ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวตาวรรค ๑๑. ทารุกขันธสูตร

๑๑. ทารุกขันธสูตร
ว่าด้วยกองฟืน
[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ๑- เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสกถือบาตรและจีวรลงจากภูเขา คิชฌกูฏ พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้เห็นกองฟืนใหญ่ในที่แห่งหนึ่ง จึงถามภิกษุ ทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นกองฟืนใหญ่โน้นหรือไม่” ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “เห็น ผู้มีอายุ” ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ๑. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิตถึง กองฟืนโน้นว่า ‘ดิน’ ก็ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่กองฟืนโน้นมี ปฐวีธาตุ(ธาตุดิน)อยู่ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ จะพึงอาศัยน้อมจิตถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ดิน’ ๒. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘น้ำ’ ฯลฯ ๓. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ไฟ’ ฯลฯ ๔. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ลม’ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ คิชฌกูฏ มี ๒ ความหมาย คือ (๑) มีความหมายว่า ยอดแร้ง เพราะเป็นที่อยู่อาศัยของฝูงแร้ง @(๒) มีความหมายว่า ยอดคล้ายแร้ง เพราะมียอดคล้ายศีรษะของแร้ง (วิ.อ. ๑/๘๔/๓๐๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙๓}

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

๔. เทวตาวรรค ๑๒. นาคิตสูตร

๕. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการพึงน้อมจิตถึง กองฟืนโน้นว่า ‘งาม’ ฯลฯ ๖. ภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญทางใจ เมื่อต้องการ พึงน้อมจิต ถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ไม่งาม’ ก็ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่ กองฟืนโน้นมีอสุภธาตุ๑- อยู่ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ บรรลุความชำนาญ ทางใจ จะพึงอาศัยน้อมจิตถึงกองฟืนโน้นว่า ‘ไม่งาม’
ทารุกขันธสูตรที่ ๑๑ จบ
๑๒. นาคิตสูตร๒-
ว่าด้วยท่านพระนาคิตะ
[๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์แคว้นโกศลชื่ออิจฉานังคละ เล่ากันว่าคราวนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ อิจฉานังคละ พวกพราหมณ์และคหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้ทราบข่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ข่าวว่าพระสมณโคดมศากยบุตรทรงออกผนวชจากศากยตระกูล เสด็จถึงบ้าน อิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ราวป่าชื่ออิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ อิจฉานังคละ ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปอย่างนี้ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์ เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ฯลฯ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี พระภาค’ พระองค์ทรงรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก ฯลฯ การได้พบพระ อรหันต์เช่นนี้ เป็นความดีอย่างแท้จริง” @เชิงอรรถ : @ อสุภธาตุ หมายถึงสภาวะที่ผุพัง มีสีไม่น่ายินดี (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๔๑/๑๑๙) @ ดู ปัญจกนิบาต ข้อ ๓๐ หน้า ๔๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๙๔}

             เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๙๓-๔๙๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=13898&w= http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=22&siri=292              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=8023&Z=8038&pagebreak=0              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=312              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=312&items=1              ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=22&item=312&items=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]