ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. ปฐมสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ ๑
[๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไร หนอแล” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตถูกกามราคะ๑- กลุ้มรุม ถูกกามราคะ ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดกามราคะที่เกิด ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจแล้วถามอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกกามราคะ กลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย เครื่องสลัดกามราคะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด แสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม๒- เพื่อละกามราคะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควร เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ฉักกนิบาต ข้อ ๒๓ หน้า ๔๕๔ ในเล่มนี้ @ หมายถึงแสดงอสุภกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑) สาระในสูตรนี้ @ดู องฺ.เอกก. (แปล) ๒๐/๑๑-๒๐/๒-๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๒}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร

๒. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกพยาบาท(ความคิดร้าย)กลุ้มรุม ถูกพยาบาท ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดพยาบาทที่เกิด ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกพยาบาท กลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย เครื่องสลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรด แสดงธรรมเพื่อละพยาบาทแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม๑- เพื่อละพยาบาทแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควร เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๓. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกถีนมิทธะ(ความหดหู่และเซื่องซึม)กลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูก ถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่ง อุบายเครื่องสลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุได้ โปรดแสดงธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจ ย่อมแสดงธรรม๒- เพื่อละถีนมิทธะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๔. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ) กลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบาย เครื่องสลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วออกไปตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจแล้วกล่าว อย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูก อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัด อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง @เชิงอรรถ : @ หมายถึงแสดงเมตตากัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑) @ หมายถึงแสดงอาโลกสัญญา หรือเหตุปรารภความเพียรบางอย่าง (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๓. อนุตตริยวรรค ๗. ปฐมสมยสูตร

ธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม๑- เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๕. สมัยใด ภิกษุมีจิตถูกวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉา ครอบงำอยู่ และเธอไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่องสลัดวิจิกิจฉาที่เกิด ขึ้นตามความเป็นจริง สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมมีจิตถูกวิจิกิจฉา กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และผมก็ไม่ทราบชัดซึ่งอุบายเครื่อง สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ขอผู้มีอายุโปรดแสดง ธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดง ธรรม๒- เพื่อละวิจิกิจฉาแก่เธอ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ ผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖. สมัยใด ภิกษุไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับสำหรับผู้ อาศัยมนสิการอยู่ สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา ทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ผู้มีอายุ ผมไม่รู้ไม่เห็นนิมิตซึ่งเป็นที่สิ้น อาสวะโดยลำดับสำหรับผู้อาศัยมนสิการอยู่ ขอผู้มีอายุโปรดแสดง ธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแก่ผมเถิด’ ภิกษุผู้เจริญ ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะแก่เธอ นี้ เป็นสมัยที่ ๖ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ภิกษุ สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้แล”
ปฐมสมยสูตรที่ ๗ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงแสดงสมถกัมมัฏฐาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑) @ หมายถึงแสดงคุณพระรัตนตรัย (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๗/๑๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๖๒-๔๖๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=12991&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=278              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=7490&Z=7544&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=298              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=298&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=298&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]