&Z=7386&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=295              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=295&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=295&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]